สมาคมภัตตาคารขอเข้า “คนละครึ่ง” กระทบหนักจากล็อกดาวน์รอบใหม่

กรุงเทพฯ 9 ก.ค.-สมาคมภัตตาคารไทย ยื่นข้อเรียกร้องถึง นายกรัฐมนตรี 10 ข้อ ขอความช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารในพื้นที่คำสั่งมาตรการป้องกันเข้มงวดสูงสุดรอบใหม่ ทั้งขอให้แพลทฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่เข้าโครงการ “คนละครึ่ง” และย้ำขอสินเชื่อพิเศษ

นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือเปิดผนึกยื่นต่อนายกรัฐมนตรี เนื่องจากที่ ศบค.มีมติยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโดยจำกัดการเดินทางออกนอกบ้านของประชาชนในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ปิดห้างสรรพสินค้าเปิดได้เฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ตมีกำหนดระยะเวลา 14 วันนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหารมีความเข้าใจในปัญหาและสถานการณ์วิกฤตครั้งนี้และพร้อมให้ความร่วมมือสกัดกั้นโควิด-19 แต่ก็มิอาจปฏิเสธได้เลยว่า มาตรการที่ออกมาล่าสุดนี้เป็นการซ้ำเติมวิกฤตด้านเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการภัตตาคารและร้านอาหารมากยิ่งขึ้น จากที่เรากำลังสาหัสอย่างหนักและมีกิจการต้องปิดตัวไปแล้วจำนวนมากและกำลังจะมีทยอยปิดกิจการตามมาอีก หากครั้งนี้ไม่ได้รับการช่วยเหลือแบบเฉพาะเจาะจงมายังภาคธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร


ดังนั้นจึงขอเรียกร้อง 10 ข้อต่อนายกรัฐมนตรีให้ช่วยสั่งการดำเนินการช่วยเหลือแบบเจาะจงเฉพาะกิจการภัตตาคารและร้านอาหารในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ เยียวยาต้นทุน ออกมาตรการลดค่าเช่าทั้งในห้างฯ และนอกห้างฯ ลดค่าไฟฟ้า ลดค่าน้ำเป็นเวลา 60 วัน, ชดเชยรายได้ให้กับผู้ประกอบการ โดยประเมินจากฐานการชำระภาษีประจำเดือน เป็นเวลา 30 วัน , ออกมาตรการควบคุมค่าGP แพลทฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ให้อยู่ที่ไม่เกิน 15% เป็นเวลา 30 วัน , อนุญาตให้แพลทฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่สามารถรับชำระค่าสินค้าในโครงการคนละครึ่งได้, จัดงบประมาณในการจัดซื้อข้าวกล่องจากร้านอาหารเพื่อนำแจกจ่ายให้ตามแคมป์คนงานและชุมชนต่าง ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านอาหาร ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างกระแสเงินสดต่อลมหายใจให้ร้านอาหาร

รวมถึง ขยายระยะเวลาชชดเชยค่าแรง 50% และเยียวยาค่าแรง 2,000 บาท และ 3,000 บาทออกไปอีกเป็น 60 วัน ยกเว้นการจัดเก็บภาษีต่าง ๆ ทุกประเภท ต่อกิจการภัตตาคารและร้านอาหาร เป็นเวลา 6 เดือน, หยุดพักชำระเงินต้น และลดดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ผู้ประกอบการกู้มาในช่วงวิกฤตการระบาดโควิด-19 ,9 ปล่อยสินเชื่อเงื่อนไขพิเศษ เนื่องจากมาตรการทางการเงินที่มีมาผู้ประกอบการภัตตาคารและร้านอาหารเข้าไม่ถึงสินเชื่อดังกล่าว ได้รับการปฏิเสธจากธนาคารต่าง ๆ ตามฎเกณฑ์ คุณสมบัติการกู้ในภาวะสถานการณ์ปกติมาใช้พิจารณา ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการภัตตาคารและร้านอาหารSME( ตามที่ได้เสนอแก่สภาพัฒน์และกระทรวงการคลังจำนวน สามหมื่นล้านบาท) และขอให้ตั้งคณะกรรมการที่รวมทุกฝ่ายเกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงานฯ หน่วยงานรัฐอื่น ๆ สมาคมศูนย์การค้า สมาคมภัตตาคารไทยและเครือข่ายผู้ประกอบการร้านอาหาร ร่วมกันเสนอแนวทางแก้ไข เพื่อออกเป็นมาตรการช่วยเหลือตามมา


“ข้อเสนอดังกล่าวมานี้ ก็เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการช่วยเหลือกิจการภัตตาคารและร้านอาหารอย่างเป็นระบบและทันการณ์ก่อนที่หลายกิจการจะต้องปิดตัวลงและจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมภาพรวมตามมา ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นรัฐบาลอาจต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการฟื้นฟู”นางฐนิวรรณ ระบุ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“พิธา-ทักษิณ” ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

“พิธา” ลงพื้นที่ตลาดต้นลำไย จ.เชียงใหม่ พบปะพี่น้องประชาชน ด้านพรรคเพื่อไทย “ทักษิณ” ขึ้นเวทีแนะนำ “พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ สว.ก๊อง” ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น