fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: รู้ทันปรากฏการณ์ Filter bubble ที่ทำให้โลกของเราแคบขึ้น

เคยไหม ? พิมพ์คำถามเกี่ยวกับอะไรบางอย่างใน google เพียงแค่ครั้งเดียว โฆษณาและเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งนั้น ๆ ก็โผล่ขึ้นมาบนหน้าฟีดของโซเชียลมีเดียเราเต็มไปหมด ราวกับอ่านใจเราออกว่ากำลังต้องการอะไร ซึ่งการที่มันรู้ใจเราขนาดนี้นั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันเกิดจากระบบ “อัลกอลิทึ่ม” ที่แพลตฟอร์มต่าง ๆ สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของเรานั่นเอง


ระบบอัลกอลิทึ่มของ Social Media

ระบบ “อัลกอลิทึ่ม” คือระบบที่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ สร้างขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ให้มีความสะดวกสบายในการค้นหาข้อมูลยิ่งขึ้น ระบบอัลกอลิทึ่มจะสังเกตพฤติกรรมการเล่นโซเชียลมีเดียของผู้ใช้ ว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หรืออยากรู้เรื่องอะไร ณ เวลานั้น ๆ เพื่อที่จะคัดกรอง โชว์เฉพาะข้อมูลที่ผู้ใช้อยากเห็น และสนใจ ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้อยากจะไปเที่ยวทะเลที่ภูเก็ต แล้วไปค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ google ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บเพื่อซื้อตั๋วเครื่องบิน ดูระยะทาง อ่านรีวิวต่าง ๆ ระบบอัลกอลิทึ่มตัวนี้ก็จะวิเคราะห์เนื้อหา และเข้าใจว่าผู้ใช้รายนี้ต้องการจะไปภูเก็ต มันจึงเน้นกรองเนื้อหาที่เกี่ยวกับที่พัก การท่องเที่ยว มาให้โดยเฉพาะ และในทางกลับกัน ระบบก็จะคัดข้อมูลที่คิดว่าไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อน ทำให้หน้าฟีดของผู้ใช้มีแต่เพจท่องเที่ยว ทริปทัวร์เต็มไปหมด และอาจจะคงอยู่แบบนี้ไปอีกหลายวัน จนกว่าผู้ใช้จะไปค้นหาข้อมูลเรื่องใหม่ ๆ

ระบบอัลกอลิทึ่มจะสังเกตพฤติกรรมการเล่นโซเชียลมีเดียของเรา ว่าเราชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หรืออยากรู้เรื่องอะไร ณ เวลานั้น ๆ เพื่อที่จะคัดกรอง โชว์เฉพาะข้อมูลที่เราอยากเห็น และสนใจ ยกตัวอย่างเช่น หากเราอยากจะไปเที่ยวทะเลที่ภูเก็ต แล้วเราไปค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ google ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บเพื่อซื้อตั๋วเครื่องบิน ดูระยะทาง อ่านรีวิวต่าง ๆ ระบบอัลกอลิทึ่มตัวนี้ก็จะวิเคราะห์เนื้อหา และเข้าใจว่ายูเซอร์นี้ต้องการจะไปภูเก็ต มันจึงเน้นกรองเนื้อหาที่เกี่ยวกับที่พัก การท่องเที่ยว มาให้โดยเฉพาะ และในทางกลับกัน ระบบก็จะคัดข้อมูลที่คิดว่าไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อน ทำให้หน้าฟีดของเรามีแต่เพจท่องเที่ยว ทริปทัวร์เต็มไปหมด และอาจจะคงอยู่แบบนี้ไปอีกหลายวัน จนกว่าเราจะไปค้นหาข้อมูลเรื่องใหม่ ๆ

สรุปคือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็นบนหน้าฟีด ได้ถูกวางระบบมาไว้อย่างดีเพื่อให้ตรงกับไลฟสไตล์ของเราที่สุด โดยหลักแล้ว มันควรจะเป็นระบบที่ก่อประโยชน์และสร้างความสะดวกสบายให้กับเรา แต่ในอีกด้านหนึ่ง มันยังมีผลกระทบที่แฝงมากับเทคโนโลยีสุดล้ำนี้ด้วย ซึ่งเราเรียกหนึ่งในผลกระทบนี้ว่า “ปรากฏการณ์ Filter Bubble”


ปรากฏการณ์ Filter Bubble ส่งผลอย่างไร ?

Filter bubble เรียกเป็นภาษาไทยได้ว่า “ฟองสบู่ตัวกรอง” คือการที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียติดอยู่แต่ในโลกของตัวเอง ติดอยู่ในฟองสบู่ที่มีแต่เรื่องที่เราสนใจและเห็นดีเห็นงามด้วย จนมองข้ามไปว่ายังมีเรื่องราวอีกหลายมุมมองที่ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับเราได้เหมือนกัน ซึ่งการที่โซเชียลมีเดียโชว์แต่เนื้อหาที่ถูกจริตผู้ใช้อย่างเดียวนั้น มันจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนบางกลุ่มว่า เป็นระบบที่ไม่มีความเป็นกลาง และสนับสนุนให้เรามีพฤติกรรมเสพสื่อแค่ด้านเดียวจนเคยชิน

เปรียบเทียบดั่งคนที่ชอบฟังเพลง kpop เขาก็จะเห็นแต่คนที่เป็นแฟนเพลง kpop เต็มหน้าฟีดไปหมด เจอแต่พวกเดียวกัน จนบางทีก็อาจลืมไปว่าข้างนอกนี้ ก็ยังมีคนที่ชอบฟังเพลงไทย เพลงสากล หรือเพลงลูกทุ่งมากเหมือนกัน เพียงแต่ว่าหน้าฟีดของเขาไม่ยอมแสดงให้เห็นนั่นเอง

นอกจากนี้ พฤติกรรมของตัวผู้ใช้เองก็ยังมีส่วนอีกด้วย โดยการจงใจปิดกั้นเนื้อหาที่ไม่อยากเห็น กดบล็อก หรือกด Unfriend คนที่เราไม่ชอบ หรือคนที่มีความคิดเห็นที่ไม่ถูกจริตกับเรา เป็นผลให้พื้นที่โซเชียลมีเดียของเราเหลือแต่คนที่มีแนวคิดเดียวกับเรา และเห็นชอบกับเราเต็มไปหมด


ลักษณะแบบนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็น Echo Chamber หรือ ห้องเสียงสะท้อน เปรียบได้กับการอยู่ในห้องปิด เช่นห้องคาราโอเกะ ที่เวลาเราพูดหรือร้องอะไรไป มันก็สะท้อนกลับมาแบบเดียวกัน เพราะว่ามันมีแต่เสียงของเราที่สะท้อนไปมา เปรียบได้กับความเห็นข้างเดียวที่มีแต่คนคิดแบบเดียวกัน สนับสนุนกันเอง และพอมาอยุ่รวมกัน ไม่มีการแลกเปลี่ยนถกเถียงอะไรเลย ก็ทำให้เราเผลอเชื่อไปว่า คนส่วนใหญ่ในสังคมน่าจะคิดเหมือนเรา ทั้งที่จริง ๆ แล้ว สิ่งที่เราเห็นอาจจะเป็นแค่โลกใบเล็ก ๆ ที่ถูกขังอยู่ในฟองสบู่ โดยมีกำแพงเป็นระบบอัลกอริทึ่มที่โซเซี่ยลมีเดียสร้างขึ้นมาก็ได้

และเพราะเหตุนี้เอง แพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียทั้งหลายที่ใช้ระบบอัลกอริทึ่มแบบนี้จึงโดนวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก ว่าเป็นเหตุไปทำให้ผู้ใช้มีโลกที่แคบขึ้น แทนที่จะเป็นการเปิดโลกกว้างอย่างที่ใครหลาย ๆ คนคิดกัน

เราจะออกจากสภาวะ Filter Bubble ได้อย่างไร ?

  1. ตรวจสอบเนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับมากับหลาย ๆ แหล่งอ้างอิง เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมันถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือน หรือเป็นข้อมูลแค่ด้านเดียว
  2. ลองพูดคุยกับคนที่มีความเห็นต่างบ้าง เพื่อที่จะได้เห็นมุมมองใหม่ๆ และข้อเท็จจริงบางอย่างที่เราอาจจะมองข้ามไป เช่น การไปกดไลคเพจที่มีความเห็นทางการเมืองต่างจากเรา เผื่อว่าจะได้เห็นความจริงอีกด้านที่ไม่เคยรู้มาก่อนจากในสังคมของเรา
  3. รู้เท่าทันสื่ออยู่เสมอ อย่าไหลไปกับสิ่งที่สื่อนำเสนอไปเสียทุกอย่าง เพราะบางทีสื่อก็ไม่ได้มีความเป็นกลางเสมอไป มันเป็นเรื่องยากที่สื่อจะสามารถนำเสนอในได้ทุกแง่มุมของเรื่องใดเรื่องนึง เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราทำได้ คือการมองหาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง ให้รอบด้าน และอย่ายึดติดกับแหล่งข่าวเดิม ๆ

ที่มา: “ปรากฏการณ์ Echo Chamber บนโลกออนไลน์” โดย อัลเบอท ปอทเจส

เรียบเรียงโดย: ชณิดา ภิรมณ์ยินดี

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มหาวิทยาลัยแจงเหตุ นศ.สาวปี 3 แทงแฟน นศ.ปี 1 สาหัส

มหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีนักศึกษาหญิงทำร้ายนักศึกษาชาย ในหอพักจนบาดเจ็บสาหัส ด้านตำรวจยืนยันนักศึกษาหญิงที่ก่อเหตุมอบตัวแล้ว ยอมรับเป็นแฟนและทะเลาะกัน

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

ข่าวแนะนำ

รวบ 2 ใน 4 อุ้มฆ่าหนุ่มไทใหญ่ทิ้งป่า อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

รวบแล้ว 2 ใน 4 ผู้ต้องหาอุ้มฆ่า “จ๋อมวัน” หนุ่มไทใหญ่ ก่อนนำศพไปทิ้งในป่าที่ จ.เชียงใหม่ ปมสังหารอ้างไม่พอใจถูกแซวเรื่องหญิงคนสนิท

ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก กทม.ครั้งแรกของปี

วันนี้เป็นครั้งแรกของปีที่ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ กทม. ส่งผลให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่บริเวณต่างๆ ของไทย 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. และเดือน ก.ค.-ก.ย.

“บิ๊กต่าย” ยันทำตามหน้าที่ ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้ง “บิ๊กโจ๊ก”

“บิ๊กต่าย” แถลงข่าวการจับยาเสพติด ยันไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้ง “บิ๊กโจ๊ก” ย้ำทำตามหน้าที่รักษาการฯ ไม่มีเวลาเอาสมองไปคิดเรื่องปลดป้ายชื่อ

ระทึกถังสารแอมโมเนียโรงน้ำแข็งระเบิดอีก

วิ่งหนีอลหม่าน! ถังสารแอมโมเนียโรงน้ำแข็งระเบิด ย่านตลาดสดเทศบาลนางัว อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี คาดสาเหตุจากอากาศร้อนจัด