ส.ส.ร. คืออะไรใครรู้บ้าง?

สำนักข่าวไทย 21 ส.ค.- ส.ส.ร. คืออะไร ช่วงนี้ด้วยภาวะสถานการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีแนวโน้มจะทวีความร้อนแรงมากขึ้นเรามักได้ยินคำว่า ส.ส.ร.บ่อยมากและหลายๆคนอาจจะไม่รู้จักหรือไม่เข้าใจว่า ส.ส.ร.คืออะไรมีหน้าที่ทำอะไร เราจะมาทำความรู้จักกับ ส.ส.ร. กัน ขณะที่วิปฝ่ายค้านกำลังเตรียมยื่นข้อเสนอในการจัดตั้ง ส.ส.ร. วันที่ 26 ส.ค.นี้ และเป็นการเปิดช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น


ส.ส.ร. ย่อมาจาก สภาร่างรัฐธรรมนูญ

สภาร่างรัฐธรรมนูญไทยสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จำนวน 4 ครั้ง


-สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ ชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2491เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2491

-สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502 จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502โดยธรรมนูญดังกล่าวกำหนดให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจำนวน 240 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญและให้มีฐานะเป็นรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติอีกด้วย โดยมีประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2502

-สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 โดยมีหลักการและอำนาจหน้าที่สำคัญดังนี้ สภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคน (ขณะนั้นประเทศไทยมี 76 จังหวัด) รวมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ จำนวน 23 คน เป็น 99 คนมีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ กำหนดให้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลา 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกครบจำนวน


-สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 จากเหตุการณ์การยึดอำนาจการปกครองของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแทนฉบับเดิม โดยเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีสมัชชาแห่งชาติ ปี2549 โดยมีจำนวนสมาชิกที่มาจากการสรรหาจากทุกภาคส่วน จำนวนทั้งสิ้น 1,982 คน จากนั้นให้ลงมติคัดเลือกกันเอง เหลือ 200 คนแล้วให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)ทำการคัดเลือกเหลือ 100 คน เพื่อไปเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้มีหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญ ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรกและต้องเสนอความเห็นพร้อมกับเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

ในปี พ.ศ. 2563 ความคืบหน้าในเรื่องการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. วิปรัฐบาลเตรียมเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 26 ส.ค.นี้ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณายื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา ว่า วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคมนี้ แต่ละพรรคร่วมรัฐบาลจะนำร่างแก้ไขของแต่ละพรรคทั้งพลังประชารัฐ ภูมิใจไทย และประชาธิปัตย์มาหารือร่วมกัน ก่อนจะนำเนื้อหาของแต่ละพรรคมารวมกันให้เป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคร่วมรัฐบาลฉบับเดียว โดยจะเร่งส่งญัตติถึงนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาให้ทันภายใน 26 สิงหาคมนี้

ข้อเสนอจากพรรคร่วมรัฐบาล เป็นเพียงการทำร่างเพื่อเสนอรัฐบาล โครงสร้าง ส.ส.ร. 200 คน เบื้องต้น
– ประชาชนเลือกทางตรง 150 คน เลือกทางอ้อม 50 คน
– นักวิชาการ 10 คน(ด้านกฎหมายมหาชน ด้านการเมืองการปกครอง ด้านรัฐศาสตร์) ที่ ทปอ. เลือก

– ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาผู้แทน 30 คน (ส.ส. ฝ่ายค้าน 10 คน ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 10 คน ส.ว. 10 คน)
– ผู้แทนนักเรียน นิสิต นักศึกษา ( เลือกกันเอง ) 10 คน

ความเห็นจาก นายคำนูณ สิทธิสมาน ที่โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว “Kamnoon Sidhisamarn” เกี่ยวกับ การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยให้ประชาชนแต่ละคนมีสิทธิเลือกได้เพียง 1 คน พูดง่าย ๆ ว่านำเอานวัตกรรมการเลือกตั้งส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาประยุกต์ใช้ให้ส.ส.ร.ตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างฯ 45 คน องค์ประกอบมาจากจากส.ส.ร. 30 คน โดยให้คำนึงถึงพื้นที่ประกอบด้วย และผู้เชี่ยวชาญอีก 3 สาขา ๆ ละ 5 คน รวม 15 คนให้มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนทั่วไป และในทุกจังหวัด โดยให้คณะรัฐมนตรีและรัฐสภาให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญอย่างทั่วถึง

เป็นที่น่าจับตามองว่าในครั้งนี้การจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. จะมีรูปแบบเป็นแบบไหน และจะมีใครเป็นส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ได้บ้าง

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ศาลตัดสินพิรงรอง

“พิรงรอง” รับกังวลใจ วันนี้ศาลตัดสิน คดีทรูฟ้องหลุดเก้าอี้ กสทช.

“พิรงรอง” ถึงศาล รับกังวลใจ คดีทรูฟ้องหลุดเก้าอี้ กสทช. ปมส่งใบเตือนทีวีดิจิทัลมีโฆษณาแทรก ยืนยันทำหน้าที่อย่างถูกต้อง

ผู้สมัคร นายก อบจ.สมุทรปราการ หอบหลักฐานทุจริตเลือกตั้ง ร้อง ปธ.สภา

ผู้สมัคร นายก อบจ. สมุทรปราการ พรรคประชาชน หอบหลักฐานทุจริตเลือกตั้ง อบจ.ร้องประธานสภา จี้ กกต.สอบให้ความเป็นธรรม ลั่นจะไม่ปล่อยให้เรื่องเงียบ

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

บุกรวบ 2 บิ๊กบอสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน

ตำรวจนครบาลบุกรวบ 2 บิ๊กบอสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน สร้างเพจปลอมเป็นหน่วยงานตำรวจ และ ปปง. หลอกเหยื่อว่าสามารถติดตามทรัพย์สินที่ถูกหลอกคืนได้ ค้นบ้านพบซิมบ็อกซ์โทรศัพท์ และ QR Code ปลอม จำนวนมาก

ข่าวแนะนำ

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

นายกฯพบสีจิ้นผิง

นายกฯ เข้าเยี่ยมคารวะ “สี จิ้นผิง”

นายกฯ เข้าเยี่ยมคารวะ “สี จิ้นผิง” ย้ำความสัมพันธ์ทางการทูตและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ด้านจีนหนุนไทยมีบทบาทในเวที ระดับโลกและภูมิภาค

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

“ภูมิธรรม” ลงพื้นที่แม่สอด ชี้ยังสรุปไม่ได้ หลังตัดไฟเมื่อวาน

“ภูมิธรรม” ลงพื้นที่แม่สอด ชี้ยังสรุปไม่ได้ หลังตัดไฟแก้ปัญหาคอลเซ็นเตอร์ ขอทำไปประเมินไป อย่าทำให้เป็นประเด็น มองเป็นสิทธิฝั่งเมียนมาซื้อไฟฟ้าจากลาว ลั่นเดี๋ยวต้องคุยอีก ย้ำตัดไฟครั้งนี้ไม่ได้ใช้อารมณ์ รู้อยู่กระทบเศรษฐกิจบ้าง แต่แค่ 0.1%

รวบแล้วนักโทษหนีเรือนจำนนทบุรี จนมุมที่ จ.ชลบุรี

จับได้แล้วนักโทษชายหนีเรือนจำจังหวัดนนทบุรี ระหว่างออกกองงานภายนอก จนมุมที่หน้าโรงแรมแห่งหนึ่งย่านบางแสน จ.ชลบุรี ก่อนนำตัวมาสอบสวนและดำเนินคดีที่ สภ.เมืองนนทบุรี