3 การไฟฟ้า ผนึกกำลัง GWM ขับเคลื่อนนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย

กรุงเทพฯ 28 เม.ย.- MEA ผนึกกำลัง 2 การไฟฟ้า จับมือ GWM ลงนามความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าและพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้า 


นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง และ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) GWM ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าและพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยมี มร. ไมเคิล ฉง รองประธาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และนายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เป็นผู้ลงนาม ณ GWM Experience Center ไอคอนสยาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงจาก เกรท วอลล์ มอเตอร์ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565

ผู้ว่าการ MEA เผยว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้นำการขับเคลื่อนส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด 10 ปี MEA EV เพื่อสอดคล้องกับวิสัยทัศน์พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับ บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญในการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่านการใช้ยานยนต์พลังไฟฟ้าทดแทนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน ทั้งนี้ MEA ได้นำประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านรถยนต์ไฟฟ้าตลอด 10 ปี ร่วมกับ PEA และ EGAT สนับสนุนและผลักดันตามมาตรการการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ โดยกระทรวงพลังงาน และสอดรับแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศตามนโยบาย 30@30 ที่มีการกำหนดเป้าหมายการผลิต ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ.2030 หรือ พ.ศ.2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และเตรียมความพร้อมการเป็น Carbon Nutrality ของประเทศไทยตามถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในงาน COP 26 เมืองกาสโกว์ รวมถึงการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub) ตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ


สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ MEA ได้จับมือกับผู้ประกอบการรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) รองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลยานยนต์ไฟฟ้าผ่านแพลตฟอร์ม การเชื่อมโยงข้อมูลของสถานีอัดประจุไฟฟ้าบนแอปพลิเคชัน การติดตั้งเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมถึงส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านยานยนต์ไฟฟ้า และการศึกษาวิจัยแนวโน้มของแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าในการนำแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้ากลับมาใช้งานซ้ำ (reuse) และการรีไซเคิล ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ลดมลพิษทางอากาศ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมกันผลักดันสนับสนุนให้ประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมายให้มีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle (EV) ร่วมขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย มุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)

ในปัจจุบัน MEA ได้มีการวางแผนปรับปรุงโครงข่ายระบบไฟฟ้าในพื้นที่จำหน่ายให้เป็นโครงข่ายอัจฉริยะ หรือ Smart Metro Grid ยกระดับคุณภาพงานบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอาทิ การขอใช้ไฟฟ้าใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงขนาดการใช้ไฟฟ้า การขอใช้ไฟฟ้าในอัตรา Low Priority สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า การให้บริการตรวจสอบปรับปรุงระบบไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยและสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานการติดตั้ง ให้เกิดความปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนทั่วไป และผู้ใช้ไฟฟ้ายานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงมีแผนขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พร้อมอำนวยความสะดวกการให้บริการหัวชาร์จ MEA EV ที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าผ่าน MEA EV Application ที่ได้มีพัฒนาการใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งานมากขึ้น เชื่อมต่อบน Platform ระบบบริหารจัดการเครื่องอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติที่เกี่ยวข้องกับการชาร์จ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด MEA EV Application ได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ได้ที่ https://onelink.to/meaev สำหรับวางแผนการพัฒนาระบบไฟฟ้าและการให้บริการ เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย พร้อมให้ความร่วมมือเอกชนทุกภาคส่วนส่งเสริมดำเนินตามนโยบายภาครัฐต่อไป 

สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่สนใจใช้บริการออกแบบและติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่ได้ ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130 รวมถึงแจ้งผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line : MEA Connect, Twitter: @mea_news ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


#MOU

#GWM #PEA #EGAT

#MEA10ปีEV #MEAEV #MEAsmartservice #EV #EVChargingStation #EVcharger 

#รถยนต์ไฟฟ้า #รถอีวี #รถพลังงานไฟฟ้า

#MEA #การไฟฟ้านครหลวง #พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รถทัวร์โดยสารชนท้ายเทรลเลอร์ เสียชีวิต-บาดเจ็บจำนวนมาก

รถทัวร์โดยสารชนท้ายรถบรรทุกเทรลเลอร์ บนถนนสาย 304 จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ไฟลุกไหม้รถทัวร์โดยสาร เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

ชาวบ้านยอมรับค่าเยียวยาหลังละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดิน

ชาวบ้านยอมรับการเยียวยา บ้านละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดินใน จ.ระยอง หลังถมที่สูงมิดหลังคาของเพื่อนบ้าน และรับปากจะเร่งแก้ไขให้ทันหน้าฝนที่จะถึงนี้ แต่ชาวบ้านยังหวั่นใจ หากแก้ไขไม่ทันก็ยังจะเดือดร้อน น้ำจะไหลลงมาบ้านที่อยู่ต่ำกว่า

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

ข่าวแนะนำ

รวบทันควัน คนร้ายบุกเดี่ยวชิงเงินธนาคาร

จับแล้ว คนร้ายบุกเดี่ยวชิงทรัพย์ธนาคารกลางเมืองเชียงใหม่ ได้เงินสดกว่า 40,000 บาท ก่อนวิ่งหลบหนี ล่าสุดจนมุมตำรวจรวบตัวได้ที่ศาลาริมทางข้างถนน

โป๊ปฟรังซิส สิ้นพระชนม์แล้ว ขณะพระชนมายุ 88 พรรษา

สำนักวาติกัน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ของสำนักวาติกันว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกันสิ้นพระชนม์แล้วในวันนี้

Pope inaugurated the Holy Year on Christmas Eve on December 24, 2024

เปิดพระประวัติโป๊ปฟรังซิส

วาติกัน 21 เม.ย.- เว็บไซต์ข่าวโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี (CNBC) ของสหรัฐ เปิดพระประวัติที่น่าสนใจ 10 ประการของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ที่สิ้นพระชนม์วันนี้ (21 เม.ย.68) ขณะมีพระชนมายุ 88 พรรษา ประการที่ 1 ทรงเป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันและเยสุอิตคนแรก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ เบร์โกกลิโอ ประสูติวันที่ 17 ธันวาคม 2479 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันคนแรกของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก แตกต่างจากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาเกือบ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิตาลี ทรงมาจากนอกทวีปยุโรปในฐานะพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 266 และเป็นนักบวชคณะเยสุอิตคนแรกที่ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ประการที่ 2  ทรงมีพื้นเพมาจากอิตาลี แม้ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสประสูติในอาร์เจนตินา แต่ท่านมีมรดกทางชาติพันธุ์จากอิตาลี จากการที่บิดามารดาเป็นผู้อพยพชาวอิตาลี บิดาทำงานเป็นนักบัญชีในทางรถไฟ ขณะที่มารดาอุทิศตนให้กับการเลี้ยงลูกทั้ง 5 คน ประการที่ 3 ทรงศึกษาด้านเคมีและปรัชญา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสศึกษาปรัชญาและมีปริญญาโทในด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ทรงศึกษาในโรงเรียนเทคนิคและได้ฝึกอบรมเป็นช่างเทคนิคเคมี ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาแห่งอัครสังฆมณฑลบิญญา เดโวโต […]