ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยันใช้อำนาจเที่ยงธรรม-เป็นกลาง

กรุงเทพฯ 28 ก.ค. – ผู้ตรวจการแผ่นดิน ย้ำการตรวจสอบรัฐสภาครบองค์ประกอบ ส่งไม้ต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ ยืนยันใช้อำนาจอย่างเที่ยงธรรมและเป็นกลาง


พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่าตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้วินิจฉัยและเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญในกรณีที่สมาชิกรัฐสภาและประชาชนยื่นเรื่องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 213 ว่ามติของรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียน นอกจากนี้ในคำร้องเรียนได้มีคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการชั่วคราว โดยขอให้มีคำสั่งชะลอการให้ความเห็นชอบบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีการวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งนอกจากบทบาท หน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มาตรา 22 แล้วนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจอื่นที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 46 และมาตรา 48 เมื่อบุคคลถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้จากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจรัฐ ซึ่งการละเมิดนั้นเป็นผลจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ผู้ถูกละเมิดสิทธิสามารถยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องยื่นเรื่องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินก่อน โดยให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ถ้าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือไม่พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ผู้ร้องเรียนจึงมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 วินิจฉัยว่าคำร้องดังกล่าว เข้าองค์ประกอบ เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ ในการเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ คือ ผู้ร้องเรียนเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยตรง และได้รับหรืออาจจะได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย และมีการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพที่เกิดจากหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐ


ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นการร้องเรียนการกระทำของรัฐสภา ที่ได้มติตีความว่าการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบในรอบที่สอง เป็นญัตติทั่วไป ต้องห้ามนำเสนอญัตติซ้ำอีก นั้น เป็นมติที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐสภาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นหนึ่งในสามของอำนาจอธิปไตย รัฐสภาจึงถือเป็นหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจรัฐ หากการกระทำของรัฐสภาละเมิดสิทธิเสรีภาพ ย่อมถูกตรวจสอบได้โดยศาลรัฐธรรมนูญ และมติตีความของรัฐสภาที่เกิดขึ้น ก็มีผลเป็นการนำข้อบังคับการประชุมไปทำให้กระบวนการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้กำหนดเรื่องการพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้เป็นการเฉพาะแล้วมาตรา มาตรา 159 ประกอบ มาตรา 272 และการดำเนินการของรัฐสภา ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่า รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม ดังนั้น เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน ประกอบกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 จึงเห็นว่าเข้าองค์ประกอบและหลักเกณฑ์ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะเสนอคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อให้เป็นที่ยุติ

และที่สำคัญในคำร้องเรียนผู้ร้องเรียนได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งชะลอการให้ความเห็นชอบบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ซึ่งเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่สามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณามาตรการหรือวิธีการใด ๆ เป็นการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัยได้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2561 มาตรา 71 โดยผู้ร้องเรียนส่วนหนึ่งเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และได้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นการแสดงเจตจำนงที่จะได้บุคคลตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากมติตีความดังกล่าวของรัฐสภาขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิทธิของผู้ร้องเรียน ทำให้บุคคลที่ผู้ร้องเรียนแสดงเจตจำนงผ่านการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้รับการพิจารณาเห็นชอบโดยสมาชิกรัฐสภาเพียงครั้งเดียวในสมัยประชุมเดียวกัน และผลของการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของรัฐสภายังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงกระทบต่อความมั่นคงแห่งสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเรียนรวมถึงประชาชนทั่วไป และยังสร้างแนวบรรทัดฐานที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ที่บุคคลที่ได้รับการเสนอให้รัฐสภาเห็นชอบแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในครั้งแรกแล้วไม่ได้รับความเห็นชอบจะไม่สามารถเสนอให้รัฐสภาพิจารณาซ้ำได้อีก ทำให้กระบวนการคัดเลือกแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญขัดต่อหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของประเทศ ดังนั้น หากไม่มีการยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงที่ยากแก่การแก้ไขเยียวยาต่อสิทธิของผู้ร้องเรียน

ส่วนผู้ร้องเรียนซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่โดยตรงในการเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี หากมติตีความของรัฐสภาข้างต้นขัดต่อรัฐธรรมนูญย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของผู้ร้องเรียน ทำให้ผู้ร้องเรียนลงคะแนนเห็นชอบบุคคลตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียงครั้งเดียวในสมัยประชุมเดียวกัน และผลของการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และโดยที่นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหารอันถือเป็นตำแหน่งสำคัญที่มีหน้าที่จัดตั้งคณะรัฐมนตรีและบริหารราชการแผ่นดิน และจะต้องนำความกราบบังคมทูลต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง หากรัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบบุคคลใดเป็นนายกรัฐมนตรีก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย แต่ต่อมาภายหลังแม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่าการกระทำของรัฐสภาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ผู้ร้องเรียนก็ไม่อาจจะใช้สิทธิลงคะแนนเลือกบุคคลที่ได้เคยเสนอชื่อต่อรัฐสภาได้อีกต่อไป ดังนั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายเช่นเดียวกัน


เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอันมีน้ำหนักรับฟังได้ มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ และเป็นคำขอ ที่อยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 71 จึงเห็นพ้องกับคำร้องเรียนที่จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณามีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญมีข้อวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งก็เป็นดุลยพินิจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมกับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่อไป .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร