ซีไอเอ็มบี ไทย คาด กนง. อาจขึ้นดอกเบี้ยปลายปี  

กรุงเทพฯ 5 พ.ค.-เฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็ว เงินเฟ้อพุ่งแรง ซีไอเอ็มบี ไทย ส่งสัญญาณคนไทยเตรียมแผน กนง.อาจปรับทิศทางขึ้นดอกเบี้ยเป็นปลายปีนี้จากเดิม คาดต้นปีหน้า


นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย 

และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย  กล่าวว่าจากการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 0.75% – 1.00%  เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงในรอบกว่า 40 ปี ในขณะที่อีกหลากหลายประเทศได้ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วหรือส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยในเวลาอันใกล้


แต่สำหรับประเทศไทยนั้น ยังเผชิญปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งแรงและรวดเร็ว ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)จึงส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยต่ำลากยาว โดยยังไม่ได้แสดงสัญญาณใดๆ ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาอันใกล้

“ผมเชื่อว่าทางธปท.คงกังวลในประเด็นเงินเฟ้ออยู่บ้าง แต่คงไม่อยากส่งสัญญาณอะไรที่จะทำให้ตลาดผันผวนจนกระทบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อไม่มีความชัดเจนในช่วงเวลาหรือสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยของไทย ผมจึงขอปรุงสูตรลับที่ทางแบงก์ชาติสงวนเอาไว้ไม่ได้เปิดเผย มาลองดูว่าจะสามารถชี้ให้นักลงทุนและผู้ประกอบการเห็นว่าควรเตรียมรับมือกับดอกเบี้ยขาขึ้นของไทยได้เมื่อไร” นายอมรเทพกล่าว

นายอมรเทพ มองว่าหากคณะกรรมการนโยบายการเงินจะขึ้นดอกเบี้ยจากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% ต้องอาศัยปัจจัย 4 ประการนี้หรืออย่างน้อยน่าจะมี 3 ใน 4 ข้อ


1.เศรษฐกิจฟื้นได้อย่างยั่งยืน  โดยเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบแรงจากการระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่รอบแรก ในขณะที่หลายประเทศฟื้นได้เร็วและขนาดเศรษฐกิจยืนเหนือระดับก่อนวิกฤติไปได้ตั้งแต่ปีก่อน แต่สำหรับประเทศไทยนั้น น่าจะใช้เวลาถึงไตรมาสแรกปีหน้ากว่าขนาดเศรษฐกิจจะยืนเหนือระดับก่อนวิกฤติหรือถึงจะเรียกว่าฟื้นได้  หากเศรษฐกิจไทยเริ่มขยายตัวได้ดีราว 4% ในครึ่งหลังปีนี้ถึงปีหน้า ธปท.ก็น่าจะเริ่มสะสมขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายได้ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือปัญหาเศรษฐกิจในอนาคต

2.เงินเฟ้อจากฝั่งอุปสงค์ – เงินเฟ้อเร่งแรงมาจากราคาน้ำมันและอาหารสด ซึ่งเป็นเงินเฟ้อมาจากฝั่งอุปทาน การจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงของฝั่งอุปสงค์จึงไม่น่าจะมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ทาง ธปท. น่าจะรอการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศเพื่อให้ราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้นและมีการกระจายไปยังหลากหลายหมวดสินค้า ก่อนตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

3.เงินไหลออกอย่างรวดเร็ว – การอ่อนค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาทตามแรงขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดทุนไทย หลังส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐกว้างมากขึ้นอย่างชัดเจน และอาจมีพฤติกรรมเก็งกำไรค่าเงินจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยนี้  ซึ่งหากธปท.มีความกังวลเรื่องเสถียรภาพค่าเงิน และการอ่อนค่าที่รวดเร็วของเงินบาทจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อแล้ว ทางธปท.ก็อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วกว่าคาด

4.เสถียรภาพตลาดการเงินสั่นคลอน   โดยเศรษฐกิจไทยอาจมีความเสี่ยงจากการที่อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน เช่นมีการเร่งกู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่ายจนหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง หรือมีการกลับมาเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่นักลงทุนสามารถได้ประโยชน์จากราคาที่อาจจะปรับสูงขึ้น ซึ่งนักลงทุนสามารถระดมทุนด้วยต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำผ่านตลาดทุนหรือการกู้ยืมเงินผ่านสถาบันการเงิน โดยหากธปท. เห็นสัญญาณดังกล่าวและเริ่มที่จะควบคุมได้ยากขึ้น ทางธปท.ก็อาจเริ่มส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยได้ 

ทั้งนี้ จากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น จะมีทั้งผู้ได้และเสียประโยชน์  โดยกลุ่มที่ได้ประโยชน์โดยเราประเมินกลุ่มธุรกิจแยกเป็น 2 กลุ่ม  คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์สามารถเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้นตามดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ผลกำไรของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น  และกลุ่มธุรกิจประกันชีวิต เพราะเงินเบี้ยประกันจากลูกค้า ส่วนใหญ่บริษัทประกันจะนำไปลงทุนในตราสารหนี้ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ก็จะทำให้บริษัทประกันมีแนวโน้มได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น รวมทั้งกลุ่มธุรกิจนำเข้าต่างๆ เช่น ธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ธุรกิจนำเข้าเครื่องจักร จากต้นทุนการนำเข้าที่อาจลดลง

ส่วนธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแบ่งออกเป็น  2 ระดับ คือ 

1.ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง  ได้แก่  ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ธุรกิจเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของกลุ่มเช่าซื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้หลักจากดอกเบี้ยรับจากการปล่อยสินเชื่อจะเป็นลักษณะการคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ (Fixed Rate) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ทำให้ภาระในการผ่อนชำระต่องวดของผู้กู้ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการอสังหาริมทรัพย์ลดลงได้ สำหรับธุรกิจอื่นๆ ที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบเช่นกัน เช่น ธุรกิจ Transportation ( land, sea and air), Private Construction, Construction materials, Energy , Movie  Theatre และ Media เป็นต้น   นอกจากนี้บางธุรกิจยังเสียเปรียบในการแข่งขันอีกด้วย เช่น car dealer(non-leading brands), department store(small size) เป็นต้น 

2. ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบระดับปานกลาง-น้อย จากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ได้แก่  ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน , ธุรกิจ warehouse rental in  eastern area, department store (large size), ธุรกิจดิสเคาน์สโตร์, ธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาง, ธุรกิจปาล์มน้ำมัน, ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม, ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค , ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และ ธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า(เครื่องปรับอากาศ)  เพราะแม้จะได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและการแข่งขันที่รุนแรงระดับหนึ่ง  แต่ธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการใช้บริการและสินค้าที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการแข่งขัน

“หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง ทางธปท. อาจไม่ต้องรอจนขนาดเศรษฐกิจยืนได้เหนือกว่าช่วงวิกฤติโควิดก็น่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้  และสัญญาณเงินเฟ้อที่ยังมีระดับสูงในปีหน้าประกอบกับความเสี่ยงในพฤติกรรมเก็งกำไรที่น่าจะมากขึ้น  ซึ่งหากคงอัตราดอกเบี้ยต่ำลากยาวและดำเนินนโยบายการเงินสวนทางกับธนาคารกลางประเทศสำคัญ ก็อาจทำให้ตลาดทุนไทยมีความเสี่ยงจากทุนเคลื่อนย้ายได้  โดยเฉพาะเมื่อเฟดเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นนี้ ผมจึงมองว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ทางธปท. จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยได้ในช่วงปลายปีนี้ซึ่งเร็วกว่าที่เราคาดไว้ก่อนหน้าว่าจะเป็นในช่วงต้นปีหน้า”นายอมรเทพกล่าว

อีกทั้งทาง ธปท.อาจส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วกว่านั้นหากสูตรสำเร็จการขึ้นดอกเบี้ยทั้ง 4 ข้อกดดันหรือเอื้อให้เกิดการขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว ซึ่งหากเป็นการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจไทยพร้อม การขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ไม่น่าส่งผลให้เกิดปัญหาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และน่าจะช่วยลดแรงกดดันต่อราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นได้   แต่หากว่าทางธปท. ต้องฝืนขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดปัญหาอื่นๆ เช่น เงินเฟ้อเร่งแรง เงินไหลออกทำบาทอ่อนค่า หรือมีพฤติกรรมเก็งกำไรจนยากที่จะควบคุมแล้ว การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรูปแบบนั้นอาจจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่แทบจะขยายตัวต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้ กำลังซื้อของครัวเรือนน่าจะยิ่งแผ่ว และอาจกระทบต่อการจ้างงานและภาคบริโภคต่อเนื่องได้ ซึ่งนโยบายการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่อาจแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะจุด ต่างจากนโยบายการคลังที่สามารถบรรเทาปัญหา หรือเร่งเศรษฐกิจในภาคส่วนเศรษฐกิจที่เฉพาะเจาะจงได้ ซึ่งหากทางธปท. จะมองหานโยบายการเงินอื่นที่ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ย ก็อาจใช้การกำกับสถาบันการเงิน หรือการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน หรือการร่วมมือกับกระทรวงการคลังในการใช้มาตรการภาษีเพื่อดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย แต่ไม่ว่าจะทำเช่นไรก็ล้วนมีผลกระทบต่อตลาดการเงินและตลาดทุน -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

จำคุกสมรักษ์คำสิงห์

ศาลสั่งคุก 2 ปี 13 เดือน 10 วัน “สมรักษ์” พยายามข่มขืนสาววัย 17

ศาลจังหวัดขอนแก่น พิพากษาจำคุก “สมรักษ์ คำสิงห์” อดีตนักมวยฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก เป็นเวลา 2 ปี 13 เดือน 10 วัน พร้อมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 170,000 บาท คดีพยายามข่มขืนเด็กสาววัย 17 ปี

Chinese foreign ministry in January 2025

ถอดบทเรียนจากจีน แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 จริงจัง

ปักกิ่ง 23 ม.ค. – สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนในไทยอยู่ในขณะนี้ หลายฝ่ายกำลังหาทางแก้ไขด้วยการมุ่งไปที่ต้นตอที่ทำให้เกิดฝุ่น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี พ.ศ. 2542 ประชากรโลกมากถึง 92% ได้รับฝุ่น PM2.5 ในระดับความเข้มข้นสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด และถ้ารัฐบาลทุกประเทศไม่เร่งแก้ปัญหาอย่างเอาจริงเอาจัง ภายในอีก 7 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ. 2573 คุณภาพชีวิตคนทั่วโลกจะยิ่งเลวร้ายสุดขีด เพราะปริมาณ PM2.5 จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 50% และประเทศที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า หากรัฐบาลตั้งใจจริงจัง ทุ่มสรรพกำลังความพยายาม จะสามารถกำจัดปัญหาฝุ่นควันพิษได้อย่างแน่นอนนั่นก็คือ จีน   จีนเคยมีคนเสียชีวิตเพราะมลพิษในอากาศปีละหลายล้านคน แต่ทุกวันนี้แม้แต่ธนาคารโลกยังยกย่องจีนว่า เป็นแบบอย่างของความพยายาม สามารถพลิกฟ้าหม่นเพราะฝุ่น PM2.5 ให้กลับเป็นฟ้าใสได้สำเร็จ ความพยายามของเหมา เจ๋อตุง ผู้นำจีนที่มุ่งเปลี่ยนสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทำให้จำนวนโรงงานในจีนเพิ่มขึ้นทวีคูณภายใน พ.ศ. 2502 แน่นอนว่า นโยบายเศรษฐกิจของผู้นำจีนช่วยให้คนจีนหลายล้านหลุดพ้นจากขีดความยากจน แต่ก็ต้องแลกกับชีวิตและสุขภาพ เพราะควันพิษจากโรงงานทำให้ฝุ่น PM2.5 พุ่งในระดับเกินกว่าจะรับไหว กว่ารัฐบาลจะรู้ตัวว่าปัญหามาถึงขั้นวิกฤต […]

คึกคัก คู่รักจูงมือกันไปจดทะเบียนวันแรกกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผล

วันนี้กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ หลายคู่รักควงแขนไปจดทะเบียนสมรสกันชื่นมื่น ที่สยามพารากอน มีคู่รักที่ลงทะเบียนมาจดทะเบียนสมรสที่นี่กว่า 300 คู่

ผู้ป่วยเสียชีวิต

รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก-เสียชีวิต จากเหตุชายผิวสีคลุ้มคลั่ง

ผอ.รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก หรือเสียชีวิต จากเหตุต่างชาติผิวสีคลุ้มคลั่ง มีเพียงเจ้าหน้าที่ รพ.บาดเจ็บจากการถูกต่อยเล็กน้อย

ข่าวแนะนำ

เปิดรับการลงทุน

นายกฯ ย้ำบทบาทของไทยในเวทีโลก ที่ดาวอส พร้อมเปิดรับการลงทุน

นายกฯ ย้ำบทบาทของไทยในเวทีโลก ที่ดาวอส พร้อมเปิดรับการลงทุนสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ด้วยจุดแข็งด้านเกษตรกรรม Soft Power และอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน มุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและการค้าเสรี เร่งสร้างสภาพแวดล้อมทางการค้าที่เสรี เปิดกว้าง และยั่งยืน

ช้างหลุดเดินถนน

ระทึก! ช้างหลุดจากปางช้างเดินบนถนน รถเสียหาย 1 คัน

ระทึก! ควาญช้างและตำรวจเร่งติดตามช้างหลุดจากปาง เดินบนถนน ชนกระจกมองข้างรถยนต์เสียหาย 1 คัน สุดท้ายไปเจอเล่นน้ำอยู่ในลำธารอย่างสบายใจ

ฝุ่น กทม.

แดงเกือบทั้งกรุง คุณภาพอากาศวิกฤติ ฝุ่น PM 2.5 กระทบต่อสุขภาพ

คุณภาพอากาศกรุงเทพฯ วิกฤติต่อเนื่อง เช้านี้ฝุ่น PM 2.5 อยู่ระดับสีแดง ผลกระทบต่อสุขภาพ 67 พื้นที่ คุณภาพอากาศจะแย่แบบนี้ไปถึงสัปดาห์หน้า

วันประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียมวันแรก

วันนี้เป็นวันแรกที่กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ ใน กทม. มีการจัดงานวันสมรสเท่าเทียมอย่างยิ่งใหญ่ เฉลิมฉลองให้กับเส้นทางการต่อสู้อันยาวนานกว่าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ไม่ว่าเพศใดก็จะได้รับสิทธิการสมรสอย่างเท่าเทียมกัน