12 กรกฎาคม 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด
บทสรุป:
- เป็นการนำเลือดจากตัวอัลปากามาผลิตนาโนบอดี้ป้องกันโควิด 19 ไม่ใช่น้ำลายของอัลปากา
- การทดลองทางคลินิกเพิ่งเริ่มช่วงปลายปี 2021 โดยผู้วิจัยอ้างว่าสร้างป้องกันโควิด 19 ได้ทุกสายพันธุ์
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน โดยอ้างว่าน้ำลายของตัวอัลปากาสร้างแอนติบอดี้ต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้มากกว่าการฉีดวัคซีน 1,000 เท่า
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
จากการตรวจสอบโดย Taiwan FactCheck Center พบว่า มีการศึกษาแอนติบอดี้ต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ผลิตจากเลือดของตัวอัลปากาในประเทศเยอรมนี แต่ไม่ได้ใช้น้ำลายจากตัวอัลปากาในการผลิตแอนติบอดี้ตามที่กล่าวอ้าง
โครงการดังกล่าวเป็นการวิจัยของสถาบัน Max-Planck-Institut (MPI) ในเมืองก็อตทิงเกน ประเทศเยอรมนี โดยผู้วิจัยทำการฉีดโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 เข้าไปในตัวอัลปากา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลอูฐที่มีลักษณะคล้ายตัวยาม่า หลังจากนั้น ตัวอัลปากาก็จะสร้างแอนติบอดี้ต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ผู้วิจัยจึงนำตัวอย่างเลือดของตัวอัลปากามาผลิตนาโนบอดี้ป้องกันโควิด 19 ในมนุษย์ต่อไป
นาโนบอดี้ คือสารภูมิต้านทานที่มีขนาดเล็กว่าแอนติบอดี้ 1 ใน 10 เท่า คุณสมบัติพิเศษคือสามารถหาพื้นที่ว่างบนพื้นผิวของเชื้อไวรัสได้ดีกว่า และสามารถป้องกันไวรัสไม่ให้แพร่เชื้อไปยังเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายได้
MPI อ้างว่านาโนบอดี้ที่พัฒนาจากตัวอัลปากามีประสิทธิภาพดีกว่านาโนบอดี้ที่พัฒนาในอดีตถึง 1,000 เท่า และสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ได้ทุกสายพันธุ์
ข้อดีของนาโนบอดี้คือทนต่อความร้อนและป้องกันการติดเชื้อได้นานกว่าแอนติบอดี้ ใช้ทุนในการผลิตไม่สูงทำให้ราคาไม่แพง และสามารถผลิตได้อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือต่อการกลายพันธ์ของไวรัสในอนาคต
MPI ยังมีแผนพัฒนา Nanobody Triad ซึ่งเป็นการผสานนาโนบอดี้สามชนิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่านาโนบอดี้ทั่วไปถึง 30,000 เท่า
อย่างไรก็ดี นาโนบอดี้ต่อไวรัสโควิด 19 ยังเป็นแผนการในอนาคต เพราะ MPI เพิ่งจะเริ่มการทดลองทางคลินิกเมื่อช่วงปลายปี 2021 ที่ผ่านมา โดยเป้าหมายของโครงการคือการผลิตยาเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรงและผู้ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือยังไม่ได้ฉีดวัคซีน โดยทีมวิจัยยังวางแผนที่จะผลิตในรูปแบบยาพ่นเหมือนที่ใช้รักษาผู้มีอาการหอบหืดอีกด้วย
ข้อมูลอ้างอิง:
https://tfc-taiwan.org.tw/articles/6248
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter