เมืองทองฯ 21 มี.ค.- กรมสรรพสามิตจับมือสองค่ายรถยนต์ไฟฟ้า ลุยงานมอเตอร์โชว์ หวังกระตุ้นกำลังซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เผยหลายค่ายทยอยทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ช่วงน้ำมันแพง
นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า หลังจาก ครม. เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า จึงมีค่ายรถยนต์สนในเข้าร่วมมาตรการ เพื่อรับสิทธิประโยชน์จากการนำเข้าและการผลิตรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) ทั้งภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ได้รับเงินอุดหนุน 70,000 – 150,000 บาทต่อคัน ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ ทำให้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าลดลงเท่ากับเครื่องรถยนต์ใช้น้ำมัน ช่วยลดผลกระทบจากการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม หวังผักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน
การลงนามข้อตกลง เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ครั้งนี้ มี 2 ค่ายรถยนต์ที่มึความพร้อม เร่ิมนำมาทำตลาดในงานมอเตอร์โชว์ ครั้งนี้ ได้แก่ ค่ายเกรท วอลล์ มอเตอร์ ค่ายเอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) โดยผู้ประกอบทั้ง 2 ราย จะได้รับ รับเงินอุดหนุนจากการจำหน่าย รถยนต์ BEV โดยในงานมอเตอร์โชว์ครั้งนี้ โดย เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้นำรถยนต์ไฟฟ้า 3 รุ่น ได้แก่ ORA GOOD CAT 500 ultra, ORA GOOD CAT 400 Tech และ ORA GOOD CAT 400 Pro เช่นบางรุ่นราคา 9 แสนบาท จะลดเหลือ 7 แสนบาท
ส่วนบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัทเอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำรถยนต์ BEV 3 รุ่น นำมาออกงานมอเตอร์โชว์ ได้แก่ MG ZS EV, MG EP และ MG EP PLUS ได้เสนอราคาขายปลีกแนะนำ ให้กรมสรรพสามิตพิจารณาอนุมัติ เช่น บางรุ่นราคา 1.2 แสนบาท ลดเหลือ 9 บาท หากราคา 9 แสนบาท จะลดเหลือ 7 แสนบาท หลังจากนั้น กรมสรรพสามิต คาดว่าจะมีค่ายรถยนต์ ผู้นำเข้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์รายอื่น ทยอยเข้าร่วมลงนามข้อตกลง กับกรมสรรพสามิตเพิ่มเติม เนื่องจากมาตรการอุดหนุนราคาซื้อรถยนต์กำหนดเวลา 2 ปี ได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ โดยราคารถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นราคาปลีกที่ได้รับการพิจารณาหลังจากได้นำไปหักต้นทุนแล้ว โดยภาคเอกชนได้นำระบบชาร์จ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า จะใช้งานได้จริงในงานมอเตอร์โชว์ นอกจากนี้ ปตท. ยังให้บริษัทลูก เนด้า เตรียมยื่นลงนามกับกรมสรรพสามิต เพื่อเข้าร่วมโครงการของรัฐ
ผู้สื่อข่าวรายางนว่า รัฐบาลได้จัดสรรงบกลางปี 65 วงเงิน 3,000 ล้านบาท นำมาสนับสนุนช่วงแรก จากนั้นกระทรวงคลัง สภาพัฒน์ จะช่วยหาแหล่งทุนในปี 2566-2568 วงเงิน 40,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการผลิตรถยนต์ในประเทศ ผ่านมาตรการทางภาษี ได้แก่ 1.กรณีรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน (รถยนต์นั่ง) ประเภท BEV (รถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่) ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้ปรับลดอากรศุลกากรในปี 2565-2566 ดังนี้ การนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปทั้งคัน ได้รับสิทธิพิเศษทางอากรศุลกากร กรณีมีอัตราอากรไม่เกิน 40% ยกเว้นอากร ส่วนกรณีเกิน 40% ให้ลดอัตราอากรลงอีก 40% ขณะที่การนำเข้าทั่วไป ให้ได้รับการลดอัตราอากร จาก 80% เหลือ 40%
นอกจากนี้ยังปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่ง ประเภท BEV จากเดิม 8% เหลือ 2% ในปี 2565-2568 ส่วนมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ปี 2565-2568 กรมสรรพสามิตจะมีเงินอุดหนุน 70,000 บาทต่อคัน สำหรับรถยนต์นั่ง ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง และยังช่วยเงินอุดหนุน 150,000 บาทต่อคัน สำหรับรถยนต์นั่ง ที่มีขนาดแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ครอบคลุมทั้งกรณีรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ (CKD) และการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปทั้งคัน (CBU) ในงานมอเตอร์โชว์ครั้งนี้ บรรดาค่ายรถยนต์จะทยอยเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจากรัฐบาล.-สำนักข่าวไทย