“ร่างจริยธรรมของอินฟลูเอนเซอร์” คุ้มครองผู้บริโภค

อินฟลูเอนเซอร์

14 มี.ค. – อินฟลูเอนเซอร์เตรียมตัว! องค์กรผู้บริโภค ผุด “ร่างจริยธรรมของอินฟลูเอ็นเซอร์” เป็นข้อปฏิบัติก่อนรีวิวสินค้า


“ร่างจริยธรรมของอินฟลูเอนเซอร์” ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และเป็นอีกหนึ่งการยกระดับมาตรฐานการนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือการรีวิวสินค้า ในยุคแห่งโลกออนไลน์ ที่อินฟลูเอนเซอร์มีผลอิทธิพลต่อการตัดสิน และความเชื่อถือของผู้บริโภค

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 สภาผู้บริโภค ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดแถลงข่าว “ผลทดสอบค่า SPF ครีมกันแดด” ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีเจ้าของ หรือพรีเซ็นเตอร์ เป็นอินฟลูเอนเซอร์ ผู้มีชื่อเสียงหรือผู้มีอิทธิพลในโลกออนไลน์


สาเหตุที่เลือกกลุ่มครีมกันแดดมาทดสอบ เนื่องจากเป็นสินค้าราคาค่อนข้างสูง และต้องใช้บ่อยในสภาพอากาศของเมืองไทย จึงเห็นว่าผู้บริโภคควรมีข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า และเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ให้เจ้าของแบรนด์ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้า และปรับตัวตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่สูงขึ้น

“ทดสอบค่า SPF ครีมกันแดดด้วยวิธี In vitro”
สภาผู้บริโภค และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แฝงตัวเสมือนเป็นผู้บริโภค สั่งสินค้าจากผู้จำหน่าย ผ่านช่องทาง official ของแบรนด์ครีมกันแดดทั้ง 20 ตัวอย่าง และส่งมาในรูปแบบเดียวกันกับที่ผู้บริโภค และส่งทั้งหมดวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ด้วยวิธี In vitro และเทียบข้อมูลโดยอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง การแสดงค่าความสามารถ ในการป้องกันแสงแดดของเครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด พ.ศ.2560 ภายใต้ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558

“ผลการทดสอบพบ 20 ตัวอย่าง พบค่า SPF ต่ำสุด 8.4 สูงสุด 327.0”
นายโสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค เปิดเผยกับสำนักข่าวไทย ถึงผลการทดสอบ 20 ตัวอย่าง ที่ระบุบนฉลากว่ามีค่า SPF 50 มี 6 ตัวอย่าง และ SPF50+ 14 ตัวอย่าง ที่มีค่า SPF ต่ำกว่า 50 อยู่จำนวน 5 แบรนด์ และมีตัวอย่างที่มีค่า SPF สูงสุดถึง 327.0


“สาเหตุของค่า SPF ต่ำและสูง เกิดจากอะไร?”
เนื่องจากค่า SPF สามารถสลายไปได้ตามกาลเวลา และปัจจัยภายนอก เช่น การขนส่ง อุณหภูมิ การจัดเก็บ เช่นเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF ต่ำกว่า 50 อาจเป็นเพราะปัจจัยแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตจะมีการส่งตรวจผลิตภัณฑ์โดยห้องแล็บ หลังออกจากโรงงานทันที หรือใช้เวลาไม่นาน เพื่อนำยื่นขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เมื่อมาถึงมือผู้บริโภคอาจใช้เวลาหลายเดือน อาจทำให้ค่า SPF มีความคลาดเคลื่อนออกไป

แต่ในอีกทางหนึ่ง เมื่อผลการทดสอบออกมาเช่นนี้ ทำให้เกิดกระแสในสังคม ถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จึงเกิดการเรียกร้องภาครัฐ ให้ระบุมาตรฐานการผลิตครีมกันแดดทุกแบรนด์

“ควรผ่านการตรวจแบบ In vivo” ก่อนออกขายสู่ผู้บริโภค ถ้าไม่มีห้ามขาย
แนะนำผู้บริโภค เมื่อซื้อครีมกันแดดทุกครั้งต้องดูวันผลิตด้วย ยิ่งนานอาจยิ่งทำให้ค่า SPF ลดลง ระยะเวลาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่อยู่ในระยะเหมาะสมคือไม่เกิน 2 ปี

“ทำความรู้จัก ร่างจริยธรรมของอินฟลูเอนเซอร์”
นายโสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค อธิบายว่า ร่างจริยธรรมของอินฟลูเอนเซอร์ เป็นแนวปฏิบัติที่พึงกระทำ แต่ไม่ได้มีสภาพบังคับ เพราะไม่ใช่กฎหมาย และให้ถือเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำว่าอินฟลูเอนเซอร์จะต้องทำอะไรบ้างเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

ร่างจริยธรรมของอินฟลูเอนเซอร์ ประกอบด้วย 5 ข้อปฏิบัติหลักๆ
1.ตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า ก่อนรับโฆษณา
ปัจจุบันอินฟลูเอนเซอร์ มี 2 ฐานะ คือผู้จำหน่าย กับรับจ้างโฆษณา จึงต้องศึกษาสินค้าก่อนรีวิว ต้องรู้จักส่วนผสมสินค้า ไม่ใช่ฟังแต่ผู้จ้าง หรือเจ้าของแบรนด์อย่างเดียว และต้องขอตรวจสอบใบอนุญาตจากผู้ผลิต ว่ามีการขออนุญาตถูกต้องหรือไม่ และตรวจสอบซ้ำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าสินค้าและเลขจดแจ้งตรงกันหรือไม่ และเพื่อให้มั่นใจว่าไม่เคยเป็นสินค้าที่มีแบล็กลิสต์

2.การทดลองใช้สินค้าจริง
อินฟลูเอนเซอร์ ต้องทดลองใช้สินค้าเอง และใช้จริง และต้องมีหลักฐานด้วยว่าใช้แล้วเป็นอย่างไร และผลการใช้ต้องเป็นไปตามที่โฆษณา และต้องมีจรรณยาบรรณ ไม่รับรีวิวสินค้าที่มีอันตรายต่อสุขภาพ หรือไม่ปลอดภัย เช่น สินค้าปลอมแปลง สินค้าที่ไม่มี อย. หรือ มอก.

3.ยอมรับว่าการรีวิว คือการโฆษณา
อินฟลูเอนเซอร์ ต้องยอมรับว่าการรีวิวสินค้า คือการโฆษณา ดังนั้นต้องทำให้มีความโปร่งใส รีวิวตามข้อเท็จจริง ที่สำคัญต้องรู้กฎหมาย ว่าคำไหนพูดได้ พูดไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายโฆษณาเกินจริง

4.เลี่ยงสินค้าผิดกฎหมาย หรือไม่ได้รับการรับรอง
อินฟลูเอนเซอร์ ต้องยึดจรรณยาบรรณ ไม่รับรีวิวสินค้าผิดกฎหมาย หรือยังไม่ได้รับการรับรองที่ถูกต้อง เช่นบุหรี่ไฟฟ้า การเล่นพนัน

5.มีการเยียวยาผู้บริโภค
อินฟลูเอนเซอร์ ต้องระวังข้อนี้ไว้ให้ดี เพราะคุณคือผู้โฆษณาเชิญชวน เมื่อเกิดผลลบกับผู้บริโภค อินฟลูเอนเซอร์จะต้องรับผิดชอบร่วม

“สัปดาห์หน้าจะหารือร่างจริยธรรมของอินฟลูเอนเซอร์ กับอินฟลูเอนเซอร์ตัวจริง”
นายโสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค ระบุขั้นตอนการเดินหน้าผลักดันร่างจริยธรรมของอินฟลูเอนเซอร์ว่า สัปดาห์หน้า (17-23 มี.ค.68) จะพูดคุยกับสมาคมอินฟลูเอนเซอร์ และจะเชิญเหล่าอินฟลูเอนเซอร์มาหารือว่าร่างที่มีการเขียนไว้แล้ว มีความคิดเห็นอย่างไร มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะปฏิบัติตาม

ส่วนการผลักดันกฎหมาย ขณะนี้ในสภาจะเดินหน้าเสนอแก้ พ.ร.บ.อินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งจะมีเรื่องเกี่ยวกับ พ.ร.บ.อาหาร และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคอยู่ด้วย เป็นความรับผิดชอบของผู้โฆษณา เพราะอินฟลูเอนเซอร์ ถือเป็นผู้โฆษณา และการโฆษณาเป็นเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า อินฟลูเอนเซอร์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่ต้องรับผิดต่อผู้บริโภค. -918 สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

แจ้งความผู้ว่าสตง.

2 พิธีกรดังเข้าแจ้งความกล่าวโทษผู้ว่าฯ สตง. เหตุตึก สตง.ถล่ม

สองพิธีกรชื่อดัง เข้าแจ้งความกล่าวโทษ ผู้ว่าฯ สตง. และอดีตผู้ว่าฯ สตง. เหตุตึก สตง.แห่งใหม่ถล่ม แต่ไม่มีใครรับผิดชอบ มองอาจไม่ชอบมาพากล หวั่นเวลาผ่านไปเอาผิดใครไม่ได้

ก้อนปูนตกใส่รถ

กทพ. แจงก้อนปูนตกใส่รถผู้ใช้ทาง มีคนโยนลงมาจากสะพานลอย

กทพ. ชี้แจงกรณี ก้อนปูนตกใส่รถผู้ใช้ทาง ไม่ได้เกิดจากการกระเทาะของโครงสร้างทางพิเศษบูรพาวิถี แต่มีผู้โยนลงมาจากสะพานลอย จ่อประสานตำรวจตามตัวดำเนินคดี

ปล่อยกู้ดอกโหด

บุกทลาย “บ้านเสี่ยโน้ต” ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยมหาโหด 1,825% ต่อปี

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) บุกทลาย “บ้านเสี่ยโน้ต” ปล่อยเงินกู้เฉพาะผู้หญิง คิดดอกเบี้ยมหาโหดร้อยละ 1,825 ต่อปี ไม่จ่ายโดนข่มขู่ประจานไม่เลือกหน้า

ข่าวแนะนำ

โรคแอนแทรกซ์

สธ.เฝ้าระวังโรคแอนแทรกซ์ ย้ำประชาชนอย่าเพิ่งตระหนกตกใจ

หลังมีผู้เสียชีวิตและติดเชื้อแอนแทรกซ์ รวมถึงยังต้องเฝ้าระวังตรวจคัดกรองหลายร้อยคน การระบาดในพื้นที่ภาคอีสานรอบนี้ ดร.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า กรมควบคุมโรคเร่งเฝ้าระวังและควบคุมโรคแอนแทรกซ์ ย้ำพี่น้องประชาชนอย่าเพิ่งตระหนกตกใจ

ประณามยิงประชาชน

แม่ทัพภาคที่ 4 ประณามคนร้ายยิงประชาชนเสียชีวิต-สั่งปรับแผนความปลอดภัย

แม่ทัพภาคที่ 4 ลงพื้นที่ติดตามเหตุยิงประชาชนใน อ.จะแนะ และ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส สั่งปรับแผนการปฏิบัติในพื้นที่ล่อแหลม เสี่ยงต่อการก่อเหตุรุนแรง สร้างความปลอดภัยสูงสุดในการดูแลประชาชน พร้อมประณามการกระทำโหดเหี้ยม

แอนแทรกซ์

สธ.เผยติดเชื้อแอนแทรกซ์โอกาสตายสูงถึง 80%

สธ. เผยแอนแทรกซ์ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โอกาสเสียชีวิตสูงถึง 80% ส่วน จ.เลย ชาวบ้านพบวัวตายตัว สำนักงานปศุสัตว์ฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบเบื้องต้น คาดกินเชือกไนล่อนมัดฟางเข้าไป ทำให้อุดตันทางเดินอาหาร ไม่น่าเกิดจากโรคระบาดสัตว์ เนื่องจากวัวในฝูงที่เหลืออยู่ ยังมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี