เร่งผลิตน้ำจืดจากทะเลในพื้นที่มาบตาพุด–พัทยา

กรุงเทพฯ 15 มิ.ย.-สกพอ.เดินหน้าผลิตน้ำจืดจากน้ำทะล (Desalination) ในพื้นที่อีอีซี โดยใช้เป็นเทคโนโลยีเพื่อสร้างความมั่นคงต่อทรัพยากรน้ำที่จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเข้าสู่ระบบทั้งเพื่อการบริโภค ภาคเกษตรและการผลิตในอุตสาหกรรม


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 2/2565 วันพุธที่ 15 มิ.ย.65 โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน การประชุมฯ ว่า ที่ประชุม กบอ. รับทราบ ความคืบหน้าการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะล (Desalination) ในพื้นที่อีอีซี ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีเพื่อสร้างความมั่นคงต่อทรัพยากรน้ำที่จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเข้าสู่ระบบทั้งเพื่อการบริโภค ภาคเกษตรและการผลิตในอุตสาหกรรม โดยอีอีซี ได้ศึกษาร่วมกับ สทนช. และสถาบันขนส่งจุฬาลงกรณ์ฯ ถึงพื้นที่เป้าหมายในการติดตั้งระบบผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล 2 แห่ง ได้แก่ นิคมฯ มาบตาพุด และเมืองพัทยา ซึ่งคาดว่าในอีก 5 ปีหรือปี 2570 จะมีความจำเป็นต้องผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลบริเวณมาบตาพุด ไม่น้อยกว่า 200,000 ลบ.ม.ต่อวัน เพื่อรองรับการใช้ในพื้นที่อีอีซี และในปี 2580 จำเป็นต้องผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ไม่น้อยกว่า 300,000 ลบ.ม และเมื่อรวมกับแหล่งน้ำสำรอง รวมถึงบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ จะทำให้อีอีซี มีปริมาณน้ำเพียงพอ ต่อความต้องการใช้ในภาพรวม ทั้งนี้ การดำเนินการต่อไป อีอีซี สทนช. กนอ. และเมืองพัทยา จะร่วมกันหารือถึงแนวทางดำเนินการ การคัดเลือกเทคโนโลยี รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ที่ประชุม กบอ. ยังได้รับทราบ การยกระดับบริการด้านยีนบำบัด (Gene theapy) สำหรับโรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia) ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางทางกรรมพันธุ์ที่พบได้บ่อยในคนไทยและมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลต่อเนื่อง  เป็นภาระของผู้ปกครอง ครอบครัว และประเทศ ปัจจุบันมีโอกาสรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดได้ด้วยยีนบำบัด   แต่ยังอยู่ในระยะวิจัยทางคลินิกและคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เพื่อให้การใช้เทคโนโลยี ยีนบำบัดโรคธาลัสซีเมียมีต้นทุนที่เหมาะสม และประชาชนไทยสามารถเข้าถึงได้  สกพอ. มีความยินดีที่จะทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการวิจัยพัฒนาและผลิตยีนบำบัดในไทย และจะเตรียมพื้นที่สำหรับบริษัทที่ประสงค์จะลงทุนก่อสร้างศูนย์ผลิตอีกด้วย  โดยสำหรับภาคเอกชนนั้น BGI Research แสดงความสนใจที่จะมาดำเนินการวิจัยทางคลินิกสำหรับผลิตภัณฑ์ยีนบำบัดเพื่อรักษาโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย ซึ่ง สกพอ. จะได้ช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป


และการพัฒนาระบบนิเวศอากาศยานไร้คนขับ (UAS Ecosystem) หรือ “โดรน” ในพื้นที่อีอีซี โดยบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) ได้จัดทำแนวทางการพัฒนาที่จะเกิดการใช้ประโยชน์ครบมิติ อาทิ ด้านการเกษตร การถ่ายภาพ การขนส่งสินค้าและคน การสำรวจความปลอดภัย อีกทั้งจะขยายศักยภาพต่อยอดในด้านอื่นๆ โดยประเทศไทยคาดว่าจะมีการใช้โดรนมากถึง 700,000 ลำ ในเวลา 5 ปี และกว่า 80% จะใช้งานในพื้นที่อีอีซี ซึ่งจะสร้างประโยชน์และพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตามแนวคิดการสร้างเมืองการบิน (Aerotropolis) เชื่อมโยงระบบคมนาคมโครงสร้างพื้นฐานหลัก เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขนส่ง ลดต้นทุน ลดเวลา รวมทั้งต่อยอดไปยัง

อุตสาหกรรมการผลิต และการแพทย์ครบวงจร เพื่อยกระดับการให้บริการและร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่ New S Curve ในพื้นที่อีอีซี  แนวทางการพัฒนา โดรน ในพื้นที่อีอีซี ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) จัดการจราจรและบริหารห้วงอากาศ ผลักดันให้เกิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อีอีซี ลดขั้นตอนการประสานหลายหน่วยงาน บูรณาการให้เกิดความปลอดภัยทางการบินของประเทศ 2) ฝึกอบรมนักบินโดรน พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรที่รับรองจากสำนักงานการบินพลเรือน (กพท.) สร้างเครือข่ายนักบินโดรนที่มีคุณภาพ เกิดการจ้างงานและพัฒนาทักษะบุคลากรที่เชี่ยวชาญ3) ให้บริการ และพัฒนาท่าอากาศยานในพื้นที่ สนับสนุนการให้บริการเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ร่วมกับภาคเอกชน เช่นขนส่งสินค้า ขนส่งคน พัฒนาท่าอากาศยานโดรน รองรับการขนส่งคนในอนาคต 4) ผลิต ซ่อมบำรุง และตรวจสอบมาตรฐาน พัฒนาสู่ศูนย์กลางบริการอย่างเป็นทางการ ได้รับมาตรฐานของผู้ผลิตรายใหญ่ ที่ต้องการใช้ทักษะขั้นสูงในการผลิต ซ่อมแซม และดัดแปลง 5) ส่งเสริมนวัตกรรม และสร้างนวัตกร ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และซอฟต์แวร์พร้อมพัฒนาสนามทดสอบทดลอง เป็นพื้นที่ผ่อนปรนทางกฎหมาย และสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

เตือนน้ำโขงลด ขับเรือต้องระวัง

น้ำโขงที่ จ.หนองคาย ลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 1.20 เมตร พระธาตุกลางน้ำโผล่ชัด ชาวบ้านลงเรือสักการะขอพร คนเรือต้องขับเรือระมัดระวังมากขึ้น

สุราษฎร์ฯ คลื่นลมแรง น้ำทะเลหนุนสูงท่วมบ้าน-รีสอร์ต

ฝนตกหนัก-คลื่นลมแรง น้ำทะเลหนุนสูงซัดบ้านพัก-รีสอร์ต อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี พังเสียหาย 4 หลัง เตือนเรือประมงงดออกจากฝั่ง