คลังมั่นใจกู้เพิ่ม 5 แสน ลบ.ช่วยจีดีพีโต อีก 1.5%

กรุงเทพฯ 25 พ.ค.-ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พ.ร.ก.กู้เงินโควิด-19 ฉบับที่ 2 วงเงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาการแพร่ระบาด-เยียวยาจากปัญหาโควิด-19  รมว.คลังมั่นใจกู้ช่วยจีดีพีโคอีก1.5% และไม่เกินกรอบเพดานหนี้สาธารณะ


เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกำหนดให้กระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ.2564 วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท  เป็นผลสืบเนื่องมาจกการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 อย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างหนักหน่วง และกว้างขวาง เป็นวิกฤติสำคัญที่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน และต่อเนื่องกับการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้ดำเนินการอยู่ จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ จึงจำาเป็นต้องตราพระราชกำหนดฉบับนี้ี้ โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ฉบับนี้ ตามมาตรา 3 ได้ให้อำนาจกระทรวงการคลังโดยผ่านอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี มีอำนาจกู้เป็นเงินบาท หรือ เงินตราต่างประเทศ หรือ ออกตราสารหนี้ ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยมีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 500,000 ล้านบาท โดยต้องลงนามในสัญญากู้เงิน หรือ ออกตราสารหนี้ ภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 และในมาตรา 5 กำหนดให้นำเงินไปใช้เพื่อการอื่นนอกเหนือจากรายการดังต่อไปนี้ไม่ได้ คือ


1) เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท
2) เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 วงเงิน 3 แสนล้านบาท
3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 มีกระแสนข่าวว่า  เงินกู้ดังกล่าวจะมีเม็ดเงินไม่เกิน 700,000 ล้านบาท  แต่หลังจากที่ พ.ร.ก.ฉบับนี้ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ปรากฎว่าได้มีการปรับลดวงเงินกู้เหลือไม่เกิน 5 แสนล้านบาท

 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวถึงการออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีก 5 แสนล้านบาท ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ แล้ว จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปี 64 และปี 65 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 1.5% จากกรณีฐานที่ทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ประมาณการไว้ในช่วง 1.5-2.5% และการกู้เงินเพิ่มดังกล่าวไม่เกินกรอบเพดานหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้ โดยคาดการณ์ว่าเมื่อกู้เต็มวงเงินในเดือน ก.ย.64 หนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะอยู่ที่ 58.56% ต่อจีดีพี


ทั้งนี้ การออกพ.ร.ก.กู้เงินดังกล่าวนั้น เป็นเงินกู้เพื่อดูแลสถารณ์โควิด-19 ฉบับที่สอง เป็นกฎหมายเฉพาะตามมาตรา 53 ในพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง 2561 ที่กำหนดว่า การออกกฎหมายที่นอกเหนือจากพ.ร.บ.หนี้สาธารณะให้ออกกฎหมายเฉพาะมีเงื่อนไขว่า เป็นเรื่องของกฎหมายเฉพาะ เป็นเรื่องความจำเป็นเร่งด่วน เป็นความต่อเนื่อง แก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ และไม่สามารถตั้งงบประมาณประจำปีได้ทัน ซึ่งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.)ได้ดำเนินการเรื่องกู้เงินอย่างระมัดระวัง ดูทั้งตลาดเงินและตราสารหนี้และช่วงเวลาเหมาะสมให้เกิดประโยชน์ประเทศมากสุด

 พ.ร.ก.ดังกล่าว เป็นการกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ หรือออกตราสารหนี้ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกรอบไม่เกิน 5 แสนล้านบาท โดยต้องลงนามในสัญญากู้เงินหรือออกตราสารหนี้ภายใน 30 ก.ย.2565  รัฐบาลจะนำไปใช้จ่ายวัตถุประสงค์ 3 แผนงาน โดยกรณีจำเป็นคณะรัฐมนตรีสามารถอนุมัติปรับกรอบภายในกรอบ 3 วัตถุประสงค์ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินสอดคล้องสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  โดยเฉพาะเรื่องที่นายกรัฐมนตรีเป็นห่วง คือ เอสเอ็มอีและไมโครเอสเอ็มอี ซึ่งส่วนที่ผู้ประกอบอาชีพหรือธุรกิจรายเล็กรายน้อยได้รับความช่วยเหลือปีที่แล้วจากโครงการต่างๆของกระทรวงการคลังไม่ว่าจะเป็นคนละครึ่ง เราชนะ ม.33 เรารักกัน ซึ่งผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่เป็นนิติบุคคลนั้น ก็ได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆเหล่านี้

“ ตั้งแต่ม.ค.64 โควิด-19 รุนแรงขึ้น แพร่กระจายรวดเร็วและติดเชื้อวงกว้างทั่วประเทศ กระทบต่อการฟื้นตัวต่อกิจกรรมเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลจำเป็นเร่งด่วนต้องเตรียมงบเพิ่มเติม จึงได้ตรา พ.ร.ก. เพื่อให้รัฐบาลมีงบเพิ่มเติมได้อย่างต่อเนื่องในการดูแล เพื่อให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว และเติบโตยั่งยืนภายหลังการระบาดโควิด-19ยุติลง โดยปีที่แล้วเราคาดการณ์ติดลบ 8% แต่เมื่อมีมาตรการต่างๆ ก็ช่วยให้ติดลบน้อยลงเหลือลบ 6% ฉะนั้น ในทางบวกก็เหมือนกัน การที่เราคำนวณค่ากรณีฐาน ถ้ามีมาตรการเสริมเข้ามาและมีมาตรการการคลัง จะทำให้รัฐบาลสามารถดำเนินมาตรการเศรษฐกิจได้เหมาะสมและเพียงพอ จะทำให้การคาดการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น”รมว.คลังกล่าว /สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พ่อเลี้ยงล่วงละเมิด

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA ส่วนเด็กอาการดีขึ้น

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA เชื่อ แม่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แค่เชื่อผัวเพราะลูกเคยโกหก เผย ตอนแม่รู้ความจริงว่าใครทำลูกถึงกับร้องไห้โฮโผกอดลูก ส่วนเด็ก 10 ขวบอาการดีขึ้น แต่ต้องรักษาตัวอีกหลายสัปดาห์

งานแต่งธนกร

วิวาห์ชื่นมื่น “ธนกร-แคทลีน” คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น

งานวิวาห์ “ธนกร-แคทลีน” ชื่นมื่น คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น ด้าน “ทักษิณ” ไม่ได้มาร่วม แต่ส่งของขวัญแสดงความยินดี

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง

ข่าวแนะนำ

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส กลับมาในรอบ 19 ปี

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส บอกคนนราธิวาสน่ารักเสมอ ต้อนรับอบอุ่นกับการกลับมาในรอบ 19 ปี ก่อนเดินทางต่อตามกำหนดเดิม แม้มีระเบิดที่สนามบิน

บึ้มรถกระบะ สนามบินนราธิวาส ก่อน “ทักษิณ” ลงพื้นที่

บึ้มรถกระบะจอดใกล้กับหอบังคับการบิน ท่าอากาศยานนราธิวาส ก่อน “ทักษิณ” ลงพื้นที่สนามบินบ้านทอน ในอีก 50 นาที ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ

น้ำป่าหลากท่วม อ.ไทรโยค กลางดึก

ระทึกกลางดึก น้ำป่าหลากท่วมบ้านเรือนประชาชน อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ถนนหลายเส้นถูกน้ำป่าพัดขาด จนท.เร่งอพยพประชาชนด้วยความยากลำบาก

Pope at Vatican on Feb 5, 2025 says have a strong cold

โป๊ปฟรันซิสพระอาการวิกฤต

วาติกัน 23 ก.พ.- พระอาการประชวรของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ทรุดลงอยู่ในขั้นวิกฤตในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สำนักวาติกันออกแถลงการณ์ฉบับล่าสุดเมื่อวันเสาร์ว่า พระอาการประชวรของสมเด็จพระสันตะปาปาทรุดลงในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา และระบุเป็นครั้งแรกว่า พระอาการของพระองค์อยู่ในขั้นวิกฤตจากโรคระบบทางเดินหายใจคล้ายกับโรคหอบหืดในช่วงเช้าวันเสาร์ ทำให้ขณะนี้พระองค์จำเป็นต้องได้รับออกซิเจนเสริมและการถ่ายเลือด โดยรวมแล้วถือว่า พระอาการอยู่ในขั้นวิกฤตและยังไม่พ้นขีดอันตราย อย่างไรก็ดี พระองค์ยังทรงตื่นตัว และประทับนั่งบนเก้าอี้ตลอดวัน แม้ว่าทรงประชวรมากกว่าวันก่อนหน้านี้ก็ตาม พระสันตะปาปาฟรันซิส พระชนมายุ 88 พรรษา ทรงเข้ารับการถวายการรักษาที่โรงพยาบาลเจเมลลี ในกรุงโรม ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ หลังทรงมีพระอาการหายใจติดขัดต่อเนื่องหลายวัน และตรวจพบว่าปอดอักเสบทั้งสองข้าง ทรงร้องขอให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับพระอาการของพระองค์อย่างตรงไปตรงมา สำนักวาติกันจึงออกแถลงการณ์ชี้แจงความคืบหน้าอาการประชวรของพระองค์ต่อเนื่องทุกวัน แต่แถลงการณ์ฉบับล่าสุดถือเป็นครั้งแรกที่มีเนื้อหาระบุชัดเจนว่า อาการประชวรของพระองค์อยู่ในขั้นวิกฤต ขณะที่แพทย์คาดการณ์ว่า พระองค์จะต้องประทับอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อยตลอดสัปดาห์หน้า ภารกิจต่อสาธารณชนทั้งหมดของพระสันตะปาปาจึงถูกยกเลิกตลอดสัปดาห์ ทั้งพิธีมิสซาประจำวันอาทิตย์ รวมถึงการสวดภาวนาแองเจลัส (Angelus) ตามปกติทุกสัปดาห์ด้วย.-815(814).-สำนักข่าวไทย