ยธ. เร่งเยียวยาผู้เสียหาย-ญาติ คดีวางยาไซยาไนด์

กรุงเทพฯ 1 พ.ค. – กระทรวงยุติธรรม เร่งช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายและญาติผู้เสียชีวิตจากกรณีต้องสงสัยว่าถูกวางยา “ไซยาไนด์” 


ในวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2566 นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้สั่งการเร่งให้ความช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จากกรณีมีข่าวการก่ออาชญากรรม โดยต้องสงสัยว่าผู้ต้องหา ใช้สารไซยาไนด์ในการก่อเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต และมีญาติผู้เสียหาย จำนวนหนึ่งติดใจการเสียชีวิตว่าถูกผู้ต้องหาใช้สารไซยาไนด์ในการก่อเหตุ เช่นเดียวกันหรือไม่ ส่งผลให้จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีทายาทผู้เสียหายที่เคยรู้จักหรือใกล้ชิดผู้ต้องหาเข้ามาแจ้งความกับพนักงานสอบสวนเป็นจำนวนมาก และเกิดความสงสัยในการสาเหตุการตายของผู้เสียหายว่าอาจถูกทำร้ายจนเสียชีวิต

กระทรวงยุติธรรม ได้แจ้งให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัดในพื้นที่เกิดเหตุ ลงพื้นที่แจ้งสิทธิ รับคำขอและพิสูจน์สิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จะให้ความช่วยเหลือเยียวยา หากผู้เสียหายได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย จากการกระทำ ความผิดอาญาของผู้อื่น โดยที่ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการกระทำความผิด มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนผู้เสียหาย ตาม พรบ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 ดังนี้   


  1. กรณีเสียชีวิต
  • ค่าตอบแทนกรณีถึงแก่ความตาย 50,000 บาท
  • ค่าจัดการศพ 20,000 บาท
  • ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู 40,000 บาท
  • ค่าเสียหายอื่น 40,000 บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 150,000 บาท (เนื่องจากเป็นกรณีอุจฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ ประชาชนให้ความสนใจ)

2. กรณีบาดเจ็บ

  • ค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท 
  • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพฯ เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท
  • ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ ฯ ให้จ่ายในอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำในท้องที่จังหวัดที่ไม่อาจประกอบการได้ตามปกติ ไม่เกิน 1 ปี
  • ค่าตอบแทนความเสียหายอื่น ไม่เกิน 50,000 บาท

ทั้งนี้ การช่วยเหลือขึ้นอยู่กับดุลพินิจ ของคณะอนุกรรมการฯ ประจำจังหวัดที่เกิดเหตุ พิจารณาเป็นสำคัญ

โฆษกกระทรวงยุติธรรม กล่าวอีกว่า กรณีดังกล่าวอาจมีความยุ่งยากในการรวบรวมพยานหลักฐานและใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ กระทรวงยุติธรรมมีกองทุนยุติธรรมที่จะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีให้แก่ผู้เสียหายและญาติผู้เสียชีวิตได้ เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าตรวจพิสูจน์ ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมเอกสาร โดยสามารถ ติดต่อได้ที่ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานยุติธรรม จังหวัดทุกแห่ง หรือทางแอปพลิเคชัน “ยุติธรรมใส่ใจ (Justice Care)”


นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ.การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2559 มาตรา 5(4) ได้เปิดกว้างให้ญาติผู้เสียชีวิตที่ติดใจสาเหตุการตาย สามารถติดต่อขอรับการตรวจชันสูตรซ้ำได้ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น โปร่งใส อำนวยความยุติธรรม และเป็นไปตาม นโยบายของกระทรวงยุติธรรมที่ได้มุ่งเน้นถึงกระบวนการที่ทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคม

ซึ่งจากสถิติการตรวจพบไซยาไนด์ตั้งแต่ ปี 2563 – ปัจจุบัน พบจำนวน 4 คดี (ปี 2563​ จำนวน 1 คดี​ ปี​ 2564​  จำนวน​ 2 คดี​ และปี​ 2565​ จำนวน​ 1 คดี)​ .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พยาบาลถูกตบ

“สมศักดิ์” พร้อมช่วยคดี “พยาบาลสาว” ถูกญาติผู้ป่วยตบหน้า

“สมศักดิ์” รมว.สธ. พร้อมสนับสนุนหา “ทนายความ” ช่วยคดี “พยาบาลสาว” ถูกญาติผู้ป่วยตบหน้า บอกหากเจ้าตัวไม่ดำเนินคดี กระทรวงฯ พร้อมออกโรงแทน หวั่นเป็นเยี่ยงอย่าง

รพ.ระยอง ยันดำเนินคดีถึงที่สุดญาติคนไข้ตบพยาบาล

โรงพยาบาลระยอง แถลงปมญาติคนไข้ตบหน้าพยาบาล เผยหลังเกิดเหตุได้ดูแลอาการบาดเจ็บของพยาบาลผู้ประสบเหตุทันที ยืนยันดำเนินคดีถึงที่สุด

ข่าวแนะนำ

“หลิว จงอี” ถึงกลาโหม เสนอ 4 ข้อปราบแก๊งคอลฯ

“หลิว จงอี” ถึงกลาโหม เตรียมเสนอ 4 มาตรการปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ “บิ๊กอ้วน” คณะทูตจีนรอต้อนรับ ขณะเจ้าตัวสีหน้ายิ้มแย้ม ไม่ตอบสื่อ

สธ.ลั่นเอาผิดญาติคนไข้ตบพยาบาลให้ถึงที่สุด

ผอ.โรงพยาบาลระยอง เข้าพบผู้ช่วย รมว.สาธารณสุข ปมญาติคนไข้บุกตบพยาบาล สธ. ยืนยันต้องดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ด้านพยาบาลยังเครียด เยื่อบุแก้วหูอักเสบรุนแรง

รวบชาวจีนเช่าคอนโดพระราม 9 เปิดเว็บพนันออนไลน์

ตำรวจบุกจับ ชาวจีน 15 คน เช่าคอนโดยกชั้น ย่านพระราม 9 เปิดเป็นฐานปฏิบัติการเว็บพนันออนไลน์ พบเงินหมุนเวียนในบัญชีดิจิทัล กว่า 9 ล้านบาท