เกษตรฯ หนุนปลูกพืชใช้น้ำน้อยในแล้งนี้

กรุงเทพฯ 7 ธ.ค. – รมว. เฉลิมชัยเผย ฤดูแล้งนี้กำหนดพื้นที่ปลูกข้าวรอบ 2 ทั่วประเทศ 9.02 ล้านไร่จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 11.65 ล้านไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่ปลูกพืชใช้น้ำน้อย โดยมอบกรมส่งเสริมเกษตรกรสนับสนุนเกษตรกร ย้ำกรมชลประทานจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน เตรียมแผนผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาเสริมลุ่มเจ้าพระยา ทั้งยังสำรองไว้สำหรับใช้ต้นฤดูฝน 65 ด้วย 


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ปริมาณน้ำต้นทุนตามแหล่งน้ำต่างๆ ในฤดูแล้งปี 2564/2565 มีจำกัด  ซึ่งฤดูกาลเพาะปลูกพืชฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – 30 เมษายน 2565 คณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรมีมติเห็นชอบแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง โดยกำหนดพื้นที่การเพาะปลูกทั้งประเทศ 11.65 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวรอบที่ 2 จำนวน 9.02 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน 6.41 ล้านไร่และนอกเขตชลประทาน 2.61 ล้านไร่  และพืชไร่พืชผัก 2.63 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน 0.54 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 2.09 ล้านไร่ เพื่อให้สอดคล้องแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง โดยสั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรจัดทำโครงการสนับสนุนการปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยเพื่อทดแทนการปลูกข้าวรอบที่ 2 

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวว่า จัดทำโครงการที่เน้นส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยและส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า 3 โครงการ เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพของเกษตรกรในช่วงที่น้ำต้นทุนมีปริมาณจำกัด ประกอบด้วย 


-โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในระดับไร่นา ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีความรู้ในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบการให้น้ำแก่พืชที่ถูกต้อง โดยมีการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเป้าหมาย 2,500 ราย 

-โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เป็นกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา เน้นส่งเสริมความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกร จำนวน 2,000 ราย  และจัดทำแปลงเรียนรู้ 194 แปลง พื้นที่ 582 ไร่ ใน 36 จังหวัด โดยในทุกระยะการผลิต จะมีนักส่งเสริมการเกษตรคอยเป็นพี่เลี้ยงและให้คำแนะนำตลอดโครงการ นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงเครือข่ายผู้รับซื้อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนาในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยและสมาคมการค้าพืชไร่อีกด้วย 

-โครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิต เป็นกิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง มีเป้าหมายพื้นที่ดำเนินการ เกษตรกร 6,572 ราย พื้นที่ 6,572 ไร่ 18 จังหวัด โดยจัดเวทีเรียนรู้การปลูกพืชหลากหลาย เชื่อมโยงตลาดระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิต และสนับสนุนการจัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกพืชหลากหลายทดแทนการทำนาปรัง ตั้งแต่กระบวนผลิตจนถึงการจำหน่าย ตลอดจนสนับสนุนให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มจัดทำแปลงเรียนรู้ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้จากจุดทำแปลงเรียนรู้ เพื่อให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชหลากหลายในพื้นที่นาปรัง


ทั้งนี้ทางสำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอจะจัดทีมลงพื้นที่สร้างความเข้าใจแก่เกษตรกร พร้อมเชิญชวนให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ซึ่งที่ผ่านมา พบว่าเกษตรกรให้ความสนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี เนื่องจากเห็นถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าวรอบที่ 2 ซึ่งเป็นพืชที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และมีตลาดรองรับ เกษตรกรสามารถสอบถามรายละเอียดของแต่ละโครงการได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอใกล้บ้านเพื่อเข้าร่วมโครงการได้

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า ได้ทำความเข้าใจกับโครงการชลประทานทุกแห่งทางตอนบนของประเทศเกี่ยวกับการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งอย่างมีประสิทธิภาพ กรมชลประทานวางแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2564/2565 (1 พ.ย. 64 – 30 เม.ย. 65) เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในเขตพื้นที่ชลประทานทั้งประเทศ โดย ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นวันเริ่มจัดสรรน้ำฤดูแล้ง มีปริมาณน้ำต้นทุนทั้งประเทศรวมกันประมาณ 37,857 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยจะจัดสรรน้ำฤดูแล้งทั้งสิ้น 22,280 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 59 ของปริมาณน้ำต้นทุนทั้งหมด โดยสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนปี 65 อีก 15,577 ล้าน ลบ.ม. 

สำหรับเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้วางแผนจัดสรรน้ำจาก 4 เขื่อนหลักได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวมถึงผันน้ำจากลุ่มน้ำเเม่กลองมาสนับสนุนการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งในเขตชลประทานภาคกลาง 22 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 5,700 ล้าน ลบ.ม. สำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ เกษตรใช้น้ำน้อย และอุตสาหกรรม พร้อมวางมาตรการบริหารจัดการน้ำให้ทุกภาคส่วนปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด โดยสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนปี 65 อีกประมาณ 3,044 ล้าน ลบ.ม. 

สำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้งปี 2564/65 กรมชลประทาน ได้ดำเนินการโครงการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร หรือเกษตรกรในพื้นที่ สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำของกรมชลประทานในพื้นที่ ประชาชนและผู้ใช้แรงงานทั่วไปในพื้นที่ หากแรงงานที่ต้องการในพื้นที่เป้าหมายมีไม่เพียงพอให้พิจารณาจ้างเกษตรกร หรือแรงงานในพื้นที่ใกล้เคียงจากหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และลุ่มน้ำตามลำดับ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตักบาตรปีใหม่

ปชช.ร่วมตักบาตรวันปีใหม่ 2568 เพื่อความเป็นสิริมงคล

ประชาชนร่วมกิจกรรมตักบาตร​ รับปีใหม่ 2568 เนืองแน่น​ “สุดาวรรณ” เผยตัวเลขสวดมนต์ข้ามปี กว่า 12 ล้านคน พร้อมเชิญชวนสักการะพระเขี้ยวแก้ว ถึง 14 ก.พ.นี้

“SIAM PARAGON THE MAGICAL COUNTDOWN CELEBRATION 2025”

สยามพารากอนคึกคัก เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติที่กำลังสนุกสนานกับบทเพลงจากเหล่าศิลปินดังที่มาเพิ่มความสุขด้วยบทเพลงและโชว์สุดอลังการ

ประชาชนเนืองแน่น ไหว้พระเขี้ยวแก้ว-สวดมนต์ข้ามปี

ประชาชนยังหลั่งไหลสักการะพระเขี้ยวแก้ว ทำบุญ รอสวดมนต์ข้ามปี ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยปีนี้กรมการศาสนาร่วมกับภาคีเครือข่ายและวัดทั้ง 76 จังหวัด จัดสวดมนต์ข้ามปี

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : การเมืองปี 68 พรรคการเมืองยังต้องรักษาดุลยภาพทางอำนาจ

วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองปี 2568 ทนักวิชาการมองว่าจะมีปัญหารุมเร้า แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะผ่านไปได้

บขส.โคราช คนแน่น รอรถอย่างน้อย 5 ชม.

หลังเดินทางกลับไปฉลองเทศกาลปีใหม่ที่ภูมิลำเนา วันนี้ (1 ม.ค.) ประชาชนเริ่มทยอยเดินทางกลับเข้า กทม. เพื่อทำงานในวันพรุ่งนี้ ขนส่งหลายจังหวัดคนแน่น เพราะต้องรอรถเปล่าตีจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปรับ

ทยอยกลับกรุง

ถ.มิตรภาพ ช่วง อ.ปากช่อง รถหนาแน่นเต็มพื้นที่

วันหยุดเทศกาลปีใหม่วันสุดท้าย ประชาชนทยอยเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ ทำให้วันนี้ถนนมิตรภาพ ปริมาณรถช่วง อ.ปากช่อง หนาแน่นเต็มพื้นที่ แต่ยังเคลื่อนตัวได้เรื่อยๆ