11 ตุลาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
- ความอักเสบในร่างกายไม่มีความเกี่ยวข้องกับการกินแป้ง
- ไม่ควรกินวิตามินซีเกินกว่าวันละ 2,000 มิลลิกรัม
- วัคซีนไม่ส่งผลต่อการทำงานของตับแต่อย่างใด
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน โดยอ้างว่าก่อนฉัดวัคซีน 2-3 วัน ควรงดเว้นการกินอาหารประเภทแป้ง เพื่อลดอาการอักเสบของร่ายกาย และควรรับประทานวิตามิน ซี ทุกๆ 3 ชั่วโมง และการกินอาการบำรุงตับเช่นเห็ดหลินจือและชาสมุนไพรบำรุงตับ เพราะช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
จางเหาเซียง แพทย์จากแผนกผู้ป่วยโควิด 19 โรงพยาบาล National Taiwan University Hospital ปฏิเสธว่าค่าความอักเสบในร่างกายมนุษย์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานแป้ง ส่วน ชูหนานชาง ประธานสมาคมโรคติดต่อในเด็กของไต้หวัน ยืนยันว่าการห้ามกินแป้งเพื่อลดอาการอักเสบไม่เป็นความจริง เพราะคนไต้หวันส่วนใหญ่ก็กินข้าวทุกมื้อ แต่ไม่มีใครแสดงอาการอักเสบเพราะกินแป้งเป็นประจำตามที่กล่าวอ้าง
จางเหาเซียง ย้ำว่าไม่ควรกินวิตามินซีมากเกินจำเป็น โดยกระทรวงสาธารณสุขไต้หวันแนะนำให้ผู้ใหญ่รับประสานวิตามินซีปริมาณวันละ 100 มิลลิกรัม และไม่ควรเกินกว่าปริมาณ 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งการกินวิตามินซี 1 เม็ดทุก 3 ชั่วโมงเป็นปริมาณที่มากกว่าคำแนะนำอย่างมาก
ส่วนอาหารบำรุงตับเช่นเห็ดหลินจือและชาสมุนไพรบำรุงตับก็ไม่ช่วยลดอาการข้างเคียงจากวัคซีน เพราะวัคซีนจะกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ไม่ส่งผลต่อการทำงานของตับแต่อย่างใด
เฉินจุนเหลียง แพทย์แผนจีนจากโรงพยาบาล Linkou Chang Gung Memorial Hospital ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างที่ว่าวัคซีนจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ ความเครียดจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 และความกังวลต่อผลกระทบจากวัคซีนอาจส่งผลต่อการทำงานของตับ แต่ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโดยตรง และไม่แนะนำให้ประชาชนใช้ยาแผนจีนรักษาอาการข้างเคียงจากวัคซีนด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
จางเหาเซียง ย้ำว่าปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาหารชนิดใดที่ช่วยลดอาการข้างเคียงจากวัคซีนได้ สำหรับผู้เกิดอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 สามารถใช้ยาแก้ปวดและยาลดไข้หลังจากรับวัคซีนไปแล้ว 3-4 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาอาการ หากอาการยังไม่ดีขึ้น สามารถให้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือ NSAIDs ช่วยบรรเทาอาการปวด เช่น ยาแอสไพริน เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิง:
https://tfc-taiwan.org.tw/articles/5686
- หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
- LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
- FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
- Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
- IG :: https://instagram.com/SureAndShare
- Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
- TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter