“เฉลิมชัย” มั่นใจชี้แจงปมระบายยางได้ชัดเจน

กรุงเทพฯ 3 ก.ย. – รมว.เกษตรฯ มั่นใจชี้แจงข้อกล่าวหาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจชัดเจน ในประเด็นการระบายยางพาราในสตอก ซึ่งดำเนินการตามนโยบายของ กนย. โดยยืนยันบริหารงานด้วยความสุจริตและโปร่งใส


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้ชี้แจงเรื่องยางพาราและการระบายยางแก่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า เป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 โดยให้ระบายยางในสตอกนี้ให้หมดโดยเร็ว ในจังหวะที่เหมาะสมและไม่กระทบกับราคายางในตลาดมากนัก จากนั้นนำเข้า ครม. วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 และต่อมา บอร์ดการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มีมติให้จำหน่ายได้ ซึ่งในฐานะกำกับดูแล กยท. ให้นโยบายดังนี้

  1. ให้ดูช่วงเวลาที่เหมาะสมในการระบาย เพื่อไม่ให้กระทบราคายางในตลาด
  2. เกษตรกรต้องได้รับประโยชน์
  3. ต้องรักษาผลประโยชน์ภาครัฐ เพราะเป็นเงินภาษีของประชาชน
  4. ต้องทำโดยสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ และถูกต้องตามระเบียบ

นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า ยางพาราอยู่ในสตอก 104,000 ตัน ซึ่งต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่าประกันภัย กยท. ทำสัญญาเช่าตั้งแต่ปี 2555 ในโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ซึ่งมีการซื้อยางเข้าสู่สตอก เพื่อให้ยางในตลาดมีปริมาณน้อยลง เพราะขณะนั้นราคายางตกมาก จากกิโลกรัมละ 180 บาท เหลือ 90 บาท โดย


รับซื้อยางเข้ามา ปริมาณทั้งหมด 213,492 ตัน ในราคาเฉลี่ย 98.96 บาท/กิโลกรัม งบประมาณ 22,782 ล้านบาท และในปี 2557 มีโครงการมูลพันธ์กันชนฯ

ต่อมามีการระบายยาง โดยครั้งแรกในปี 2557 มีการลงนามสัญญาซื้อ-ขาย 278,000 ตัน เมื่อทำสัญญาแล้ว ราคายางตกลงอย่างมาก บริษัทรับยางเพียง 37,602 ตัน ส่วนการประมูลครั้งที่ 2 ปี 2559-2560 ซึ่งเป็นการประมูลแบบคละเหมาคุณภาพแยกโกดัง ให้พ่อค้าเข้าไปตรวจสอบคุณภาพ หากพอใจโกดังไหนก็ให้ประมูลโกดังนั้น พ่อค้าเลือกยางดีๆ ไปหมด จึงเหลือยางในสตอกจนถึงปัจจุบัน 104,000 ตันเศษ  

นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า ระยะเวลา 9 ปีที่เก็บยางในสตอก เป็นฝันร้ายของพี่น้องเกษตรกร ตนมาช่วยคลายล็อกให้ จะได้ไม่ถูกยางในสตอกเป็นข้ออ้างของพ่อค้าบางกลุ่มกดราคา อ้างว่ายางไม่ขาด ทั้งที่ยางในสตอกไม่มีสภาพที่พร้อมใช้แล้ว ยางแผ่นดิบปกติเก็บ 6 เดือน สีก็เปลี่ยน ระหว่างปี 2555-2559 ค่าใช้จ่ายในการซื้อยางเข้ามาในสตอก ค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัยยางพาราใช้เงินทั้งสิ้น 2,317 ล้านบาท และปี 2559-2564 ค่าใช้จ่ายรวมกัน 925 ล้านบาท โดยเป็นเงินงบประมาณรายจ่ายการยางแห่งประเทศไทย จากเงินกองทุนพัฒนายางพารา ซึ่งใช้ดูแลเกษตรกร จึงเป็นฝันร้ายที่ 2 ซึ่งซ้ำเติมเกษตรกรชาวสวนยาง


นายเฉลิมชัย กล่าวว่า การที่รัฐบาลมีนโยบายประกันรายได้ราคาพืชผลการเกษตร 5 ชนิด โดยยางพารา เป็น 1 ในสินค้า 5 ชนิดในโครงการ ทำให้เกษตรกรมีความสุขและยิ้มได้ทั้งประเทศ ดังนั้น จึงมั่นใจว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะนำข้อมูลที่ชี้แจงไปประกอบการพิจารณาลงมติในวันพรุ่งนี้. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

อลังการเคาท์ดาวน์เชียงใหม่ดึงดูดผู้คนทั่วโลก

ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่เชียงใหม่กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่จะไปร่วมเฉลิมฉลองกันที่นั่นไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมนับถอยหลังสู่ปีใหม่ในหลายจุด โดยเฉพาะที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ซึ่งเต็มไปด้วยความสวยงามของดอกไม้และแสงไฟ เรียกว่าเป็นจุดเคาท์ดาวน์ที่สวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน

พ่อช็อก ลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์

พ่อช็อก น้ำตาคลอรู้ข่าวลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินเชจูแอร์ ไถลออกนอกรันเวย์ เผยเป็นลาง ลูกยื่นเงินหมื่นให้พ่อจ่ายเงินฌาปนกิจศพให้ตัวเอง

Jeju Air CEO apologises for plane crash at airport in South Korea

ซีอีโอเชจูแอร์ขอขมาผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชน

โซล 29 ธ.ค.- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของสายการบินเชจูแอร์ (Jeju AIr) ขอขมาต่อผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชนรั้วกั้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดอยู่ที่ 124 คน จากจำนวนคนบนเครื่องบินทั้งหมด 181 คน นายคิม อีแบ ซีอีโอเชจูแอร์ แถลงต่อสื่อสั้น ๆ ว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอขมาต่อผู้โดยสารที่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุครั้งนี้ รวมถึงครอบครัว บริษัทจะแก้ไขสถานการณ์อย่างรวดเร็วและให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้โดยสาร นอกจากนี้จะพยายามอย่างเต็มที่ในการหาสาเหตุร่วมกับรัฐบาล นายคิม กล่าวว่า บริษัทให้บริการเครื่องบินลำนี้โดยได้มีการซ่อมบำรุงตามปกติ และไม่พบสัญญาณใด ๆ ว่าเครื่องบินมีความผิดปกติ เชจูแอร์เป็นสายการบินต้นทุนต่ำของเกาหลีใต้ที่ตั้งขึ้นในปี 2548 ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย และมีเที่ยวบินในประเทศจำนวนมาก ด้านโบอิง บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของสหรัฐ แถลงว่า กำลังประสานกับเชจูแอร์ กรณีเครื่องบินโบอิง 737-800 แบบ 2 เครื่องยนต์ เที่ยวบิน 7ซี2216 (7C2216) ชนที่ท่าอากาศยานทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือสายการบิน ขณะที่กระทรวงคมนาคมของเกาหลีใต้ ระบุว่า เครื่องบินลำนี้ผลิตในปี 2552 […]

ข่าวแห่งปี 2567 : สุดอาลัย…ดาวลับฟ้า ปี 2567

ตลอดปี 2567 นับเป็นปีที่สูญเสียบุคคลมีชื่อเสียง ทั้งในแวดวงบันเทิง ศิลปินแห่งชาติ และวงการสื่อสารมวลชน ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติ