กรุงเทพฯ 25 มิ.ย. – รมว.คมนาคม หารือร่วม ผู้บริหาร ม.ธรรมศาสตร์ เร่งรัดงานก่อสร้าง วางแผนจัดการเดินรถบริการ โครงการส่วนต่อขยายรถไฟชานเมือง สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต–ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง หารือร่วมกับรองศาสตรจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องแนวทางการพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟ โครงการส่วนต่อขยายรถไฟชานเมือง สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคม, อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายมนตรี เดชาสกุลสม รองอธิบดีกรมทางหลวง และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วม
โดยภายหลังการหารือ ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ประเด็นที่เป็นข้อสรุปร่วมกัน คือ
- ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยเร่งดำเนินการงานโยธาและระบบรางเป็นลำดับแรกก่อน ท้ังนี้ ในระหว่างการก่อสร้าง การรถไฟ แห่งประเทศไทยจะได้จัดรถไฟดีเซลรางเดินรถเชื่อมต่อระหว่างสถานีรังสิตไปถึงสถานีเชียงรากน้อย เพื่อรองรับ การเดินทางไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ไปก่อน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือน ธันวาคม 2564 ขณะที่ภาพรวมโครงการส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ ภายในปี 2568 - กรมทางหลวงได้พิจารณาปรับปรุงโครงข่ายถนนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเบื้องต้นแล้ว รวมทั้งมีแผนการพัฒนาในอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายถนนและการคมนาคม บริเวณพื้นที่รังสิต เป็นไปด้วยความสะดวก ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในภาพรวม จึงได้มอบหมาย ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร แต่งต้ังคณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงข่ายการคมนาคม บริเวณพื้นท่ีรังสิต เพื่อพิจารณาผลักดันการดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ต่อไป
- กรมการขนส่งทางบกได้ปรับปรุงเส้นทางการเดินรถเพื่อรองรับพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แล้ว ท้ังนี้ เนื่องจากมีนักศึกษาและประชาชนจานวนมากมาใช้บริการของมหาวิทยาลัยและ โรงพยาบาล ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะปรับแนวเส้นทางเข้าไป ในมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลธรรมศาสตร์โดยตรงด้วย
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แสดงความสนใจที่จะร่วมพัฒนาพื้นที่กับกระทรวงคมนาคม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนา Transit Oriented Development ของกระทรวงคมนาคม ดังนั้น ทั้งสองฝ่าย จึงเห็นควรจะร่วมมือกัน ซึ่งได้มอบหมายให้สานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรพิจารณายกร่าง บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในรายละเอียด เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างกันให้เกิดผล ในทางปฏิบัติ
- ทั้งสองฝ่ายตกลงในหลักการที่จะร่วมกันพัฒนาบุคลาการด้านอุตสาหกรรมระบบราง โดยอาจขยายผลไปถึงการพัฒนาบุคลากรด้านการขนส่งอื่นๆ เช่น ด้านพาณิชยนาวี เป็นต้น โดยทั้งสองฝ่ายจะได้หารือ ในรายละเอียดถึงกรอบความร่วมมืออีกครั้งหนึ่ง.-สำนักข่าวไทย