ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนแล้วติดโควิด จะมีเชื้อมากกว่าคนไม่ฉีด 251 เท่า จริงหรือ?

20 ตุลาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด

บทสรุป:


  1. การวิจัยมีปัญหาเพราะเทียบปริมาณไวรัสจากคนฉีดวัคซีนที่ติดเชื้อเดลต้ากับคนไม่ฉีดวัคซีนที่ติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เดิม
  2. การติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนเกิดได้ยากและปริมาณเชื้อจะลดลงอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่โดยกลุ่มผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีนในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างผลวิจัยที่พบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วติดเชื้อ จะมีปริมาณไวรัสในโพรงจมูกสูงกว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนถึง 251 เท่า

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


ผู้เผยแพร่งานวิจัยดังกล่าวได้แก่ ปีเตอร์ แม็คคัลลาห์ แพทย์โรคหัวใจผู้มีประวัติเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควดิ 19 บ่อยครั้ง โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของ Children’s Health Defense องค์กรในสหรัฐฯ ที่ถูกจับตาเรื่องการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับวัคซีน ซึ่งองค์กรนี้ก่อตั้งและบริหารงานโดย โรเบิร์ต เอฟ เคนเนดี้ จูเนียร์ นักกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน

งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำโดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford University โดยเผยแพร่ครั้งแรกผ่านทางเว็บไซต์ Preprints with The Lancet ของวารสารการแพทย์ The Lancet เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2021 ซึ่งเป็นผลงานก่อนการตีพิมพ์ (Preprint) ซึ่งยังไม่ผ่านการพิชญพิจารณ์ (Peer Review ) หรือการประเมินความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวงวิชาการ

ทีมวิจัยได้ตรวจสอบปริมาณไวรัสโควิด 19 ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในนครโฮจิมินห์จำนวน 69 คนในช่วงเดือนมิถุนายน 2021 โดยทุกคนผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของ Oxford-AstraZeneca ครบ 2 โดสแล้ว แต่กลับติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า

การตรวจสอบด้วยวิธี PCR พบว่า ปริมาณไวรัสสูงสุดที่พบในกลุ่มตัวอย่าง สูงกว่าที่พบในกลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่ติดเชื้อระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนเมื่อปี 2020 ถึง 251 เท่า

แต่ปัญหาของงานวิจัยชิ้นนี้ คือการเปรียบเทียบไวรัสโควิด 19 คนละสายพันธุ์ เนื่องจากผู้ป่วยโควิด 19 ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนปี 2020 ป่วยด้วยเชื้อโควิด 19 พันธุ์ดั้งเดิม ขณะที่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ทั้ง 69 คนเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสเดลต้า

ไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้าตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2020 และกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดไปทั่วโลกในเดือนกรกฎาคม 2021 ข้อมูลพบว่าไวรัสเดลต้าทำให้ผู้ติดเชื้อมีปริมาณไวรัสในร่างกายสูงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมหรือสายพันธุ์อื่นๆ

งานวิจัยก่อนการตีพิมพ์ (Preprint) จากทีมนักวิจัยชาวจีนพบว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเดลต้าจะมีปริมาณไวรัสในร่างกายมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 1,000 เท่า

งานวิจัยก่อนการตีพิมพ์ (Preprint) จากทีมนักวิจัยชาวอเมริกันก็พบว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเดลต้าจะมีปริมาณไวรัสในร่างกายสูงกว่าผู้ติดเชื้อไวรัสอัลฟ่าเช่นกัน

หากจะเปรียบเทียบประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน (Breakthrough Case) ผู้วิจัยต้องเปรียบเทียบโดยให้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดียวกัน

แม้ผลวิจัยของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) จะพบว่า ปริมาณไวรัสที่พบในผู้ติดเชื้อเดลต้าที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว แทบไม่แตกต่างจากผู้ติดเชื้อเดลต้าที่ยังไม่ฉีดวัคซีน แต่การติดเชื้อโควิดหลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดสก็ยังเกิดขึ้นได้ยาก และยังมีงานวิจัยที่พบว่าปริมาณไวรัสในร่างกายของคนที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว จะลดลงเร็วกว่าผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ฉีดวัคซีน แสดงให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อโควิดหลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว จะมีช่วงเวลาในการแพร่เชื้อที่สั้นกว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง:

https://healthfeedback.org/claimreview/study-in-vietnam-showed-that-delta-infection-results-in-a-higher-viral-load-compared-to-earlier-strains-not-that-vaccinated-people-are-more-infectious-than-unvaccinated-people/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบน อุณหภูมิขยับลงอีก 1-2 องศาฯ

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลงอีก 1 – 2 องศาฯ ยอดดอยและยอดภูหนาวจัด มีน้ำค้างแข็งบางแห่ง

ยิงพรานล่าหมูป่า

เพื่อนรับเป็นคนยิงนายพรานวัย 52 อ้างคิดว่าเป็นหมูป่า

เพื่อนเปิดปากรับสารภาพเป็นคนใช้อาวุธปืนยิงนายพรานวัย 52 ปี เสียชีวิตในสวนผลไม้ อ้างคิดว่าเป็นหมูป่า ยืนยันไม่ได้มีปัญหาหรือมีเรื่องกันมาก่อน

เติมน้ำมันไม่จ่าย

แท็กซี่เติมน้ำมันไม่จ่าย ซิ่งหนีพุ่งชนรถ 5 คันรวด

ตำรวจชัยภูมิ ไล่ล่าแท็กซี่เติมน้ำมัน แล้วซิ่งหนี ไม่จ่ายเงิน แถมยังขับพุ่งชนรถตำรวจ รถเก๋งและรถ 6 ล้อ รวม 5 คันรวด