fbpx

ttb หนุนเอสเอ็มอีทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศผ่านดิจิทัล

3 พ.ค. – ทีเอ็มบีธนชาต ธนาคารแรกและธนาคารเดียว ส่งประสบการณ์ทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ยกระดับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก เพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้เอสเอ็มอีไทย


ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) แนะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจนำเข้าและส่งออก เตรียมรับมือเศรษฐกิจโลก เผชิญความผันผวนของค่าเงิน ด้วยดิจิทัลโซลูชันเต็มรูปแบบ ส่ง “บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน” (ttb multi-currency account) พร้อมกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อและบริการ ที่ตอบโจทย์การทำธุรกรรมการค้าต่างประเทศ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานให้ธุรกิจเอสเอ็มอีประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน

นางสาวสุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนำเข้าและส่งออก มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีเอสเอ็มอีเป็นฟันเฟืองสำคัญ แม้ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ธุรกรรมนำเข้าและส่งออกของเอสเอ็มอี ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 การค้าระหว่างประเทศรวม คิดเป็นสัดส่วน 120% ของ GDP แบ่งเป็น ส่งออก 62% และนำเข้า 58% ของ GDP ส่วนเอสเอ็มอีไทยมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมกันมากกว่า 67,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 11.70% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวม และล่าสุดตัวเลขการส่งออกของประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่ากว่า 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวถึง 16.23% โดยเป็นสัดส่วนของเอสเอ็มอีถึง 12%


ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ได้ประเมินภาพรวมธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของไทย ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2565 ว่ายังคงเติบโตได้ดี แม้ปัจจุบันจะมีปัจจัยในด้านอื่น ๆ ที่อาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เช่น ปัญหาการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน หรือราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจนำเข้าหรือส่งออก ยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านต้นทุนในการบริหารจัดการธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากความผันผวนของค่าเงินที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ทีเอ็มบีธนชาต จึงแนะนำให้ผู้ประกอบการติดตามสถานการณ์การเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด และควรหาตัวช่วยเพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน และช่วยลดขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ให้สะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งควรเตรียมความพร้อมด้านวงเงินสินเชื่อให้พร้อมหากมีโอกาสลงทุน หรือมีวงเงินไว้เสริมสภาพคล่องหากมีผลกระทบต่อธุรกิจ” นางสาวสุกัญญา กล่าว

นางสาวบุษรัตน์ เบญจรงคกุล หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจตลาดเงินและบริการธุรกรรมทางการเงิน ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) กล่าวว่า ผู้ประกอบการไทยยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนมากขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงการซื้อ-ขายหรือทำธุรกรรมต่าง ๆ ยังคงเน้นใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก ซึ่งเป็นสกุลเงินที่มีความผันผวนค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับสกุลเงินท้องถิ่น ทำให้ผู้ประกอบการแบกรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น จึงเริ่มหันมาซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยสกุลเงินท้องถิ่นมากขึ้น แต่ก็ยังมีความยุ่งยาก เนื่องจาก หนึ่งบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) รองรับได้หนึ่งสกุลเงิน ดังนั้นหากผู้ประกอบการทำธุรกิจโดยมีคู่ค้าหลายประเทศ บนหลายสกุลเงิน จำเป็นต้องเปิดบัญชี FCD หลายบัญชี ซึ่งอาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารหลายบัญชี


ทีเอ็มบีธนชาต จึงเป็นธนาคารแรก และธนาคารเดียวในประเทศไทย ที่ได้พัฒนา “บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน” (ttb multi-currency account) บัญชีที่ดีสุดเพื่อให้ผู้ประกอบเอสเอ็มอีสามารถทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้อย่างสะดวกและง่าย ผ่านประสบการณ์ออนไลน์เต็มรูปแบบ ยกระดับการใช้งานให้เป็นดิจิทัล ครบทุกขั้นตอน แบบ end-to-end ผ่าน 4 แนวคิดหลัก คือ
1.One Account – บัญชีเดียว รองรับได้มากถึง 11 สกุลเงินหลัก คือบัญชีเงินบาท และอีก 10 สกุลเงินหลักได้แก่ USD, EUR, GBP, AUD, JPY, CAD, CNY, SGD, CHF และ DKK
2.One Platform – เข้าถึงทุกบริการ จากทุกอุปกรณ์ ประสบการณ์เดียวกันทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ทำทุกธุรกรรม ได้ทุกที่ทุกเวลา
3.One to Control – ระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม โอนเงินได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงธุรกรรมด้านสินเชื่อ ติดตามอัตราแลกเปลี่ยนได้ตลอดเวลา พร้อมล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่ต้องการ
4.One to Command – สรุปรายงานของทุกบัญชี ทุกสกุลเงินได้ภายในหน้าเดียว (11 สกุลเงิน) พร้อมดาวน์โหลดเอกสารได้ง่าย ๆ สะดวก ไม่ยุ่งยาก สามารถสรุปทุกวงเงินสินเชื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ครบถ้วนในหน้าจอเดียว รวมทั้งเรียกดูข้อมูลและบัญชีของบริษัทในเครือได้ด้วย Group Company View

นอกจากนี้ ธนาคารยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อผู้นำเข้า หรือ OD for Importer สำหรับผู้ประกอบเอสเอ็มอี ที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารอยู่แล้ว โดยคุณสมบัติเด่น คือ การเบิกใช้วงเงินที่สะดวกและง่าย โดยใช้เพียงใบแจ้งหนี้ (Invoice) ก็สามารถเบิกใช้ได้แล้ว และโอนเงินออกชำระค่าสินค้าได้เลย ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งของธนาคาร อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถใช้วงเงิน OD for Importer เพื่อออก LC ได้ทันที และได้รับวงเงิน FX-Forward เพิ่ม โดยไม่ใช้หลักประกันเพิ่มอีกด้วย

ทีเอ็มบีธนชาต เชื่อมั่นว่า ผลิตภัณฑ์และบริการด้านธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น 1) บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน หรือ ttb multi-currency account 2) สินเชื่อเพื่อผู้นำเข้า หรือ OD for Importer 3) ประสบการณ์การใช้งานผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ จะเป็นโซลูชันที่ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บริหารธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้สะดวก คล่องตัว ทำให้เรื่องการนำเข้าและส่งออกเป็นเรื่องง่าย โดยธนาคารยังคงมุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านการพัฒนาดิจิทัลโซลูชัน และพร้อมเป็นพันธมิตรที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจลูกค้าในทุกสถานการณ์ เพื่อให้ลูกค้าธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่สนใจผลิตภัณฑ์และบริการด้าน ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศสำหรับเอสเอ็มอี สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/pr-tradefx-apr22 หรือ ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000 วันจันทร์ถึงวันเสาร์ 08.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องหมิ่น “ทนายรัชพล” กล่าวหาจับแพะติดคุกฟรีปีกว่า

“สารวัตรแจ๊ะ” พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททนายดัง และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ยันไม่ได้นําตัวไปเซฟเฮาส์ ด้านทนายเผยพบหลักฐานทนายคู่กรณีบีบผู้เสียหายกลับคําให้การ แบ่งเงินคนละครึ่ง

ข่าวแนะนำ

ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย ปรับลดดอกเบี้ย MRR

นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME

“บิ๊กโจ๊ก” ร้อง ตร.ขอความเป็นธรรม ปมโดนให้ออกจากราชการ

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล บุกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หอบหลักฐานยื่นคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตำรวจ ขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ออกจากราชการ

เร่งตรวจสอบเหตุสารเคมีรั่วไหลโรงงานย่านพระราม 2

เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบเหตุสารเคมีรั่วไหลในโรงงานย่านพระราม 2 ควันสีขาวลอยโขมง เบื้องต้นพบเป็นสารไทโอยูเรีย

อุตุฯ เผยไทยตอนบนร้อนจัด แนะเลี่ยงทำงานในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด แนะหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานาน ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัดบางแห่ง