ปม จุฬาฯ-อุเทนฯ ยุติด้วยนโยบายรัฐต้องชัดเจน

สำนักงานศาลปกครอง  6 มี.ค.-ศาลปกครอง ชี้ ปัญหาพิพาทจุฬาฯ-อุเทนถวาย ยุติด้วยนโยบายรัฐบาลต้องชัดเจน  2 ฝ่ายร่วมตกลง


นายประวิตร บุญเทียม ประธานแผนกคดีละเมิดและความรับผิดอย่างอื่นในชั้นปกครองสูงสุด ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งรองประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวถึงกรณีข้อพิพาทระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก หรือ อุเทนถวาย ว่า ศาลปกครองไม่ได้มีคำพิพากษาโดยการบังคับ ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2549 ที่ กำหนดไม่ให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐฟ้องศาล แต่ให้ส่งเรื่องต่อสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อนำเข้าคณะกรรมการชี้ขาดคดีทางแพ่ง ซึ่งมีผู้แทนส่วนราชการหลายหน่วยงาน เมื่อมีผลการวินิจฉัยแล้วก็ให้เสนอให้ ครม.ทราบ และให้ส่วนราชการนั้นปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามก็ต้องเสนอ ครม.

ดังนั้น กรณีข้อพิพาทระหว่างจุฬาฯ จึงเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการชุดนี้ และมีการแจ้งผลวินิจฉัยเมื่อปี 2553 ที่ให้ อุเทนถวายขนย้าย และส่งมอบพื้นที่คืนแก่จุฬาฯ พร้อมชำระค่าเสียหาย 1,140,900 บาท ตั้งแต่ ปี 2549 จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่คืน แต่ด้วยเหตุขัดข้องต่างๆ  ก็ยังไม่ได้มีการปฏิบัติตามมติกรรมการชุดดังกล่าว จนทางอุเทนถวาย เห็นว่า คำวินิจฉัยกรรมการนี้ไม่ถูกต้อง จึงมาฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อปี 2556 โดยอุเทนถวายเป็นผู้ฟ้องกรรมการชี้ขาดฯ พร้อมด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยต้องการให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยกรรมการชุดนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลปกครองพิจารณาก็ยกฟ้องเพราะเห็นว่าคำวินิจฉัยนั้นถูกต้องแล้วโดยดูจากข้ออ้าง ข้อถกเถียงต่างๆ เช่น ข้อที่อ้างว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการพระราชทานให้อุเทนถวายเมื่อ ปี 2466 แต่ศาลเห็นว่า ไม่ปรากฎหลักฐานเรื่องนี้แต่เป็นเพียงปรากฎว่า เป็นการพระราชทานเงิน 1 หมื่นบาท เพื่อสร้างโรงงานนักเรียนเพาะช่าง ไม่ได้เห็นว่า เป็นการพระราชทานให้อุเทนถวาย ส่วนเหตุผลอื่นๆ เห็นว่า มีการโอนทรัพย์สินให้กับจุฬาลงกรณ์ฯ ในปี 2482 และเหตุผลที่ 3 ซึ่งฟังได้ว่า คู่กรณีมีการตกลงกันเมื่อ 2547 ว่า ทางอุเทนถวายจะย้ายออกจากพื้นที่ภายในปี 2548 ถ้าจำเป็นก็ขยายเวลาได้ แล้วก็จ่ายตอบแทนปีละ 1,140,900 บาท


ดังนั้น เรื่องนี้ ศาลปกครองจึงยกฟ้อง เพราะพิจารณาแล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยของกรรมการชี้ขาดฯ นั้นชอบแล้ว ผลของเรื่องนี้ศาลไม่ได้ออกข้อบังคับ แค่ยืนยันคำวินิจฉัยของคณะกรรมการชี้ขาดแล้วและศาลเห็นด้วย ส่วนจุฬาฯจะมาร้องขอให้ศาลบังคับไม่ได้ เพราะตามกฎหมายศาลทำไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกอย่างต้องเดินหน้าตามนี้ เพราะทุกอย่างอยู่ที่นโยบายของรัฐบาล และการตกลงกันของทั้งจุฬาลงกรณ์ และอุเทนถวาย ดังนั้นคำถามที่ว่า ขอให้ศาลบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ไม่มี และสั่งไม่ได้.-317.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

จับมือปืน

ล้อมจับมือปืนอันดับ 1 ประวัติร้ายกาจที่สุดในพื้นที่ภาค 9

ตำรวจล้อมจับมือปืนอันดับ 1 มีประวัติร้ายกาจที่สุดในพื้นที่ภาค 9 มีหมายจับติดตัว 9 หมาย ทั้งคดีฆ่า รับจ้างทวงหนี้ ยิงบ้าน และค้ายาเสพติด

สู้งูจงอาง

สาวใจเด็ด! สู้งูจงอางด้วยมือเปล่าจนรอดตาย

สาวใจเด็ด! เข้าไปหาเห็ดเจองูจงอาง ถูกฉกเป็นแผลเหวอะ ตัดสินใจฮึดสู้ด้วยมือเปล่า เตะก้านคองูแล้วกระทืบซ้ำ ก่อนจับกดพื้นลากไปหาหมอพร้อมกัน ล่าสุดอาการดีขึ้นแล้ว

บริจาคอวัยวะ

หนุ่มวัย 26 ปี บริจาคอวัยวะช่วยต่ออายุ 9 ชีวิต

ชื่นชมหนุ่มพนักงานช่วยเหลือคนไข้ รพ.ภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ บริจาคอวัยวะ แม้ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร อายุเพียง 26 ปี แต่อวัยวะสามารถต่อชีวิตให้กับผู้อื่นได้อีก 9 ชีวิต

ข่าวแนะนำ

ไฟไหม้ “ดาราเทวี” เป็นไปได้ทั้งระบบไฟ และฝีมือคน

เจ้าหน้าที่ยังสำรวจความเสียหายและเร่งหาสาเหตุเพลิงไหม้อาคารสปาของโรงแรมดาราเทวี ซึ่งเคยเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว หรูหราที่สุดแห่งหนึ่งของไทย จนกลุ่มอาคารไม้และของสะสมวอดวายอย่างน้อย 7 หลัง ล่าสุดพบจุดที่คาดเป็นต้นเพลิงแล้ว ตำรวจระบุสาเหตุเป็นไปได้ทั้งระบบไฟฟ้าและฝีมือคน

ทองคำผันผวน 37 ครั้ง ปิดตลาดลดลง 1,750 บาท คนกังวลเริ่มขายทอง

ราคาทองผันผวนตลอดทั้งวัน 37 ครั้ง ปิดตลาดลดลง 1,750 บาท ทองรูปพรรณ 53,500 บาท คนกังวลนำทองออกมาขาย ด้านกรมการค้าภายใน ตรวจเครื่องชั่งร้านทอง หลังราคาขึ้นลงแรง

ผลตรวจเหล็ก สตง.รอบ 2 พบเหล็กเส้นข้ออ้อย 20 มม. “ซิน เคอ หยวน” ตกมาตรฐาน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก สตง.ถล่ม ชุดเก็บตัวอย่างเมื่อ 11 เม.ย.68 พบเหล็กเส้นข้ออ้อย 20 มม. ของ “ซิน เคอ หยวน” ตกค่ามวลต่อเมตรเหมือนเดิม ก.อุตสาหกรรม ส่งผลตรวจให้ DSI ประกอบสำนวนคดีตึก สตง.ถล่ม

นายกฯ แพทองธาร – นายกฯ ฮุน มาแนด ร่วมเปิดตราสัญลักษณ์ครบรอบ 75 ปี

นายกฯ แพทองธาร – นายกฯ ฮุน มาแนด ร่วมเปิดตราสัญลักษณ์ครบรอบ 75 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-กัมพูชา พร้อมลงนามเอกสารสำคัญ 7 ฉบับ ขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และการพัฒนา ยืนยันผลประโยชน์เพื่อประชาชนของทั้งสองประเทศ ขอบคุณร่วมปราบแก๊งหลอกลวงออนไลน์-ฝุ่น PM 2.5