fbpx

แห่ปรับลด GDP ปีนี้!! KKP research เหลือ 0.5%, EIC เหลือ 0.9%

กรุงเทพฯ 22 ก.ค. – KKP research ปรับ GDP ลงเหลือ 0.5% จาก 1.5% คาดล็อกดาวน์อย่างน้อย 3 เดือน เสี่ยงทำไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกปี ขณะที่ EIC ปรับ GDP ปีนี้ ลงจากเดิม 1.9% มาอยู่ที่ 0.9%



KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 อาจมีแนวโน้มยืดเยื้อ ไม่จบได้เร็วแบบเดียวกับปีก่อน ทั้งจากไวรัสที่ระบาดเป็นสายพันธุ์ใหม่ คือ สายพันธุ์เดลต้าที่มีความสามารถในการระบาดสูงกว่าเดิมมาก ประกอบกับมาตรการล็อกดาวน์ที่เริ่มต้นช้า นโยบายจำนวนการตรวจโรคที่เป็นข้อจำกัด และสัดส่วนของคนที่มีภูมิคุ้มมีน้อยมากจากอัตราการฉีดวัคซีนที่ทำได้ช้า และวัคซีนมีประสิทธิผลในการป้องกันต่อเชื้อเดลต้าต่ำ


KKP Research ประเมินว่าการระบาดระลอกปัจจุบันของไทย จะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างน้อย 3 เดือน กว่าจะบรรเทาความรุนแรงลง ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการบริโภคและการลงทุนลดลงช่วงไตรมาส 3 ส่งผลให้การเติบโตของการบริโภคทั้งปีติดลบ และกระทบต่อการคาดการณ์ GDP ในปี 2021 จาก 1.5% เหลือเพียง 0.5% แม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ดีขึ้นก็ตาม เมื่อนับรวมกับตัวเลขการคาดการณ์ GDP ในปี 2022 ที่ 4.6% ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้รวมกับปีหน้าที่ระดับ 5.1% ไม่เพียงพอชดเชยการหดตัวของเศรษฐกิจในปี 2020 ที่หดตัวลง 6.1% และเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาถึงช่วงครึ่งแรกของปี 2023 ในการกลับเข้าสู่ระดับก่อนการระบาดของโควิด -19 และหากจำเป็นต้องมีการล็อกดาวน์ที่ยาวนานกว่าสามเดือน หรือต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่มีข้อจำกัดมากขึ้น จะกระทบภาคการผลิตและการส่งออก ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบเพิ่มเติมอีก -1.3% และทำให้เศรษฐกิจในปีนี้หดตัวลง 0.8% อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ขณะนี้ ประเมินว่า การแพร่ระบาดอาจยาวนานต่อเนื่องอีก 6 เดือน



ด้าน ศูนย์วิจัยอีไอซี (EIC หรือ Economic Intelligence Center) ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับประมาณการเศรษฐกิจ (GDP) ปี 2021 ลงจากเดิม 1.9% มาอยู่ที่ 0.9% เป็นผลจากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายตัวในวงกว้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคค่อนข้างมาก ทั้งจากมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้น (ล็อกดาวน์) ความกังวลของประชาชนในการใช้จ่ายภายใต้ความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น (Fear Factor) และแผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกขึ้น (Scarring) ขณะที่เม็ดเงินช่วยเหลือจากภาครัฐที่ออกมายังไม่เพียงพอและทั่วถึง จึงช่วยบรรเทาผลกระทบได้เพียงบางส่วนเท่านั้น


การบริโภคภาคเอกชนจะถูกกระทบค่อนข้างรุนแรงในช่วงไตรมาสที่ 3 ก่อนฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในช่วงปลายปี โดยการระบาดในประเทศที่อยู่ในภาวะวิกฤติ จำนวนผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นงต่อเนื่อง การฉีดวัคซีนที่มีความล่าช้ากว่าแผน และมีประสิทธิภาพน้อยลงในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า ที่มีอัตราการแพร่ระบาดสูง จึงทำให้ EIC คาดว่าจะต้องใช้เวลาถึงช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายนที่จำนวนผู้ติดเชื้อจะปรับลดลงต่ำกว่า 100 ราย/วัน ซึ่งใช้เวลากว่า 8 เดือนนับตั้งแต่มีการระบาดในเดือนเมษายน จากคาดการณ์เดิมที่ใช้เวลา 4 เดือน โดยมีแนวโน้มสร้างความเสียหายต่อการบริโภคภาคเอกชนกว่า 7.7 แสนล้านบาท (ราว 4.8% ของ GDP) ส่วนการส่งออกคาดการณ์อยู่ที่ 15.0% และปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้เหลือ 3 แสนคน จากเดิม 4 แสนคน


EIC มองว่ามาตรการภาครัฐที่ออกมาจนถึงปัจจุบันยังไม่เพียงพอทั้งในเชิงพื้นที่ ระยะเวลา และปริมาณเงินรวม มาตรการชดเชยรายได้แรงงานและผู้ประกอบการล่าสุดที่ครอบคลุมแค่จังหวัดที่โดนล็อกดาวน์และชดเชยเพียง 1 เดือน จึงไม่น่าเพียงพอที่จะชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจในภาพรวมได้ โดย EIC คาดว่าในกรณีฐาน ภาครัฐจะออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากปัจจุบันอย่างน้อยอีกราว 1.5 แสนล้านบาท รวมเป็นใช้เม็ดเงินจาก พรก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ราว 2 แสนล้านบาทในปีนี้ และภาครัฐอาจพิจารณาการใช้จ่ายเพิ่มเติมหากการระบาดยืดเยื้อกว่าที่คาด.-สำนักข่าวไทย



          

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องหมิ่น “ทนายรัชพล” กล่าวหาจับแพะติดคุกฟรีปีกว่า

“สารวัตรแจ๊ะ” พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททนายดัง และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ยันไม่ได้นําตัวไปเซฟเฮาส์ ด้านทนายเผยพบหลักฐานทนายคู่กรณีบีบผู้เสียหายกลับคําให้การ แบ่งเงินคนละครึ่ง

ข่าวแนะนำ

สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา เริ่มมีสัญญาณที่ดี-การสู้รบเงียบสงบ

สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลังการสู้รบเงียบสงบเกินกว่า 24 ชั่วโมง คาดมีการเจรจากันของกลุ่มต่อต้านและทางการเมียนมา หยุดยิงชั่วคราวเพื่อลดผลกระทบ

“บิ๊กโจ๊ก” ยื่น ป.ป.ช.อีกรอบ สอบตำรวจทำคดีเว็บพนันออนไลน์

“บิ๊กโจ๊ก” บุกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อีกครั้ง เพื่อยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษหัวหน้าและคณะพนักงานสอบสวนทั้งหมดในคดีเว็บพนันออนไลน์ที่มีการทำคดีโดยมิชอบ

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

อุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน-ใต้ พายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสาน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อย