ไทยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 เริ่มทดลองฉีดในลิง

สำนักข่าวไทย 23 พ.ค. 63 – ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ในลิงเป็นครั้งแรกในไทย หลังผลทดลองในหนูเป็นที่น่าพอใจ คาดผลการทดสอบจะชัดเจนในเดือนกันยายน 


ที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ติดตามความคืบหน้าการวิจัย และพัฒนาวัคซีนชนิด mRNA ที่ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังเตรียมนำวัคซีนต้นแบบมาฉีดทดลองในลิง หลังก่อนหน้านี้นำไปทดลองในหนูแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

โดยวันนี้เป็นที่นักวิทยาศาสตร์ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำวัคซีนชนิด mRNA มาฉีดในลิงเป็นเข็มแรก เมื่อเวลา 07.39 น. ที่ผ่านมา บริเวณกล้ามเนื้อขา โดยมีการกำหนดฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ในระยะเวลา 6 เดือน 


ศาสตราจารย์ ดร. สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุถึงความจำเป็นที่จะต้องนำวัคซีนมาทดลองในลิง แม้ก่อนหน้านี้จะทดลองในหนูไปแล้ว เพราะยังต้องทดสอบเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะนำไปทดลองในคน โดยการทดสอบจะพิจารณา 4 ข้อ คือ ความเป็นพิษ ความปลอดภัย การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และประสิทธิภาพในการป้องกันโรค โดยลิงที่นำมาใช้ทดลองคือลิงแสมเพศเมีย วัยเจริญพันธุ์ อายุ 4-6 ปี ทั้งหมด 13 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่มเพื่อทดลอง คือ กลุ่มโดสยาต่ำ 5 ตัว  โดสยาสูง 5 ตัว และยาหลอก 3 ตัว เพื่อเปรียบเทียบผล

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้วางแผนดำเนินการวัคซีนโควิด -19 ไว้ทั้งหมด 3 แนวทาง ตั้งแต่สนับสนุนการวิจัยในประเทศ  ร่วมมือกับนานาชาติในการพัฒนา เช่น การรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน และจับมือกับผู้ผลิตวัตซีนระดับโลก เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงวัคซีนได้เร็วที่สุด และเพียงพอต่อความต้องการ 

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เปิดเผยว่า วันนี้ถือว่าเป็นวันที่สำคัญ เพราะประเทศไทยอาจเป็นหนึ่งที่สร้างความหวังเรื่องการวิจัยและพัฒนาวัคซีน ซึ่งภายในเดือนกันยายนคาดว่า จะมีความชัดเจนมากขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่ทำคู่ขนานไปกับการวิจัยคือ การจองโรงงานผลิตวัคซีน ที่ขณะนี้จองไปแล้ว 2 โรงงาน 


ทั้งนี้ปัจจุบันในไทยมีโครงการวิจัย และพัฒนาวัคซีนโควิด -19 ทั้งหมด 5 โครงการ ในหลายสถาบัน เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และมหาวิทยาลัยมหิดล แต่ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด คือ โครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ชนิด DNA และชนิด mRNA.-สำนักข่าวไทย

📷 ภาพโดย ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิชทีมช่างภาพ สำนักข่าวไทย อสมท 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เข้มทางบก แก๊งลักลอบเข้าเมือง หนีไปทางน้ำ

หลังมาตรการ Seal Stop Safe ชายแดนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มกราคม เพื่อเข้มงวด ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ พบขบวนการลักลอบเข้าเมืองด้านชายแดนกาญจนบุรี ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองพญาตองซู ของเมียนมา เลี่ยงไปใช้เส้นทางน้ำแทน

ทองไทยใกล้เป้าหมายบาทละ 5 หมื่น

ทองไทยเข้าภาวะกระทิง เปลี่ยนแปลงคึกคักวันนี้ (11 ก.พ.) ปรับเปลี่ยน 27 รอบ เข้าใกล้ 48,000 บาทต่อบาททองคำ มองเป้าหมายถัดไปที่ 50,000 บาทต่อบาททองคำ ด้านสภาทองคำโลก ชี้การซื้อทองเป็นการลงทุนมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดทองคำที่แข็งแกร่งในปี 67 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก