fbpx

ตำรวจ บช.ปส.แถลงผลปิดล้อมตรวจค้นเครือข่ายยาเสพติดทั่วประเทศ

บช.ปส. 3 พ.ค. – พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. แถลงผลปิดล้อมตรวจค้นเครือข่ายยาเสพติดทั่วประเทศ ระหว่าง 10-30 เม.ย.67 ยึดทรัพย์สิน 1,520 รายการ มูลค่า 369 ล้านบาท


พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร.) พร้อมด้วย พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส., พล.ต.ท.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย ผบช.ปส., พล.ต.สมพงษ์ ใจจา รอง ผอ.ศปป.2.กอ.รมน. และตำรวจ บช.ปส. ร่วมกันแถลงผลการปิดล้อมตรวจค้นเครือข่ายยาเสพติดรายสำคัญ 300 เครือข่ายทั่วประเทศ ในห้วงระหว่างวันที่ 10-30 เม.ย.67 จับกุมผู้ต้องหา 465 ราย ยึดทรัพย์สิน 1,520 รายการ รวมมูลค่ากว่า 369 ล้านบาท และแถลงผลการปฏิบัติของตำรวจปราบปรามยาเสพติดจับกุมเครือข่ายยาเสพติด 8 เครือข่าย

พล.ต.ท.สำราญ กล่าวว่า การปราบปรามยาเสพติดในทุกพื้นที่เป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่เน้นการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด เพื่อตัดวงจรและท่อน้ำเลี้ยง รวมทั้งทำลายเครือข่ายยาเสพติดทุกระดับทั้งระบบ ประกอบกับนโยบาย ของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. และ รรท.ผบ.ตร. ในฐานะ ผอ.ศอ.ปส.ตร. ให้ทุกหน่วยทำงานเชิงรุกปราบปรามจับกุม ผู้ค้ายาเสพติดในทุกพื้นที่และสืบสวนขยายผล ทุกคดี เพื่อยึดอายัดทรัพย์สินที่ได้มาจากการค้ายาเสพติดทั้งของผู้ค้ายาเสพติดเอง รวมทั้งผู้ช่วยเหลือและสนับสนุนเครือข่ายทั้งหมดมาตรวจสอบ


สำหรับผลการปิดล้อมตรวจค้นเครือข่ายยาเสพติดรายสำคัญ 300 เครือข่ายทั่วประเทศ ในห้วงระหว่างวันที่ 10-30 เม.ย.67 ซึ่งหน่วยที่ปฏิบัติการประกอบด้วย ตำรวจภูธรภาค 1-9, กองบัญชาการตำรวจนครบาล, กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และเจ้าหน้าที่จาก ป.ป.ส. ร่วมปฏิบัติในทุกพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเข้าตรวจค้น 703 เป้าหมาย และเป้าหมายจับ 209 หมายจับ ผลการปิดล้อมสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ 142 คดี 143 คน จับกุมคดียาเสพติดรวม 421 คดี ผู้ต้องหา 465 คน ตรวจยึดยาเสพติดคือยาบ้ากว่า 11 ล้านเม็ด, ไอซ์ 936 กิโลกรัม, เคตามีน 0.591 กิโลกรัม, เฮโรอีน 22 กิโลกรัม, ยาอี 2 เม็ด และอิริมินไฟท์ 80 เม็ด ตรวจยึดอายัดทรัพย์สิน ได้แก่ เงินสด, อาวุธปืน, เครื่องกระสุนปืน, สิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดิน/ที่ดิน, ทองรูปพรรณ, รถยนต์, รถจักรยานยนต์, โทรศัพท์ และอื่น ๆ รวมตรวจยึดทรัพย์สินทั้งสิ้น 1,520 รายการ รวมมูลค่า 369,765,953 ล้านบาท

พล.ต.ท.สำราญ กล่าวว่า จากผลการปฏิบัติในห้วง 20 วัน ของการปิดล้อมตรวจค้นเครือข่าย ยาเสพติดรายสำคัญ 300 เครือข่าย จะเห็นว่าตำรวจทั่วประเทศได้รุกอย่างหนักเป็นรูปธรรม ทำจริง จับจริง และยึดจริง จนทำให้เครือข่ายยาเสพติดรายสำคัญที่กระจายอยู่หลายพื้นที่สั่นสะเทือน โดยในขณะนี้สำนักตำรวจแห่งชาติ มีนโยบายเน้นการปราบปราม ผู้ค้ารายย่อยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับประชาชนในชุมชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าผลการดำเนินการด้านการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ในห้วง 7 เดือน ที่ผ่านมา (ต.ค.66- เม.ย.67) สามารถจับกุมผู้ค้ายาเสพติดได้ถึง 61,196 ราย เพิ่มขึ้นจาก ปีที่แล้ว จำนวน 15,976 ราย หรือเพิ่มขึ้น 35.33 % ขณะเดียวกันได้เน้นการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติด ทำให้สามารถสกัดกั้น จับกุมยาบ้าปริมาณ 100,000-500,000 เม็ด จับกุมได้ 149 คดี เพิ่มขึ้น 21 คดี คิดเป็น 16.41%, ยาบ้าตั้งแต่ 500,000 เม็ด จับกุมได้ 137 คดี เพิ่มขึ้น 52 คดี คิดเป็น 61.18% ทั้งนี้ สามารถตรวจยึดยาบ้ารวม 522,555,662 เม็ด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 166 ล้านเม็ด คิดเป็น 47.56%, ยาอี 115,665 เม็ด เพิ่มขึ้น 15,514 เม็ด คิดเป็น 15.49 %, ยึดไอซ์ 8,407 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 390 กิโลกรัม คิดเป็น 4.84%, ยึดคีตามีน 3,807 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 879 กิโลกรัม คิดเป็น 30.02%, ยึดเฮโรอีน 649.27 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 223 กิโลกรัม คิดเป็น 52.33% และ ยึดโคเคน 20 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม คิดเป็น 95.32 % รวมทั้งเน้นการยึดทรัพย์สิน ซึ่งสามารถตรวจยึดทรัพย์สินรวมมูลค่า 4,862,700,747 บาท

ด้าน พล.ต.ท.คีรีศักดิ์ กล่าวว่า ในจำนวนนี้มีปฏิบัติการสำคัญของของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ที่สามารถจับกุมเครือข่ายรายใหญ่ได้ทั้งหมด 8 เครือข่าย เป็นเครือข่ายที่มียาบ้ามากกว่า 2 ล้านเม็ดมากถึง 6 เครือข่าย จับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งหมด 22 คน ตรวจยึดยาบ้า 32 ล้านเม็ด ไอซ์ 4.5 กิโลกรัม และทรัพย์สินอื่นๆ รวมมูลค่าประมาณ 5,600,000 บาท คาดว่าจะสามารถขยายผลยึดทรัพย์ได้เพิ่มเติมอีกถึงกว่า 50 ล้านบาท พร้อมยืนยันว่า การสกัดกั้นจับกุมยาเสพติดทั้งรายย่อยและรายใหญ่ในแต่ละพื้นที่มากขึ้น จะส่งผลให้การลำเลียงยาเสพติดทำได้ยากขึ้น นำไปสู่การลดความต้องการซื้อและขาย และลดปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชนได้ จึงคาดว่าจะสามารถลดความต้องการขายลงได้ภายใน 2-3 ปีนี้


ด้าน พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวว่า จากการประกาศนโยบายซีลพื้นที่ชายแดนตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 จนถึงปัจจุบันสามารถจับกุม สกัดกั้น และตรวจยึดยาเสพติดที่ลักลอบลำเลียงเข้ามาตามชายแดนได้เพิ่มมากขึ้นถึง 1 เท่าตัว และเร็ว ๆ นี้จะขออนุมัติบอร์ด ป.ป.ส. เพิ่มพื้นที่ซีลชายแดน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เช่น จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา เลย บึงกาฬ หนองคาย มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ยาเสพติดทะลักเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น และต้องดำเนินการควบคู่ไปกับโครงการเด็ดปีกผู้ค้ารายย่อย เพื่อลดการกระจายยาเสพติดในชุมชนซึ่งพบว่าสามารถจับกุมได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 46 จากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา

สำหรับการปราบปรามยาเสพติดในห้วง 7 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.66-1 พ.ค.67 กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ได้จับกุมขบวนการค้ายาเสพติดรายสำคัญได้ 762 คดี ผู้ต้องหา 1,080 คน ของกลางยาบ้า 220,458,033 เม็ด, ไอซ์ 4,822 กิโลกรัม, เฮโรอีน 262 กิโลกรัม, เคตามีน 1,971 กิโลกรัม และยาอี 550 เม็ด ยึดอายัดทรัพย์สินไว้เพื่อตรวจสอบมูลค่าประมาณ 1,097 ล้านบาท. -419 -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง