หน่วยงานรัฐยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง เรื่องรถนักเรียน

ทำเนียบรัฐบาล 7 พ.ย.-รองโฆษกรัฐบาล เผย ครม.รับทราบรายงานหน่วยงานรัฐปฏิบัติไม่ถูกต้อง เรื่องมาตรการความปลอดภัยรถรับ-ส่งนักเรียน เผยสถิติศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ฯ ปี65 เกิดขึ้นถึง30 ครั้ง


นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบรายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เรื่อง มาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน ซึ่งจากข้อมูลการเฝ้าระวังของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนและเครือข่ายองค์กรของผู้บริโภคพบว่า ในปี 2565 มีอุบัติเหตุทางถนนและความไม่ปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียนมากถึง 30 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 274 ราย เสียชีวิต 2 ราย และมีปัญหาลืมเด็กนักเรียนไว้ในรถ

“สาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่มาจากสภาพตัวรถที่ชำรุดทรุดโทรม ขาดการตรวจสภาพรถอย่างต่อเนื่อง และรถรับ-ส่งนักเรียนจำนวนมากไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นรถรับ-ส่งนักเรียนกับกรมการขนส่งทางบก เนื่องจากรถรับ-ส่งนักเรียนจะต้องได้รับการรับรองจากโรงเรียนหรือสถานศึกษาทุกภาคการศึกษา ซึ่งเป็นเงื่อนไขการจดทะเบียนของกรมการขนส่งทางบก จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบกพบว่า มีรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์สาธารณะที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นรถรับ-ส่งนักเรียนทั่วประเทศเพียง 3,342 คัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566) ทำให้ไม่สามารถจัดทำฐานข้อมูลที่แท้จริงได้ และไม่มีระบบการบริหารจัดการและขาดการติดตามกำกับที่มีประสิทธิภาพ” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว


นายคารม กล่าวว่า เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดแนวทางเรื่องมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ กระทรวงมหาดไทย กำหนดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน เป็นอีกประเด็นหนึ่งของนโยบายระดับชาติ และจัดตั้งคณะทำงานภายใต้กลไกคณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนนของแต่ละจังหวัดเพื่อพิจารณาแนวทางการจัดทำแผนความปลอดภัยและแก้ไขกฏระเบียบเกี่ยวกับการพัฒนาระบบจัดการรถรับ-ส่งนักเรียน ให้มีความปลอดภัยอย่างยั่งยืน กำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์หรือคณะทำงานด้านความปลอดภัยรถรับ-ส่งนักเรียนทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ กำกับดูแล และให้คำแนะนำการจัดทำมาตรการความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชน

“ความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถรับ-ส่งนักเรียน เฝ้าระวังความเสี่ยง เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุ สนับสนุนการออกมาตรการนโยบายระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของเครือข่าย โดยกำหนดให้มีโครงสร้างการทำงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อบูรณาการการจัดทำแผนความปลอดภัยรถรับ-ส่งนักเรียนในทุกจังหวัด สนับสนุนการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยรถรับ-ส่งนักเรียน รวมถึงด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ให้การสนับสนุนในการดำเนินโครงการให้คำปรึกษาเชิงวิชาการ กำหนดให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) จังหวัดมีคณะทำงานด้านความปลอดภัยรถรับ-ส่งนักเรียนในทุกจังหวัดและมีการกำหนดว่ระการรายงานต่อเนื่อง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ และผู้ประกอบการ” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

นายคารม กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้โรงเรียนจัดทำระบบฐานข้อมูลรถรับ-ส่งนักเรียน กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานเรื่องความปลอดภัยการเดินทางของนักเรียนโดยเฉพาะรถรับ-ส่งนักเรียน และจัดทำทะเบียนข้อมูลรถรับ-ส่งนักเรียนแต่ละคัน เช่น ประวัติผู้ขับรถรับ-ส่งนักเรียนเลขทะเบียนรถ เส้นทางการเดินรถ รายชื่อนักเรียนประจำรถ และชื่อผู้ควบคุมรถเพื่อเป็นระบบฐานข้อมูลรถรับ-ส่งนักเรียนที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างขนส่งจังหวัด โรงเรียน และผู้ประกอบการรถรับ-ส่งนักเรียน การกำหนด รูปแบบรถรับ-ส่งนักเรียนที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ กำหนดตัวชี้วัดและการประเมินโรงเรียนเกี่ยวกับการเดินทางไปกลับโรงเรียนที่ปลอดภัย


“จัดทำคู่มือหรือแผนการดำเนินงานด้านการจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนพร้อมทั้งทบทวนและแก้ไขระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดให้โรงเรียน มีหน้าที่ดูแลและกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการระบบรถรับ-ส่งนักเรียนที่ปลอดภัย และบรรจุแผนงานจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของโรงเรียนหรือสถานศึกษา การประเมินและติดตามผลเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ด้านนโยบายเพิ่มมาตรการกำกับกรณีโรงเรียนหรือสถานศึกษาละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง”  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

นายคารม กล่าวว่า กำหนดมาตรการให้โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่ง มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการควบคุม ตรวจสอบ และกำกับดูแลมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน การออกหนังสือรับรองการเป็นรถรับ-ส่งนักเรียน และการจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียนตลอดภาคการศึกษา และกำหนดให้โรงเรียนสร้างเครือข่ายรถรับ-ส่งนักเรียนหรือด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 3 ภาคีระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชมรมผู้ประกอบการรถรับ-ส่งนักเรียนในพื้นที่  พัฒนาหลักสูตรชุดความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการระบบรถรับ-ส่งนักเรียนปลอดภัยให้กับบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาครู อาจารย์ นักเรียน ผู้ขับรถรับ-ส่งนักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีองค์ความรู้และหลักวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการรับผิดชอบดูแลการจัดการความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียนด้วยรถรับ-ส่งนักเรียน

“ขอรับการสนับสนุนจากสำนักงบประมาณในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นค่าเดินทาง (รถรับ-ส่งนักเรียน) ให้กับนักเรียนยากไร้ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาให้กับนักเรียนทุกคนให้มีมาตรฐานและคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวเห็นควรให้โรงเรียนในสังกัด ศธ. อปท. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและกรุงเทพมหานครสามารถขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงเรียนสำหรับเด็กยากไร้ได้จากสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

นายคารม กล่าวว่า กำหนดให้ความปลอดภัยของนักเรียนในการเดินทางด้วยรถรับ-ส่งนักเรียนเป็นวาระของ ศธ. และของทุกโรงเรียน โดยให้ผู้บริหารโรงเรียนเป็นจุดจัดการเครือข่ายรถรับ-ส่งนักเรียนและแต่งตั้งครูงานกิจการนักเรียนทำหน้าที่เป็นครูที่ดูแลรถรับ-ส่งนักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่า 1 คน และกำหนดให้รูปแบบเครือข่ายรถรับ-ส่งนักเรียนเป็นภารกิจหนึ่งของงานกิจการนักเรียน ส่วนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมมือกับศธ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในด้านความปลอดภัยเชิงป้องกันในการเดินทางโดยรถรับ-ส่งนักเรียนและสนับสนุนให้เกิดระบบบริหารจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนอัจฉริยะต้นแบบ ที่เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน ผู้ปกครอง

“พัฒนาระบบฐานข้อมูลในการเชื่อมต่อการบูรณาการของการรับ-ส่งนักเรียนในพื้นที่ที่สำคัญตามโครงการ “รถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย (Smart School Bus)” b ทั้งนี้ หากระบบ Smart School Bus มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนจะทำให้เกิดระบบ Big Data Platfom และ Smart School Bus Intelligent Operation Center ในแต่ละพื้นที่ โดยให้กำกับ, ติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครงการ Smart School Bus และขับเคลื่อนโครงการให้สัมฤทธิ์ผสเพื่อให้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้รับการพัฒนาสามารถนำมาใช้เป็นมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียนได้มีประสิทธิภาพและสามารถแก้ไขปัญหาการลืมเด็กไว้ในรถได้” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว.-สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผบ.ตร.บังคับใช้ 7 มาตรการแก้ไขปัญหาคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมือง

ผบ.ตร. บังคับใช้ 7 มาตรการเข้มข้น แก้ไขปัญหาคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมือง ถูกหลอกลวง หรือประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย และอาชญากรรมข้ามชาติ ย้ำชัดให้เห็นผลภายใน 7 วัน หากพบเจ้าหน้าที่มีเอี่ยวหรือบกพร่อง ฟันเด็ดขาด

แก้ปัญหาฝุ่น

นายกฯ สั่งการด่วนคมนาคมออกมาตรการหยุด PM 2.5

นายกฯ สั่งการคมนาคมออกมาตรการเร่งด่วน หยุด PM 2.5 ให้ประชาชนนั่งรถไฟฟ้าทุกสาย-ขสมก.ฟรี 7 วัน 25-31 ม.ค.นี้ เตรียมใช้งบกลางกว่า 140 ล้านบาท ชดเชยผู้ประกอบการ เข้มตั้งจุดตรวจควันดำ 8 จุด รอบ กทม.-ปริมณฑล

ฝุ่น กทม.

แดงเกือบทั้งกรุง คุณภาพอากาศวิกฤติ ฝุ่น PM 2.5 กระทบต่อสุขภาพ

คุณภาพอากาศกรุงเทพฯ วิกฤติต่อเนื่อง เช้านี้ฝุ่น PM 2.5 อยู่ระดับสีแดง ผลกระทบต่อสุขภาพ 67 พื้นที่ คุณภาพอากาศจะแย่แบบนี้ไปถึงสัปดาห์หน้า

ตร.สอบสวนกลาง เปิดปฏิบัติการ “ปิดจบสยบ Fiwfans”

ตำรวจสอบสวนกลาง “เปิดปฏิบัติการปิดจบสยบ Fiwfans (ฟิวแฟน)” เว็บไซต์ค้ากามเด็กออนไลน์ จับแอดมิน 5 ราย ดำเนินคดี พบในรอบ 4 ปี มีหญิงค้าประเวณีผ่านเว็บไซต์กว่า 40,000 ราย อายุต่ำสุด 15 ปี พบเงินหมุนเวียนกว่า 3,000 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

หมาช่วยจับโจร

หมาช่วยจับโจรลักสายไฟ หาเงินเสพยา

ชาวบ้านรวบโจรสุดแสบ ขโมยตัดสายไฟหน้าวัด ถึงคราวซวยหมาเห่าจนชาวบ้านมาช่วยกันจับ ล่าสุดตรวจร่างกายเจอสารเสพติด โดนดำเนินคดีเรียบร้อย

อีสาน อุณหภูมิลด 3-5 องศาฯ ภาคเหนือ-ตะวันออก ลดลง 1-3 องศาฯ

กรมอุตุฯ คาดมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากจีน จะแผ่ปกคลุมภาคเหนือตอนบน อีสานและทะเลจีนใต้ในวันนี้ ทำให้อีสานอุณหภูมิลดลง 3-5 องศาฯ กับมีลมแรง ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาฯ ส่วนภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ตกหนักบางแห่ง

เลือกตั้ง อบจ.

วิเคราะห์ศึก อบจ.ศรีสะเกษ อาจถึงคราว “นายใหญ่” สิ้นมนต์ขลัง

นักวิชาการวิเคราะห์ศึก อบจ.ศรีสะเกษ อาจถึงคราว “นายใหญ่” สิ้นมนต์ขลัง การเมืองไม่เหมือน 20 ปีที่แล้ว ชี้วาทกรรมแบบเดิมๆ ไร้ผล ชาวเน็ตแชร์สนั่นพร้อมถามดังๆ จะ “ไล่หนู ตีงู กี่โมง”