เตือนภัย SMS แอบอ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

กทม. 7 เม.ย.-ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัย SMS แอบอ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าดูแลปัญหาภัยแล้ง

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ส่งข้อความสั้น (SMS) พร้อมโทรศัพท์ไปยังประชาชนแจ้งว่าจะคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า แล้วหลอกลวงให้แอดไลน์ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือโอนเงินออกจากบัญชี


ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่า พบผู้เสียหายหลายรายได้รับข้อความสั้น (SMS) จากมิจฉาชีพซึ่งแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แจ้งว่า ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืน เพื่อช่วยเหลือประชาชนตามมาตรการเร่งด่วน เมื่อผู้เสียหายกดลิงก์ที่แนบมากับข้อความดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่มิจฉาชีพปลอมขึ้นมา จากนั้นมิจฉาชีพจะสอบถามรายละเอียดต่างๆ เริ่มจากสอบถามว่าได้รับการแจ้งเตือนมาจากช่องทางใด แจ้งผู้เสียหายว่าจะได้รับเงินประกันคืนในอัตราตั้งแต่ 2,000 – 6,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์ที่ใช้ สอบถามว่าโทรศัพท์ที่ใช้งานใช้ระบบปฏิบัติการ Android หรือ IOS พร้อมทั้งขอหมายเลขโทรศัพท์เพื่อติดต่อกลับ เมื่อตอบคำถามเสร็จสิ้น จะมีหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยโทรมายังผู้เสียหาย อ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แล้วทำการส่งลิงก์ทางไลน์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปลอม อ้างว่าเป็นแอปพลิเคชันเวอร์ชันใหม่ล่าสุด สามารถตรวจสอบปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ได้ในแต่ละวัน โดยมีการขอสิทธิ์ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล .apk) มีการหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก จำนวนหลายๆ ครั้ง เพื่อหวังให้ผู้เสียหายกรอกรหัสชุดเดียวกับรหัสเข้าถึง หรือทำธุรกรรมการเงินของแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย รวมไปถึงขอสิทธิ์ในการควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ เช่น ดูและควบคุมหน้าจอ ดูและดำเนินการ เป็นต้น โดยในขั้นตอนนี้มิจฉาชีพจะแสร้งหวังดีสอนผู้เสียหายว่าทำอย่างไร โดยการโทรศัพท์มาแจ้งวิธีการด้วยตนเอง กระทั่งเมื่อมิจฉาชีพได้สิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์หรือโทรศัพท์มือถือแล้ว จะทำการล็อกหน้าจอโทรศัพท์ ทำให้เสมือนโทรศัพท์ค้าง ซึ่งมักจะแสดงข้อความว่า อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ ห้ามใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทำให้มิจฉาชีพสามารถนำรหัสที่ผู้เสียหายเคยกรอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ทำการโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหาย

โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า การหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าวยังคงเป็นการหลอกลวงในรูปแบบเดิมๆ เพียงแต่มิจฉาชีพจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน และเปลี่ยนเนื้อหาไปตามวันเวลา และสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งว่าได้รับสิทธิ หรือได้รับเงินคืน ให้อัปเดตข้อมูล โดยในขั้นตอนสุดท้ายจะหลอกลวงให้เหยื่อกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่แอบอ้าง ที่ผ่านมาก็ปรากฏในหลายๆ หน่วยงาน มิจฉาชีพจะอาศัยความไม่รู้ และความโลภ ของประชาชนเป็นเครื่องมือ ใช้ความสมัครใจของเหยื่อให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม มีการใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงาน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ


อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ประกาศยกเลิกการส่งข้อความสั้น (SMS) หรือส่งอีเมลไปยังประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงิน หรือธนาคารต่างๆ ทั้งนี้ฝากย้ำเตือนไปยังประชาชน ไม่ว่ามิจฉาชีพจะมาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ให้ระมัดระวังและมีสติอยู่เสมอ โดยหากพบเห็นข้อความสั้น (SMS) หรือลิงก์ ในลักษณะดังกล่าวให้แจ้งเตือนไปยังบุคคลใกล้ชิด และหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานนั้นๆ ให้ช่วยตรวจสอบทันที เพื่อลดการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

​ทั้งนี้ ขอฝากประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงแนวทางการป้องกัน ดังนี้
​1.ไม่กดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือที่ส่งมาทางสื่อสังคมออนไลน์ ไม่กดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่างๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ ให้รางวัล หรือโปรโมชันต่างๆ
2.หากได้รับโทรศัพท์จากหมายเลขที่ไม่คุ้นเคย และมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ให้ขอชื่อนามสกุล และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับของเจ้าหน้าที่ โดยให้แจ้งว่าจะติดต่อกลับไปภายหลัง
3.ตรวจก่อนว่ามาจากหน่วยงานนั้นๆ จริงหรือไม่ โดยการโทรศัพท์ไปสอบถามผ่านหมายเลขคอลเซ็นเตอร์ หรือผ่านเว็บไซต์ทางการของหน่วยงานนั้น โดยตรง รวมถึงตรวจสอบว่ามีการประกาศแจ้งเตือนการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวหรือไม่
4.ระวัง LINE Official Account ปลอม โดยสังเกตบัญชีที่ผ่านการรับรองจะมีสัญลักษณ์โล่สีเขียว หรือโล่สีน้ำเงิน หากเป็นโล่สีเทาหรือไม่มีโล่เลยจะเป็นบัญชีทั่วไปยังไม่ได้ผ่านการรับรอง ต้องตรวจสอบยืนยันให้ดีเสียก่อน
5.ไม่ติดตั้งโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันที่ผู้อื่นส่งมาให้โดยเด็ดขาด แม้จะเป็นโปรแกรมที่รู้จักก็ตาม เพราะอาจเป็นแอปพลิเคชันปลอม โดยหากต้องการใช้งานให้ทำการติดตั้งผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น
6.ไม่อนุญาตให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก หรือไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย ไฟล์นามสกุล .Apk
7.ไม่อนุญาตให้เข้าถึงอุปกรณ์ และควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถืออย่างเด็ดขาด
8.ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงินใดๆ ลงในลิงก์ หรือแอปพลิเคชันในลักษณะดังกล่าวโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรหัสผ่าน 6 หลัก ที่ซ้ำกับรหัสแอปพลิเคชันของธนาคารต่างๆ
9.หากท่านติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมแล้ว ให้รีบทำการ Force Reset หรือการบังคับให้อุปกรณ์นั้นรีสตาร์ต (ส่วนใหญ่เป็นการกดปุ่ม Power พร้อมปุ่มปรับเสียงค้างไว้) ในกรณีเกิดอาการค้างไม่ตอบสนอง หรือเปิดโหมดเครื่องบิน (Airplane Mode) หรือปิดเครื่องเพื่อตัดสัญญาณไม่ให้โทรศัพท์สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ถอดซิมการ์ดโทรศัพท์ออก หรือทำการปิด Wi-fi Router
10.อัปเดตระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Taiwanese actress Barbie Hsu, who died of influenza at 48 sepia

“ซันไช่” นางเอกจาก F4 ซีรีส์ดังไต้หวันเสียชีวิตแล้ว

ไทเป 3 ก.พ.- ต้าเอส หรือที่ผู้ชมรู้จักในบทบาท “ซันไช่” นางเอกจากเรื่องรักใสใส หัวใจสี่ดวง (Meteor Garden) ซีรีส์ดังของไต้หวันในช่วงปี 2544 เสียชีวิตในวัย 48 ปี เพราะอาการแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ ต้าเอสหรือบาร์บี สวี มีชื่อจริงว่า สวี ซีหยวน เป็นที่รู้จักไปทั่วเอเชียจากซีรีส์ดังที่คนมักเรียกกันสั้น ๆ เอฟ 4 (F4) มีข่าวลือแพร่สะพัดในโลกออนไลน์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ว่า เธอเสียชีวิตแล้ว และยิ่งเป็นกระแสหนักขึ้นไปอีกเมื่อนายหวัง เสี่ยวเฟย อดีตสามีที่เป็นนักธุรกิจได้เปลี่ยนรูปโพรไฟล์ในสื่อสังคมออนไลน์เป็นสีดำ และในเช้าวันนี้น้องสาวของเธอ สวี ซีตี้ ที่รู้จักในวงการบันเทิงว่า เสี่ยวเอส ยืนยันด้วยการส่งถ้อยแถลงถึงสถานีโทรทัศน์ทีวีบีเอส นิวส์ (TVBS News) ว่าพี่สาวของเธอถึงแก่กรรมเพราะปอดอักเสบที่เป็นอาการแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ ต้าเอสเกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เริ่มเข้าวงการในฐานะศิลปินคู่กับเสี่ยวเอสในชื่อวง เอสโอเอส  “S.O.S” เมื่อปี 2537 เธอมีลูก 2 คนกับอดีตสามี […]

“เต้ มงคลกิตติ์” หอบกล้องวงจรปิด 34 จุดคดี “แตงโม” มอบดีเอสไอ

นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าพบ พ.ต.ต.ณฐพล ดิษยธรรม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนข้อเท็จจริงคดีการเสียชีวิตของ น.ส.ภัทรธิดา (นิดา) พัชรวีระพงษ์ หรือแตงโม เพื่อมอบหลักฐานและให้ข้อมูลดีเอสไอ หลังรับเป็นเลขสืบสวนที่ 20/2568

“อนุทิน” ยังไม่รู้ ปม “โจ้มหาเฮง” แจ้งความเอาผิดคุณนายผู้ว่าฯ เบี้ยวค่าสลาก

“อนุทิน” บอกยังไม่รู้ ปม “โจ้มหาเฮง” แจ้งความเอาผิดคุณนายผู้ว่าฯ เบี้ยวเงินค่าสลาก ชี้หากจริง ผู้ว่าฯ เหนื่อยแน่

ข่าวแนะนำ

ตร.เชื่อชิงทอง 113 บาท ก่อเหตุคนเดียว วางแผนมาอย่างดี

เหตุคนร้ายชิงทองในร้านทองกลางห้างดัง ย่านลำลูกกา จ.ปทุมธานี ได้ทองรูปพรรณ 113 บาท มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท ตำรวจเชื่อคนร้ายก่อเหตุเพียงคนเดียว และวางแผนมาเป็นอย่างดี

บึ้มสนั่นโรงพัก! มือมืดซุกระเบิดใต้รถกระบะของตำรวจ

2 เหตุไม่สงบ จ.นราธิวาส คนร้ายซุกระเบิดรถเจ้าหน้าที่ก่อนจุดบึ้ม ขณะจอดที่ สภ.ศรีสาคร ส่วนที่ อ.ยี่งอ ไฟไหม้รถปลัดอำเภอ เร่งตรวจสอบเอี่ยวป่วนใต้หรือไม่

ระงับจ่ายไฟ

“ภูมิธรรม” สั่งระงับจ่ายไฟฟ้าชายแดน ยันไม่ต้องเข้า ครม.

“ภูมิธรรม” ใช้อำนาจรองนายกฯ ความมั่นคง สั่งระงับจ่ายไฟฟ้าชายแดน ยันทำได้ทันทีไม่ต้องเข้า ครม. พร้อมเปิดระเบียบ กฟภ.สั่งตัดไฟฟ้าเองได้ หากพบกระทบความมั่นคง ลั่นหากหน่วยไหนไม่ทำตาม จะดึงตัวมาช่วยราชการ ชี้ไม่ใช่แม่พระใจดี ที่จะนิ่งเฉยได้ หากเมียนมาไม่ดำเนินการภายใน ก็ต้องรับผลกระทบ