ขสมก.ขยายเวลาเดินรถ-เพิ่มเที่ยววิ่ง แก้ปัญหาผู้ใช้บริการตกค้าง

กรุงเทพฯ 2 ก.ย. – ขสมก.ประกาศปรับแผนการเดินรถโดยสาร เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ใช้บริการตกค้างในเส้นทาง โดยปล่อยรถโดยสารคันสุดท้ายออกจากท่าปลายทาง เวลา 21.00 น. รวมทั้งเพิ่มเที่ยววิ่ง วันธรรมดา 22,000 เที่ยว/วัน และวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 18,000-20,000 เที่ยว/วัน


นางพนิดา ทองสุข รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร รักษาการแทน ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. มีมติผ่อนคลายกิจการกิจกรรมบางส่วนให้สามารถดำเนินการได้ เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ส่งผลให้ประชาชนออกมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะเป็นจำนวนมาก

ในส่วนของ ขสมก.ได้มีการจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางทุกคัน ไม่ให้เกินร้อยละ 75 ของความจุผู้ใช้บริการ ตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคำสั่งปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น รวมทั้งได้มีการเพิ่มเที่ยววิ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น


อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ปรากฏว่า สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวกรณีมีประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนมากตกค้างในเส้นทาง ในช่วงเวลาประมาณ 20.00 น. ดังนั้น ขสมก. จึงได้มีการปรับแผนการเดินรถ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้

  1. ขยายเวลาการปล่อยรถโดยสารคันสุดท้าย ออกจากท่าปลายทาง จากเดิมเวลา 20.00 น. เป็นเวลา 21.00 น. พร้อมปรับเพิ่มความถี่ในช่วงการปล่อยรถ 3 คันสุดท้าย ให้มีระยะห่างกัน 5-10 นาที ซึ่งรถโดยสาร 3 คันสุดท้าย จะติดป้ายข้อความบ่งชี้บริเวณหน้ารถโดยสาร ดังนี้
    1.1 เหลือรถ 2 คันสุดท้าย
    1.2 เหลือรถ 1 คันสุดท้าย
    1.3 รถคันสุดท้าย
  2. เพิ่มเที่ยววิ่งรถโดยสาร วันธรรมดา 22,000 เที่ยว/วัน วันเสาร์-วันอาทิตย์ 18,000-20,000 เที่ยว/วัน หรือจัดเดินรถให้สอดคล้องกับความต้องการใช้บริการของประชาชนในแต่ละช่วงเวลา
  3. ให้บริการรถโดยสาร ตั้งแต่เวลา 05.00-21.00 น. (เวลา 21.00 น. คือ เวลาที่รถโดยสารคันสุดท้าย ออกจากท่าปลายทาง) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น โดยเพิ่มความถี่ในการปล่อยรถ ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า (05.00-08.00 น.) และช่วงเวลาเร่งด่วนเย็นถึงเวลาก่อนรถโดยสารหยุดให้บริการ (16.00-22.00 น.) ให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 5-10 นาที หรือจัดเดินรถให้สอดคล้องกับความต้องการใช้บริการของประชาชน

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือผู้ใช้บริการปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งขณะใช้บริการรถโดยสาร นั่งหรือยืนตามจุดที่กำหนด กรณีผู้ใช้บริการเต็มจะต้องรอใช้บริการรถโดยสารคันถัดไป รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ใช้บริการเตรียมตัวกลับบ้านก่อนเวลา 19.00 น. เพื่อลดความแออัดของผู้ใช้บริการบนรถโดยสาร ในช่วงเวลาก่อนรถโดยสารหยุดให้บริการ (21.00-22.00 น.) ซึ่งจะทำให้การดำเนินการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมบนรถโดยสาร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน