fbpx

คปภ.หนุนเกษตรกรทำประกันข้าวนาปี 65/66

กาญจน์บุรี 22 มิ.ย.- คปภ.หนุนเกษตรกรทำประกันข้าวนาปี 65/66 เดินหน้าเติมความรู้ประกันภัย ใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงสู้ภัยธรรมชาติ ตั้งเป้าหมาย 29 ล้านไร่


นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า หลังจาก ครม. เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2565 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อดำเนินโครงการต่อเนื่องจากปี 2564 เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปี มีเครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ กำหนดเป้าหมายรวม 29 ล้านไร่ จากปี 64 จำนวน 38 ล้านไร่ รัฐบาลสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัย 1,925 ล้าบาท รวมทั้งโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565 จำนวน 2.12 ล้านไร่ รัฐบาลสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัย 224 ล้านบาท

สำนักงาน คปภ. สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้เกษตรกรเห็นถึงความสำคัญของการทำประกัน เพื่อถ่ายทอดความรู้ต่อให้กับเกษตรกร จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 342,640 ไร่ มีการทำประกันภัย จำนวน 201,438 ไร่ หรือคิดเป็นการเข้าถึงการประกันภัย ร้อยละ 58.79 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่เพาะปลูก 66,896 ไร่ และมีการทำประกันภัย 5,548 ไร่ คิดเป็นการประกันภัยร้อยละ 8.29 นับว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเริ่มโครงการในปี 2563 ถึง 10 เท่า คปภ. ยังต้องศึกษากรณีเช่าพื้นที่เพื่อเพาะปลูกข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เข้าสู่ระบบประกันภัย รวมถึงกรณีการทำประกันภัยสำหรับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ยางพารา และสับปะรด เพื่อให้การค้ำประกันเพิ่มเติม


เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มว่า การทำประกันภัยข้าวนาปี จะให้ความคุ้มครองกรณีต้นข้าวได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ 1. ภัยน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก 2. ภัยแล้ง ฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง 3. ภัยลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น 4. ลูกเห็บ 5. ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง 6. ภัยไฟไหม้ และ 7. ภัยจากช้างป่า รวมไปถึงภัยเพิ่มเติมอื่น ได้แก่ ภัยศัตรูพืช และโรคระบาด โดยให้ความคุ้มครอง 1,190 บาท/ไร่ และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดให้ความคุ้มครอง 595 บาท/ไร่ สำหรับชาวนา ลูกค้า ธ.ก.ส. เพาะปลูกในทุกโซนพื้นที่ คิดเบี้ยประกันภัย 99 บาท/ไร่ โดยรัฐบาลกับ ธ.ก.ส.จ่ายเบี้ยประกันภัยให้ฟรี ส่วน ชาวนาที่ไม่ใช่ลูกค้า ธ.ก.ส. ต้องการทำประกันภัยเพิ่มเติม คิดเบี้ยประกันภัย ตามความเสี่ยงโดยมี 3 โซน 3 สี ได้แก่ โซนสีเขียว 99 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง 199 บาท/ไร่ และโซนสีแดง 218 บาท/ไร่ แต่รัฐบาลจะช่วยสนับสนุน โดยจ่ายเบี้ยประกันภัย 59.40 บาท/ไร่ ส่วนที่เหลือเกษตรกรจะต้องจ่ายเอง คือโซนสีเขียว 39.60 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง 139.60 บาท/ไร่ และโซนสีแดง 158.60 บาท/ไร่

ส่วนเกษตรกรรายใด ต้องการได้รับความคุ้มครองส่วนเพิ่มจากความคุ้มครองพื้นฐาน ทั้งในส่วนภัยธรรมชาติ 7 ภัย ซึ่งคุ้มครอง 240 บาท/ไร่ และภัยศัตรูพืชและโรคระบาด คุ้มครอง 120 บาท/ไร่  สามารถจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมเองทั้งหมด ดังนี้ โซนสีเขียว จ่ายเบี้ยประกันภัย 27 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง จ่ายเบี้ยประกันภัย 60 บาท/ไร่ และโซนสีแดง จ่ายเบี้ยประกันภัย 110 บาท/ไร่ ดังนั้น ถ้าหากปลูกข้าวนาปีและไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. เกษตรกร จังหวัดกาญจนบุรี ต้องรีบไปซื้อประกันภัยภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ สำหรับเกษตรในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดการซื้อประกันภัยไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

ในส่วนของการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้น จะได้รับความคุ้มครอง 7 ประเภทภัยเหมือนกัน แต่มีวงเงินความคุ้มครองสูงกว่าเล็กน้อย (เพราะต้นทุนการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงกว่าข้าวนาปี) โดยความคุ้มครองพื้นฐานภัยธรรมชาติ 7 ภัย คุ้มครอง 1,500 บาท/ไร่ และภัยศัตรูพืชและโรคระบาดคุ้มครอง 750 บาท/ไร่ สำหรับชาวนาที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกของ ธ.ก.ส. และเพาะปลูกในทุกโซนพื้นที่ เบี้ยประกันภัย 160 บาท/ไร่ โดยรัฐบาลกับ ธ.ก.ส.จ่ายเบี้ยเป็นลูกค้าประกันภัยให้เช่นเดียวกับประกันภัยข้าวนาปี แต่ถ้าเป็นเกษตรกรที่ไม่ใช่ลูกค้า ธ.ก.ส.หรือลูกค้า ธ.ก.ส.ที่กู้เงินบางส่วน และประสงค์จะทำประกันภัยเพิ่มเติม เบี้ยประกันภัยก็จะมีอัตราที่แตกต่างกันตามความเสี่ยงโดยมี 3 โซน 3 สี ได้แก่ โซนสีเขียว (ความเสี่ยงต่ำ) 150 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง (ความเสี่ยงปานกลาง) 350 บาท/ไร่ และโซนสีแดง (ความเสี่ยงสูง) 550 บาท/ไร่ แต่รัฐบาลจะช่วยสนับสนุน โดยจ่ายเบี้ยประกันภัย 90 บาท/ไร่ ส่วนที่เหลือเกษตรกรจะต้องจ่ายเอง คือ โซนสีเขียว 60 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง 260 บาท/ไร่ และโซนสีแดง 460 บาท/ไร่ ตามลำดับ


นอกจากนี้ ถ้าเกษตรกรมีความประสงค์ได้รับความคุ้มครองส่วนเพิ่ม ซึ่งจะได้รับความคุ้มครอง 240 บาท/ไร่ และภัยศัตรูพืชและโรคระบาด ซึ่งจะได้รับความคุ้มครอง 120 บาท/ไร่ เกษตรกรสามารถจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมเองทั้งหมด ดังนี้ โซนสีเขียว จ่ายเบี้ยประกันภัย 90 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง เบี้ยประกันภัย 100 บาท/ไร่ และโซนสีแดง จ่ายเบี้ยประกันภัย 110 บาท/ไร่  ซึ่งการทำประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูฝนได้สิ้นสุดการขายไปเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ดังนั้นเกษตรกรรายใดที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2 รอบ ยังสามารถซื้อประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565-15 มกราคม 2566

“เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถทำประกันภัยฤดูแล้งได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565-15 มกราคม 2566 เพื่อนำระบบประกันภัยใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ภัยจากศัตรูพืชหรือโรคระบาด โดยรัฐบาลจัดให้ฟรี ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ข้างต้น และหากเกษตรกรท่านใดต้องการข้อมูลความรู้ประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัย สามารถดำเนินการผ่านแอปพลิเคชัน “กูรูประกันข้าว” โดยดาวน์โหลดได้ง่าย ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือของท่านทุกระบบ เพื่อที่ท่านจะสามารถสืบค้นข้อมูล ตรวจสอบพื้นที่ความเสี่ยง รวมถึงติดตามสถานะการทำประกันภัยได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบรอง ผอ.โรงเรียนดัง หน.แก๊งค้ายา พบข้าราชการเป็นลูกค้าเพียบ

รวบหัวหน้าแก๊งค้ายาเป็น “รอง ผอ.” โรงเรียนดังย่านปากเกร็ด พร้อมสมุน ขยายผลพบลูกค้าเป็นข้าราชการอีกจำนวนมาก

คนไทย-คนจีนขับรถไล่ชนกันหน้าคลับดังเมืองพัทยา คาดหึงหวงสาวที่มาด้วย

รถตู้ 3 คัน และรถฟอร์จูนเนอร์ 1 คัน ขับไล่ชนกันไปมา บริเวณหน้าคลับแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา พบเป็นศึกระหว่างคนไทย 1 กลุ่ม และคนจีน 1 กลุ่ม สาเหตุคาดมาจากคนจีนหึงหวงแฟนสาวที่มาด้วย

ปัญหาต่างชาติในภูเก็ต ตอนที่ 3

ปัจจุบันการเข้ามาทำธุรกิจรถเช่าของต่างชาติที่ใช้คนไทยเป็นนอมินีในภูเก็ตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่รถของชาวต่างชาติในภูเก็ตก็มากขึ้นด้วย ปัญหานี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่โยงใยไปถึงเรื่องของภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว ไม่เฉพาะแค่ภูเก็ต แต่เป็นของเมืองไทยด้วย

ศาลอาญาทุจริตฯ ยกฟ้อง คุณหญิงพรทิพย์ และพวก ในคดี GT200

ศาลอาญาทุจริตฯ ยกฟ้อง “คุณหญิงพรทิพย์” และพวกรวม 10 คน ในคดีจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT200 ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ระบุไม่พบมีมูลความผิด ทุจริต มีการแสวงหาประโยชนแก่ตนเองและผู้อื่นโดยมิชอบ

ข่าวแนะนำ

การรถไฟฯ แจ้งเหตุขบวนรถธรรมดาที่ 233 (กรุงเทพ-สุรินทร์) ตกราง

28 มี.ค. – การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งเหตุขบวนรถธรรมดาที่ 233 (กรุงเทพ-สุรินทร์) ตกราง ส่งผลให้ขบวนรถเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ล่าช้า นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่า วันนี้ (28 มีนาคม 2567) เวลา 17.10 น. การรถไฟฯ ได้รับแจ้งเหตุขบวนรถธรรมดาที่ 233 (กรุงเทพ – สุรินทร์) ตกรางบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 254/7-9 ระหว่างสถานีโคกกรวด – สถานีภูเขาลาด จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากมีต้นไม้ล้มกีดขวาง ส่งผลให้ขบวนรถในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือเกิดความล่าช้า เบื้องต้นไม่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บหรืออันตรายแต่อย่างใด และได้สั่งให้ฝ่ายเกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการยกรถที่ตกรางดังกล่าว เพื่อให้สามารถเปิดการเดินรถในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือได้ตามปกติโดยเร็ว โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถยกขบวนรถที่ตกรางให้แล้วเสร็จ พร้อมเปิดใช้งานได้ตามปกติได้ภายในคืนนี้ ทั้งนี้ จำเป็นต้องขนถ่ายผู้โดยสาร จำนวน 2 ขบวน ดังนี้ การรถไฟฯ ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ ผู้โดยสารสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ โทรศัพท์ […]

ออกหมายเรียก “บิ๊กโจ๊ก” รอบ 3 หากไม่มา ชงศาลออกหมายจับ

คณะพนักงานสอบสวนชุดทำคดีเว็บพนันออนไลน์ “BNK Master” ออกหมายเรียก “บิ๊กโจ๊ก” รอบ 3 กำหนดเข้าพบ 1 เม.ย.นี้ หากยังไม่มาเตรียมขอศาลออกหมายจับ

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองแจงเหตุขัดข้อง ชิ้นส่วนตัวยึดรางร่วง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง แจงเหตุหยุดเดินรถและมีเศษวัสดุตกหล่น พบชิ้นส่วนตัวยึดรางร่วงหล่นลงมา ช่วงสถานีกลันตัน-สวนหลวง ร.9 มีรถยนต์ 9 คัน และจักรยานยนต์ 3 คัน ได้รับความเสียหาย ไม่มีผู้บาดเจ็บ

ให้ประกันตัว “จักรภพ” นัดพบพนักงานสอบสวน 22-23 เม.ย.

ตำรวจกองปราบฯ อนุญาตประกันตัว “จักรภพ เพ็ญแข” วางหลักทรัพย์ข้อหาละ 200,000 บาท นัดหมายพบพนักงานสอบสวน 22-23 เม.ย.นี้