fbpx

ผลการประชุม กพอ. ครั้งที่ 3/2564 พิจารณาหลายเรื่อง

กรุงเทพฯ 4 ต.ค.-ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 3/2564 ได้พิจารณาหลายเรื่อง โดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบังฯ สำเร็จ พร้อมเสนอ ครม. อนุมัติ : โครงสร้างพื้นฐานหลักอีอีซี ได้เอกชนครบ 4 โครงการ


ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. เป็นประธาน ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้า การดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

1. ท่าเรือแหลมฉบังฯ สำเร็จ พร้อมเสนอ ครม. อนุมัติ : โครงสร้างพื้นฐานหลักอีอีซี ได้เอกชนครบ 4 โครงการ โดยที่ประชุม กพอ. พิจารณา ผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการพัฒนา


ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F ตามที่ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ดำเนินการตาม มติ ครม. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 โดยผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐจะได้รับจากโครงการฯ เป็นค่าสัมปทานคงที่ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อ TEU (หน่วยนับตู้คอนเทนเนอร์ที่มีขนาด 20 ฟุต) โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ได้มีมติให้กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เป็นผู้ผ่านการประเมินข้อเสนอซองที่ 4 ซึ่งได้เสนอผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐได้รับ เป็นไปตามเอกสารการคัดเลือกเอกชน และมติ ครม. ที่ได้อนุมัติไว้ 

นอกจากนี้ ยังได้เจรจาผลตอบแทนเพิ่มเติม อาทิ เอกชนตกลงเพิ่มเงื่อนไขการสร้างท่าเรือ F2 ให้เร็วขึ้น หากแนวโน้มตู้สินค้าเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เอกชนจะสมทบเงินเข้ากองทุนเยียวยาความเสียหาย ในอัตรา 5,000 บาท/ไร่/ปี นับตั้งแต่วันเริ่มประกอบการท่าเทียบเรือ เป็นต้น โดย กพอ.ได้เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว และจะนำเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติ พร้อมลงนามสัญญาต่อไป โดยโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ฯ จะสามารถรองรับความจุตู้สินค้าจาก 11 ล้านตู้/ปี เป็น 18 ล้านตู้/ปี หรือเพิ่มตู้สินค้าไม่ต่ำกว่า 7 ล้านตู้/ปี รับการขยายตัวของปริมาณเรือขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้น เชื่อมต่อการพัฒนาสู่ท่าเรือบก (Dry port) เป็นศูนย์กลางการค้าบริการขนส่ง ยกระดับไทยเป็นประตูการค้าเชื่อมภูมิภาคเอเชียไปสู่ระดับโลก

ทั้งนี้ โครงการฯ นี้นับเป็นโครงการร่วมลงทุนรัฐ – เอกชน (PPP) ที่ประสบผลสำเร็จต่อจาก 3 โครงการหลัก ซึ่งได้เอกชนเดินหน้าก่อสร้างแล้ว โดยมูลค่าการลงทุนรวมทั้ง 4 โครงการสูงถึง 633,401 ล้านบาท เป็นการลงทุนภาคเอกชน 387,018 ล้านบาท (61%) และเป็นการลงทุนของภาครัฐ 196,940 ล้านบาท (39%)


2. ปรับแผนลงทุนอีอีซี 2.2 ล้านล้านบาทใน 5 ปี เสริมแกร่งเศรษฐกิจไทย แข่งขันได้ในยุค New Normal   

 ที่ประชุม กพอ. พิจารณา เห็นชอบ การปรับแผนลงทุนอีอีซีในระยะ 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) มีเป้าหมาย

การลงทุนให้ได้มากกว่าเป้าหมายเดิม จากแผนแรกของอีอีซี (2561-2565) กำหนดเงินลงทุนไว้ 1.7 ล้านล้านบาท ปัจจุบัน

เกิดเงินลงทุนแล้ว รวม 1,605,241 ล้านบาท หรือคิดเป็น 94% คาดว่าสิ้นปี 2564 จะได้ตามเป้าที่วางไว้ โดยแผนลงทุนอีอีซีระยะ 2 ขับเคลื่อนต่อยอดและเร่งรัดการลงทุนด้วยการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัยพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศ มีวงเงินลงทุนรวมประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 

1. ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน 200,000 ล้านบาท จากเมืองการบินภาคตะวันออก การพัฒนาพื้นที่ 30 กม.

รอบสนามบิน และพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหลักรถไฟความเร็วสูงฯ (TOD) 

2.ดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปีละ 400,000 ล้านบาท  แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ (1) การลงทุนในระดับฐานปกติ ปีละ 250,000 ล้านบาท และ (2) การลงทุนส่วนเพิ่มที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (EV) ดิจิทัล การแพทย์สมัยใหม่ การขนส่งโลจิสติกส์ เกษตรสมัยใหม่และอาหาร ภายใต้บริบทเศรษฐกิจหมุนเวียน

ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (BCG) รวมปีละ 150,000 ล้านบาท

3.ยกระดับชุมชนและประชาชน เร่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนระดับหมู่บ้าน พัฒนาตลาดสด/ e-commerce

สร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่ม ยกเครื่องการศึกษา สาธารณสุขพื้นฐาน สิ่งแวดล้อมและสาธารณูปโภคที่สะดวกสบายให้ชุมชน  

 แผนอีอีซีใน 5 ปีข้างหน้า จะทำให้มูลค่าการลงทุนในอีอีซี เพิ่มขึ้น 500,000 ล้านบาท/ปี (จากเดิม 300,000 ล้านบาท/ปี) ถือเป็นกลไกหลักช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ 4.5 – 5% ต่อปี และยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมส่งผลให้ไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ก้าวสู่ประเทศพัฒนาได้ในปี 2572

3. วางกรอบสิทธิประโยชน์ เน้นความต้องการผู้ประกอบการ จูงใจนักลงทุน ใช้นวัตกรรมเคียงคู่สิ่งแวดล้อม  

 ที่ประชุม กพอ. พิจารณา แผนการดำเนินงานด้านสิทธิประโยชน์ โดยขยายมาตรการสนับสนุนการลงทุน

จากโครงการที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล สู่การให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ โดยเริ่มนำร่องที่เขตส่งเสริมฯ เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) ให้เป็น พื้นที่ต้นแบบ (Sandbox) “การปฏิรูปและยกระดับประเทศไทย ก้าวสู่ 10 อันดับของประเทศที่ประกอบธุรกิจง่ายที่สุด” และที่ประชุมได้มอบหมายให้ สกพอ. จัดทำ (ร่าง) ประกาศสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ที่ครอบคลุม สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรและที่มิใช่

ภาษีอากร เพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี โดยมุ่งเน้นกลุ่มนักลงทุนที่มีศักยภาพ ใช้นวัตกรรมขั้นสูงและเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ภายใต้การออกแบบสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ (Demand Driven Customization) เป็นต้นแบบการปฏิรูประบบราชการที่ใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในการลงทุน และเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน 

4. เดินหน้าแผนพัฒนาเกษตร เร่งรัดโครงการ EFC ช่วยเกษตรกรเงินเก็บเพิ่ม ผลไม้ไทยสร้างรายได้ยั่งยืน 

 ที่ประชุม กพอ. พิจารณาเห็นชอบ ร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาการเกษตรในอีอีซี (พ.ศ.2566 -2570) และแผนงานโครงการ ภายใต้แผนฯ ที่ สกพอ. จัดทำร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีกรอบแนวคิด เน้นตลาดนำการผลิต

(Demand Pull) ใช้เทคโนโลยีสร้างรายได้ (Technology Push) สร้างโอกาสการตลาดให้กับสินค้าเกษตรคุณภาพดี พร้อมเป็นต้นแบบการพัฒนาภาคเกษตรเข้าถึงตลาดสินค้ามูลค่าสูง จาก 5 คลัสเตอร์สำคัญ ได้แก่ ผลไม้ ทุเรียน มังคุด มะม่วง

ประมงเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำทดแทนนำเข้า พืชอุตสาหกรรมชีวภาพ มันสำปะหลัง พืชสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร และเกษตรมูลค่าสูง โคเนื้อพรีเมียม ตั้งเป้าหมายยกระดับรายได้ให้ชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ อีอีซี เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรม-บริการ พร้อมให้ GDP ภาคเกษตรในอีอีซี เพิ่มขึ้น  

 รวมทั้ง ที่ประชุมกพอ. ได้พิจารณาเห็นชอบให้ สกพอ. ศึกษาการจัดตั้งบริษัทเพื่อบริหารโครงการระเบียงผลไม้

ภาคตะวันออก (EFC) ร่วมทุนกับเอกชน ท้องถิ่น เน้นสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้เกษตรกรด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลประกอบการ ด้วยแนวคิด การตลาดนำการผลิต วางระบบการค้าสมัยใหม่ E-commerce และ E-auction พัฒนาระบบห้องเย็น-โลจิสติกส์ทันสมัย ที่สกพอ.จะเร่งสร้างโรงงานห้องเย็นให้ทันช่วงหน้าทุเรียนปี 2565 และจัดระบบสมาชิกชาวสวนผลไม้ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยโครงการ EFC จะสร้างรายได้ 20-30% มูลค่าประมาณ 10,000-15,000 ล้าน/ปี คืนสู่เกษตรกร

ชาวสวนผลไม้ ระบบห้องเย็นช่วยคงคุณภาพผลผลิต ลดปัญหาขาดแคลนและล้นตลาด ขายได้ราคาเป็นธรรมไม่ถูกกดราคา ส่งออกได้มูลค่าสูง ได้รับเงินจากการขายทันที ให้เกษตรกรไทยมีรายได้ดีมั่นคงอย่างสมดุล

5. พัฒนาตลาดลานโพธิ์นาเกลือ พลิกโฉมพัทยา สู่แหล่งท่องเที่ยวโลก สร้างเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน 

 ที่ประชุม กพอ. พิจารณาเห็นชอบให้ สกพอ. ร่วมกับ เมืองพัทยา ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ตลาดลานโพธิ์นาเกลือ (Old Town นาเกลือ) เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนควบคู่ไปกับการเป็นตลาดอาหารทะเลชั้นนำในพื้นที่อีอีซี พร้อมเป็นโครงการนำร่อง แผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTYA ที่มีแนวคิด ให้พัทยาก้าวสู่ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยวของอีอีซี โดยขับเคลื่อนให้ตลาดลานโพธิ์นาเกลือ เป็นต้นแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ซึ่งมี 13 โครงการย่อยที่จะดำเนินการที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ปรับปรุงตลาดขายอาหารทะเลสด ก่อสร้างเส้นทางเดินชมธรรมชาติ

จุดชมทัศนียภาพปากคลองนาเกลือ ก่อสร้างเส้นทางธรรมชาติป่าโกงกางคลองนกยาง และก่อสร้างตลาดใหม่ลานโพธิ์นาเกลือ

เป็นต้น ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 1.5 ล้านคน/ปี และเกิดรายได้ให้คนในพื้นที่กว่า

1,000 ล้านบาท/ปี  

6. ยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 เป็น Sandbox ต่อยอดระบบบริการสาธารณสุข สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี 

 ที่ประชุม กพอ. พิจารณาเห็นชอบให้ “โครงการการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ให้มีศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) และมีมาตรฐานโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคม” เป็นหนึ่งในโครงการ EEC Project List โดยให้

สกพอ. และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ เร่งศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) และให้เป็นโครงการ Sandbox ยกระดับการบริการสาธารณสุข โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน ต่อไป โครงการโรงพยาบาลปลวกแดง 2 จะรองรับผู้ประกันตนประมาณไม่ต่ำกว่า 200,000 คน ในอำเภอปลวกแดง ให้ได้รับบริการสาธารณสุขอย่างทันการ สะดวก ปลอดภัยและมีคุณภาพ  ลดการเดินทางไปรักษาพยาบาลนอกพื้นที่ ทำให้สถานประกอบการในพื้นที่มีความมั่นใจว่าพนักงานได้รับบริการอย่างทันท่วงทีจากโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานในพื้นที่.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องหมิ่น “ทนายรัชพล” กล่าวหาจับแพะติดคุกฟรีปีกว่า

“สารวัตรแจ๊ะ” พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททนายดัง และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ยันไม่ได้นําตัวไปเซฟเฮาส์ ด้านทนายเผยพบหลักฐานทนายคู่กรณีบีบผู้เสียหายกลับคําให้การ แบ่งเงินคนละครึ่ง

ข่าวแนะนำ

ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย ปรับลดดอกเบี้ย MRR

นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME

“บิ๊กโจ๊ก” ร้อง ตร.ขอความเป็นธรรม ปมโดนให้ออกจากราชการ

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล บุกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หอบหลักฐานยื่นคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตำรวจ ขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ออกจากราชการ

เร่งตรวจสอบเหตุสารเคมีรั่วไหลโรงงานย่านพระราม 2

เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบเหตุสารเคมีรั่วไหลในโรงงานย่านพระราม 2 ควันสีขาวลอยโขมง เบื้องต้นพบเป็นสารไทโอยูเรีย

อุตุฯ เผยไทยตอนบนร้อนจัด แนะเลี่ยงทำงานในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด แนะหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานาน ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัดบางแห่ง