โครงการสร้างภูมิคุ้มกัน Climate Change ในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทย

กรุงเทพฯ 21 ต.ค. – กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง และ UNDP จัดทำ “โครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งตามแนวอ่าวไทย” มั่นใจสามารถสร้างความร่วมมือ เพิ่มความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ พร้อมขยายผลความสำเร็จจาก 4 จังหวัดนำร่อง สู่ 18 จังหวัดตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย


นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากรายงาน Global Climate Risk Index ของ German watch ในปี 2565 พบว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงภัยต่อการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ จัดอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก โดยผลกระทบนี้สะท้อนให้เห็นถึงความถี่และความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของน้ำท่วม พายุ และคลื่นความร้อน ทำให้ความเสี่ยงและความเปราะบางของทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งมีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบนิเวศแนวปะการัง ป่าชายเลน และหญ้าทะเล เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งนิเวศบริการที่สำคัญให้กับชุมชนชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนชายฝั่งที่พึ่งพิงฐานทรัพยากรเพื่อการเกษตรกรรม ประมง และท่องเที่ยวซึ่งทำให้ความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ครอบคลุมพื้นที่ 18 จังหวัด มีความยาวประมาณ 3,148 กิโลเมตร ด้วยเหตุนี้ พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งบริเวณอ่าวไทย จึงได้รับการพิจารณาให้เป็นพื้นที่เป้าหมายที่จะต้องเสริมสร้างศักยภาพด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างการมีภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดำเนิน “โครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งตามแนวอ่าวไทย (Increasing resilience to climate change impacts in marine and coastal areas along the Gulf of Thailand)” ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว Green Climate Fund (GCF) จำนวนเงิน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ดำเนินการในพื้นที่ 18 จังหวัดตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย ใน 4 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ปี 2563 – 2567 เป็นระยะเวลา 4 ปี

จากความร่วมมือในการดำเนินโครงการจึงทำให้เกิดเป็นความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลความเสี่ยงระดับพื้นที่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยในจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ ระยอง เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา 2) พัฒนาขีดความสามารถและองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น เพื่อจัดทำแผนการปรับตัว ฯ ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงในพื้นที่ 3) มาตรการทางเลือกที่ใช้ในกระบวนการปรับตัว เช่น ธนาคารสัตว์น้ำ ซั้งปลา กำแพงกั้นคลื่น การฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลน เพื่อให้หน่วยงานระดับพื้นที่ทราบถึงความต้องการการสนับสนุนสำหรับการดำเนินงานของพื้นที่ 4) พัฒนาตัวชี้วัดด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สําหรับภาคการท่องเที่ยว การเกษตรและการประมง และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการบูรณาการสู่แผนพัฒนาจังหวัด 5) แพลตฟอร์มการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) 6) กลยุทธ์การจัดหาเงินทุนสำหรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง (ภาคการท่องเที่ยว ภาคการเกษตรและประมง และทรัพยากรธรรมชาติ)


Ms.Irina Goryunova รองผู้แทนประจำโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทยกล่าวว่า แนวทางในการบูรณาการเพื่อขยายผลการดำเนินงานสู่แผนงานในอนาคต จะมีการนำข้อมูลที่ได้จากโครงการมาใช้ในการแก้ไขหรือปรับปรุงแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติในระยะต่อไป รวมถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้ง 6 สาขา ที่จะดำเนินงานในระยะถัดไป อีกทั้งได้แนวทางการปฏิบัติที่ดี (best practices) จากพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด นำไปขยายผลการดำเนินงานสู่ 18 จังหวัดตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย ตลอดจนขับเคลื่อนไปสู่การดำเนินงานในระดับพื้นที่ และที่สำคัญหลังจากนี้ จะต้องมีการขับเคลื่อนการบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ประชาชน เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการฯ และจากหลายภาคส่วน มาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานขับเคลื่อนเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และร่วมกันรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่สืบไป. -512- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์

“นายกฯ แพทองธาร” โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes Global CEO Conference ครั้งที่ 22 ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ รับมือความท้าทาย ชูจุดเด่นไทยอยู่ตรงกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภาคการเกษตรที่เข้มแข็งดึงดูดนักลงทุน บอกกระตุ​้นเศรษฐกิจ​แจกเงินหมื่นเฟส​ 2 พุ่งเป้าเงินสะพัด ลั่น​จุดยืนไทยวางตัวเป็นทูตสันติภาพ พร้อมปรับตัวตามนโยบาย “ทรัมป์”

วางระเบิด 4 ลูก เกาะกลางถนนหน้าโรงเรียน จ.นราธิวาส

เช้ามืดวันนี้ (21 พ.ย.) เกิดระเบิดขึ้นอีก 4 ลูก บริเวณเกาะกลางถนนหน้าโรงเรียนบ้านฮูแตทูวอ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส เบื้องต้นไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน