กรุงเทพฯ 18 ต.ค.- กอร.ฉ.แจ้งประกาศห้ามใช้เส้นทางคมนาคม อาคาร หรือสถานที่ ปิด 10 สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และ 5 สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ตั้งแต่เวลา 14.30 น. จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
วันที่ 18 ต.ค.63 กอร.ฉ.เปิดเผยว่าตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชน และมิให้เกิดความเดือดร้อน แก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ อาศัยอานาจตามความในข้อ ๓ และข้อ ๔ ของข้อกาหนดออกตามความใน มาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และข้อ ๕ แห่งประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกาหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จึงออกคาสั่งไว้ดังต่อไปน้ี
ข้อ ๑ ห้ามใช้หรือเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ดังต่อไปนี้ ตั้งแต่เวลา 14.30 น. จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือใช้ในภารกิจของทางราชการ
(1) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สายสุขุมวิท ได้แก่ สถานีพหลโยธิน 24 สถานีห้าแยกลาดพร้าว สถานีหมอชิต สถานีอโศก สถานีอุดมสุข และสถานีบางนา
(2) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สายสีลม ได้แก่ สถานีช่องนนทรี สถานีสุรศักดิ์ สถานีกรุงธนบุรี และสถานีวงเวียนใหญ่
(3) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สายสีน้าเงิน ได้แก่ สถานีหัวลำโพง สถานีลุมพินี สถานีสุขุมวิท สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร
(4) ทางเชื่อมระหว่างตึกหรือทางเดินระหว่างอาคารสูง (Skywalk) ได้แก่ ทางเชื่อมต้ังแต่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ห้าแยกลาดพร้าวถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีพหลโยธิน และทางเชื่อมตั้งแต่ บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สถานีอโศกถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สุขุมวิท
ทั้งนี้ กอร.ฉ.เน้นย้าการปฏิบัติในห้วงเวลานี้เพิ่มเติมว่า เนื่องด้วยช่วงที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขต กทม. ซึ่งใช้อำนาจตามพระราชกาหนดการบริหารราชการสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 มิใช่ช่วงสถานการณ์ปกติ กอร.ฉ.ขอย้าว่า การบังคับใช้กฎหมายในช่วงเวลานี้กับกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะดังกล่าวข้างต้น ซึ่งไม่อนุญาตให้มีการชุมนุมที่มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะก่อให้เกิดความร้ายแรงใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหากมี การฝ่าฝืน กอร.ฉ.ก็จำเป็นต้องทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายต่อไป การปฏิบัติการของตำรวจดำเนินการโดยยึดหลักกฎหมายเป็นไปตามหลักสากลตามยุทธวิธีที่ทั่วโลกยอมรับ โดยมุ่งสร้างสมดุลระหว่างการรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน .-สำนักข่าวไทย