กรมธนารักษ์ 3 พ.ค.- ธนารักษ์เลื่อนลงนามกะทันหัน ระบบท่อส่งน้ำอีอีซีมูลค่า 25,000 ล้านบาท ยืนยันทำถูกกฎหมาย คุ้มครองผู้ใช้น้ำในเขตอีอีซี พร้อมชี้แจงทุกฝ่ายตรวจสอบ
นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่าการเลื่อนกำหนดการณ์ลงนามสัญญาดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันนออก กับบริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด เป็นการทำตามขั้นตอน ตามสิทธิ์โดยชอบของกรมธนารักษ์ ไม่มีเหตุผลความผิดกฎหมาย แต่เนื่องจากสังคมมีข้อสงสัย มีการตั้งประเด็นถาม จึงต้องการให้เวลาเพื่อให้สังคมความเข้าใจ และการชะลอลงนาม เพื่อความพอใจของทุกฝ่าย และคงต้องเร่งกำหนดการณ์ลงนามใหม่อีกครั้งเร็วๆ นี้ ยอมรับฝ่ายค้านมีสิทธิตั้งข้อสงสัย หากมีหลักฐานการตรวจสอบ เป็นเรื่องความชอบธรรมจากทุกองค์กรที่ต้องให้ความเห็น หากกรมธนารักษ์เพิกเฉยจะเกิดปัญหา และการเลื่อนลงนามต้องแจ้งให้นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รับทราบระหว่างการประชุม ครม.ในวันนี้
แม้ขณะนี้อยู่ระหว่างการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อคุ้มครองชั่วคราว แต่กรมธนารักษ์ ยังเดินหน้าผลัดกันโครงการเพราะเห็นว่า ศาลยกคำร้องไปแล้วถึง 3 ครั้ง และศาลสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว การเดินหน้าโครงการ เพราะเห็นว่าเกิดความเสี่ยงกับประชาชน ผู้ประกอบการน้ำในภาคตะวันออก หากชะลอมีเหตุจูงใจทำให้โครงการล่าช้า ผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ และผู้รับการคัดเลือกชนะประมูลมีสิทธิฟ้องร้อง หากธนารักษ์ดำเนินการล่าช้า ที่สำคัญเกิดความเสี่ยง หากผู้ชนะประมูลถอยออกไป จะเกิดความเสียหายอย่างมาก จากผลประโยชน์เข้ารัฐหายไป 25,000 ล้านบาท และหากคัดเลือกใหม่ผลประมูลไม่รู้ว่า จะออกมาเป็นอย่างไร เมื่อถึงขั้นตอนการกำหนดลงนามสัญญาแล้วเอกชนผู้ชนะการประมูลมีสิทธิฟ้องร้องกรมธนารักษ์ได้เช่นกัน
“การเดินหน้าผลักดันโครงการตามขั้นตอน เนื่องจากการฟ้องคดีหลักศาลยังไม่ได้พิจารณาคดี จึงไม่จำเป็นต้องชะลอโครงการ เพื่อรอดูคำพิพากษาของศาล ขณะนี้กรมธนารักษ์ได้ยื่นหลักฐานให้กับศาลครบถ้วนแล้ว ไม่ศาลไม่รับคุ้มครองทั้ง 3 ครั้ง จึงต้องเร่งดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อให้โครงการเดินต่อไปได้ ไม่มีเหตุควรล้มประมูล แม้กระแสการเมืองจะแรง กระแสงสังคม ไม่ใช่เหตุต้องทบทวนการประมูลที่มีผลทางกฎหมาย เมื่อคดีหลักศาลยังไม่นำขึ้นมาพิจารณา กรมธนารักษ์หน่วยงานรัฐ จึงต้องเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนตามกฎหมาย” นายประภาส กล่าว
ส่วนกรณีอีสวอเตอร์ ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง อ้างว่า การคัดเลือกผู้ให้บริการน้ำอีอีซีรายใหม่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากข้อสงสัย TOR การรายงานผลศึกษา EIA การสร้างระบบท่อส่งน้ำรองรับแรงดัน 150 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี จึงใช้กรอบดังกล่าวจัดทำ TOR ขณะที่อีสวอเตอร์ แจ้งว่ามีศักภาพการส่งน้ำแรงดันทำได้ถึง 350 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงมองว่าเกินศักยภาพท่อส่งน้ำ ตามที่ ม.เกษตรฯ ได้ศึกษาไว้ ขณะที่บริษัทพงษ์สยาม เสนอสร้างระบบน้ำตามศักยภาพท่อ จึงได้ยกเลิก TOR ดังกล่าว ในส่วนของบริษัทพงษ์สนาม แม้จะเป็นบริษัทขนาดเล็ก มีสิทธิเจรจาหาพาร์ทเนอร์ธุรกิจ ในการพัฒนาระบบน้ำในอนาคต แม้จะเป็นบริษัทขนาดเล็กแต่มีกำลังในการจ่ายเงินชนะประมูล 743 ล้านบาท โดยเป็นเงินจากค่าธรรมเนียมครั้งแรก 580 ล้านบาท เงินค่าธรรมเนียมรายปี 4.6 ล้านบาท เงินหลักประกันสัญญา 118 ล้านบาท ซึ่งได้นำเงินมาวางให้กรมธนารักษ์ในเช้าวันนี้ เพื่อรองรับการลงนามสัญญา
ยอมรับว่า ราคาเปิดประมูลได้ขยับเพิ่มจากประมูลครั้งแรก 6,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น บ.พงษ์สยาม เสนอราคา25,000 ล้านบาท อีสวอร์เตอร์ เสนอราคา 24,000 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี เนื่องจากภาคเอกชนผู้ประมูลเสนอแผนพัฒนาธุรกิจ รองรับการเติบโตของเขตอีอีซีในอนาคต เพราะเมืองธุรกิจเติบโตจึงต้องใช้น้ำเพิ่มเติมทั้งภาคอุตสหากรรมและครัวเรือน โดยกำหนดคิดค่าน้ำจากประชาชนไม่เกิน 10.99 บาทต่อลูกบาศก์เมตร เพื่อให้ได้คนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน.-สำนักข่าวไทย