กรุงเทพฯ 28 เม.ย.- ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ร่วมลงนามบันทึกตกลงความร่วมมือด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาคการเงิน เพื่อส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาคการเงิน หรือ PDPCโดยมีนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นสักขีพยาน
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า การร่วมลงนามMOU ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาคการเงิน ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างกรอบความร่วมมือที่ ที่เอื้อต่อการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลการวางกรอบแนวทางปฏิบัติด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของหน่วยงานกำกับดูแลภาคธุรกิจการเงินและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความสอดคล้องกันมากขึ้น
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเผยว่า ในปี 2564 มีเหตุข้อมูลรั่วไหลถึง 22.7 พันล้านรายการโดยเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีชื่อผู้ทำธุรกรรมรั่วไหลออกไปถึง 65% ภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัลที่เน้นการขับเคลื่อนด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้นเช่นทุกวันนี้ ตัวเลขข้อมูลรั่วไหลที่กล่าวถึงอาจกระทบความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและประชาชนในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและอาจกลายเป็นอุปสรรคสำหรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลของประเทศได้ เรื่องความปลอดภัยของข้อมมูลมีความสำคัญกับการพัมนาภาคการเงิน โดยเฉพาะในระยะต่อไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังมีนโยบายที่จะปรับภูมิทัศน์ภาคการเงินให้กว้างขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจการเงินนำข้อมมูลไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดในการใช้บริการ ที่เรียกว่า Open data เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกและรวดเร็วด้วยต้นทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรม เช่น ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีประวัติทางการเงินไม่มากก็จะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลการชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ที่สะท้อนความรับผิดชอบที่สม่ำเสมอ มาใช้ประกอบการขอสินเชื่อ ทำให้ผู้ให้กู้เห็นพฤติกรรมทางการเงินมากขึ้น ช่วยให้การตัดสินใจให้กู้และการคิดอัราดอกเบี้ยสะท้อนความเสี่ยงของผู้กู้ได้มากขึ้น
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อขับเคลื่อนภาคการเงินและเศรษฐกิจจึงต้องทำควบคู่ไปกับการดูแลความเสี่ยงและการมีธรรมาภิบาลของการใช้ข้อมูลอย่างสมดุล ซึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPC ที่กำลังจะบังคับใช้จะช่วงส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจท่งด้านการเงิน ควบคุมดูแลและบริหารจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสมรัดกุมและปลอดภัย สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล ที่จะกระทบความเชื่อมั่นในการใช้บริการทางการเงินของทั้งประชาชนและภาคธุรกิจ
ที่ผ่านมา ธปท.ได้ส่งเสริมให้ธนาคารมีแนวปฏิบัติด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการของธนาคารเป็นไปตามเจตนารมของ PDPA ซึ่งพบว่าผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของธปท. ทั้งหมดมีความพร้อมรองรับแนวทางของ PDPA ก่อนที่กฏหมายจะบังคับใช้ในวันที่ 1มิถุนายน 2565 สำหรับภาคการเงินความร่วมมือ ระหว่างผู้กำกับดูแลในการวางแนวทางการใช้กฎเกณฑ์ภายใต้ mou ฉบับนี้ จะช่วยให้การกำกับดูแลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในภาคการเงินมีความสอดคล้อง ทับซ้อนซึ่งจะช่วยลดภาระหรือต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจและประขาชน ในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ในการทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมั่นใจ และในการพัฒนาการให้บริการทางการเงินมีการบริหารจัดการความเสี่ยง ที่ดียิ่งขึ้น.-สำนักข่าวไทย