“ศักดิ์สยาม” ย้ำต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว ต้องติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูก

กรุงเทพฯ 21 ต.ค.-รมว.คมนาคม ระบุการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว ที่ถูกถอนจากการพิจารณา ครม.เมื่อวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นเรื่องไปขัดขวางใคร พร้อมย้ำจุดยืน ก.คมนาคม ในเรื่องนี้ ต้องติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง ดำเนินการตามกฎหมาย และมติ ครม.เดิมให้ครบถ้วน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณี กระทรวงมหาดไทย ได้ขอถอนวาระ การพิจารณาต่ออายุสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ออกจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่าน และมีรายงานข่าวระบุว่า มาจากการที่กระทรวงคมนาคม ไม่เห็นด้วยนั้น


นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า เรื่องนี้ ยังไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี แต่ทางเลขาธิการ ครม.ได้แจ้งว่าทางกระทรวงมหาดไทยได้ขอนำวาระออกก่อน โดยยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องการขวางอะไรใคร แต่เป็นจุดยืนยืนที่กระทรวงคมนาคม ยืนยันไปก่อนหน้านี้ ที่ต้องดำเนินการเรื่องดังกล่าว ให้ถูกต้องตามกรอบของกฎหมาย และถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีในอดีต ซึ่งควรจะต้องดำเนินการให้ครบถ้วน เพราะกรณีนี้เป็นการบริหารบริการสาธารณะซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชน หากมีผู้ร้องในอนาคตก็อาจจะเกิดความเสียหายได้

“กระทรวงคมนาคมเห็นข้อมูลว่ามีบางเรื่องที่ยังต้องทำให้ครบถ้วนก่อน เช่น เรื่องการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2561 เรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ รวมถึงข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในปี 2558 และล่าสุด BTS ได้ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครอยู่ หากกระดุมตั้งแต่เม็ดแรกผิดกระดุมเม็ดต่อไปก็จะผิดตามด้วย” นายศักดิ์สยามกล่าว


ส่วนจะนัดหารือเรื่องนี้กับกรุงเทพมหานคร และกระทรวงมหาดไทย นั้น เรื่องนี้ได้มีการตั้งคณะทำงาน และโดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินการหารือไปแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุม ครม.ในวันที่ 19 ต.ค. ซึ่งเดิมมีวาระการประชุม ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอบรรจุวาระ ขออนุมัติเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ต่อ ครม.ที่จะต่อขยายสัญญาสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส อีก 30 ปี จากเดิมสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในปี 2572 ขยายต่อไปให้สิ้นสุดในปี 2602 โดยระบุว่า จะจัดเก็บตลอดสายที่ 65 บาท แต่มีรายงานว่า พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยได้ขอถอนวาระดังกล่าวออกไปก่อน

ทั้งนี้การพิจารณาดังกล่าว ก่อนหน้านี้เมื่อ 13 ส.ค. 2563 ได้เคยมีการนำเรื่องดังกล่าว เสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.มาแล้ว แต่มีการถอนเรื่องจากการพิจารณาเช่นกัน โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ไปศึกษารายละเอียดเรื่องนี้ให้เกิดความชัดเจน


โดยก่อน ครม.ได้ขอความเห็นประกอบการพิจารณาเรื่องนี้ จากกระทรวงคมนาคม ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม. หลายครั้งว่ากระทรวงคมนาคมยืนยันตามหลักการ 4 ประเด็นที่ไม่เห็นด้วย ตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยและขอให้กรุงเทพมหานคร ดำเนินการเพื่อให้เกิดความชัดเจน ประกอบด้วย 1.ประเด็นความครบถ้วนตามหลักการของ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 2.ประเด็นการคิดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ รวมทั้งรถไฟฟ้าสายสีเขียวสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดได้ต่ำกว่า65บาท

  1. ประเด็นการใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรพิจารณาให้เกิดความถ่องแท้ถึงการใช้สินทรัพย์ และ 4. ประเด็นข้อพิพาททางกฎหมาย ซึ่งเกิดจาก กทม.ได้ทำสัญญาจ้างบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เดินรถส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ไปจนถึงปี 2585 และได้ไต่ สวนข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงควรรอผลการไต่สวนก่อน

ผู้สื่อรายงานด้วยว่า จากข้อมูลที่กระทรวงคมนาคม ได้ตรวจสอบ ขั้นตอนกฎหมาย และสัญญาที่ กทม. ผูกพันไว้กับคู่สัญญาเดิม กระทรวงคมนาคมเห็นว่า 1.หาก กทม.จะขยายต่อสัญญาสัมปทาน ในช่วงที่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ถูกต้อง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายทั้งช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต กระทรวงคมนาคมเห็นว่า ควรให้ กทม.ชำระหนี้สิน ค่าก่อสร้างส่วนต่อขยาย ให้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ก่อน เพื่อให้เป็นไปตามมติ ครม.และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้เรียบร้อย ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการจัดหาผู้ให้บริการในโครงข่ายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2.หาก กทม.ไม่มีความประสงค์ให้บริการสายสีเขียวส่วนต่อขยายต่อไป ด้วยการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. เมื่อ 26 พ.ย.2561 กระทรวง คมนาคม เห็นว่า ควรให้เสนอครม.ทบทวนมติ ครม.เมื่อ 26 พ.ย.2561 และมอบหมายให้รฟม.ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

3.หากจะมีการต่อขยายสัญญาสัมปทาน บริษัทผู้ถือสัมปทานต้องแจ้งความประสงค์ไปยัง กทม.ในเวลาไม่มากกว่า 5 ปี และไม่น้อยกว่า 3 ปี ก่อนวันสิ้นสุดสัญญา และต้องได้รับการอนุมัติจาก ครม.ก่อน ซึ่งเหตุผลที่ต้องกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการทราบก่อน เนื่องจากต้องให้หน่วยงานที่กำกับต้องพิจารณาความคุ้มค่าของโครงการร่วมทุน ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้ง เรื่องอัตราเงินเฟ้อ และดัชนีผู้บริโภค 4.กรณี กทม.มีภาระหนี้จากการว่าจ้างเอกชน ติดตั้งระบบเดินรถไฟฟ้าและว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายทั้ง 2 ส่วน ที่ได้ดำเนินการ ในปี 2559 นั้น จึงต้องมีการตรวจสอบสัญญาว่ามีความชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ด้วย.- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 2568

“แพทองธาร” นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2568 “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” ระบุรัฐบาลเห็นคุณค่าในตัวเด็กๆ ทุกคน ขอให้ปรับตัวเรียนรู้ ให้เข้ากับสถานการณ์

การจราจรมุ่งหน้าภาคอีสานเริ่มหนาแน่นตั้งแต่เช้า

คนแห่เดินทางกลับฉลองปีใหม่ เส้นทางมุ่งหน้าภาคอีสานเริ่มหนาแน่นตั้งแต่เช้า แต่ยังเคลื่อนตัวได้ ยังไม่เปิดช่องทางพิเศษ

จุดเทียนรำลึก 20 ปี สึนามิ

ค่ำคืนนี้ ที่อนุสรณ์สถานสึนามิบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สว่างไสวจากแสงเทียนนับพันเล่มที่ถูกจุดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่รักซึ่งจากไปในเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 2547 จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบ 20 ปีเต็ม