กรุงเทพฯ 6 พ.ค. – บล.โนมูระพัฒนสิน ชี้หุ้นไทยขึ้นกับความสามารถการจัดหาและฉีดวัคซีนว่าเป็นไปตามเป้าหมายรัฐบาลตั้งไว้หรือไม่ ชี้ กลุ่มแบงก์ได้รับผลบกระทบจากการระบาดหนักของโควิด-19และ ตลท.ชะลอการปรับคำนวณใหม่ free Float หลังสำรวจพบคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระพัฒนสิน กล่าวว่า กรอบดัชนีหุ้นไทยในขณะนี้ จะอ้างอิงไปกับความรวดเร็วของการจัดหาและการฉีดวัคซีนให้กับคนไทยว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลประกาศไว้ 100 ล้านโดสในปีนี้หรือไม่ ซึ่ง ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไว้ 3 กรณีเกี่ยวเนื่องการกับการฉีดวัคซีน
โดยกรณีแรก 1.การจัดหา-ฉีดวัคซีนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว 100 ล้านโดส ในปี 64 ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้ภายใต้ในไตรมา 1/65 ก็คาดว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะกระทบเพียงไตรมาส 2ปีนี้ และหลังจากนี้จะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวที่ดีขึ้น ทาง ธปท.คาดเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 และปี 65 ขยายตัว 4.7 ซึ่งใกล้เคียงกับที่ โนมูระคาดการณ์ ว่า เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวร้อยละ 2.1 และปี 65 ขยายตัว ร้อยละ 5.7 กรณีนี้มอง ดัชนี SET มีกรอบฐานรับ 1520-1480จุด
2.การจัดหา-กระจายวัคซีน 64.6 ล้านโดส ในปีนี้ ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ใน ไตรมาส3/65 คาดว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จะอยู่ที่ติดลบร้อยละ 3 ของจีดีพี หรือราว 4.6 แสนล้านบาท ซึ่งธปท.คาด จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ ขยายตัวร้อยละ1.5 และปี 65 ขยยายยตัวร้อยละ2.8 กรณีนี้โนมูระคาด SET มีกรอบฐานรับ 1470-1440จุด
3.หากการจัดหาและกระจายวัคซีนได้ช้ากว่าแผนเดิม น้อยกว่า 64.6ล้านโดสในปีนี้ ทำให้ภูมิคุ้มกันหมู่เกิดขึ้นใน ไตรมา4/65 คาดว่า ผลกระทบต่อจีดีพีจะอยู่ที่ติดลบร้อยละ5.7 หรือราว 8.9 แสนล้านบาท ธปท.คาดส่งผลจีดีพี ปีนี้ขยายตัวร้อยละ1.0 และปีหน้า ขยายตัวร้อยละ 1.1 กรณีนี้ โนมูระ มอง SET มีกรอบฐานรับ 1420-1380จุด
“คาดการณ์ GDP ไทยปี64-65 ของ BOT รอบนี้ สร้าง Downside Risk ต่อกำไรตลาดหุ้นไทยอย่างมาก เนื่องจาก กรณี Best Case ที่คาดการณ์ คือ กรอบล่างของคาดการณ์ตลาดปัจจุบัน และการฟื้นตัวปีหน้าค่อนข้างต่ำ ดังนั้นคาดว่าจะเห็นตลาดเริ่มปรับประมาณการลงอีกในช่วงถัดไป โดยเฉพาะหุ้น Domestic Play และกลุ่มท่องเที่ยว บริการที่จะเป็นตัวถ่วงตลาด แนะนำรอจังหวะ Buy On Dip หุ้น Global Play เด่น “นายกรภัทร
สำหรับหุ้นแนะนำเดือน พ.ค.คือ SCGP, IRPC, BEC, MEGA, CPF, TVO
นายกรภัทร ยังกล่าวถึง กรณี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศชะลอการปรับการคำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกไปก่อน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของผู้เกี่ยวข้อง เนื่องจากผู้ให้ความเห็นส่วนมากไม่เห็นด้วยกับการปรับหลักเกณฑ์ ว่า กรณีนี้ก็จะส่งผลต่อกลุ่มธนาคารเพราะเดิมมีการคาดหวังกันว่า จะมีกองทุนเข้ามาซื้อหุ้นกลุ่มแบงก์เพิ่มมากขึ้นหลังมีการปรับ Free Float ใน SET50 และ SET100 นอกจากนี้ กรณีการระบาดของโควิด-19 ก็กระทบต่อคุณภาพสินทรัพย์เสี่ยงของแบงก์ จึงกระทบต่อราคากลุ่มนี้ในระยะนี้ แต่หาก เลื่อน มีการเก็งกำไร ความเสี่ยงต่อคุณภาพสินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม เมื่อราคาหุ้นย่อลงก็อาจจะทยอยเข้าเก็บได้ เช่น KBANK ,BBL
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แจ้งว่า ได้พิจารณาชะลอการปรับการคำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกไปก่อน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของผู้เกี่ยวข้อง เนื่องจากผู้ให้ความเห็นส่วนมากไม่เห็นด้วยกับการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ทั้งนี้ ตลท. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับหลักเกณฑ์การคำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยปรับปรุงวิธีการคำนวณน้ำหนักของหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี จากเดิมที่ใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในการคำนวณดัชนี (Full Market Capitalization) เป็นการใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ปรับด้วยสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อยในการคำนวณดัชนี (FreeFloatAdjustedMarketCapitalization) ซึ่งเสนอที่จะเริ่มดำเนินการโดยมีผลกับดัชนี SET50, ดัชนี SET100 และดัชนี SETHD ตั้งแต่เดือนก.ค.64 เป็นต้นไป และทยอยมีผลกับดัชนีอื่นๆ ในปี 65-66
สำหรับผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจดทะเบียน ที่ปรึกษาทางกฎหมายและผู้ลงทุนทั่วไป
ผู้ให้ความเห็นส่วนมากไม่เห็นด้วย โดยมีความเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้
– ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว
– การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการคำนวณส่งผลกระทบต่อมูลค่าหุ้น และต่อผู้ลงทุน
– ควรใช้ Free Float เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก หรือเกณฑ์ดำรงแต่ไม่ควรนำมาถ่วงน้ำหนักใช้คำนวณดัชนี
– ข้อมูล free Float ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เช่น การถือหุ้นผ่าน Nominee ต่างชาติ
– การใช้ FF มาคำนวณน้ำหนักหุ้น อาจไม่เหมาะกับหุ้นไทย เนื่องจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเป็นธุรกิจที่เป็น Family Owned
– การดำเนินการดังกล่าวเป็นการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่ไม่มีเจ้าของที่แท้จริง ไม่ใช่การส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุนและบริษัทจดทะเบียนให้ก้าวหน้า เพราะบริษัทเหล่านี้มักขาดความเต็มที่ในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเจ้าของที่แท้จริงขายออกไปแล้ว
– การปรับวิธีการคำนวณดัชนีไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องหุ้น Free Float ต่ำ และหากตลาดหลักทรัพย์ฯ ประสงค์ดำเนินการให้พิจารณาดำเนินการกับดัชนีใหม่
ขณะที่ผู้ที่เห็นด้วยกับแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เสนอมีสัดส่วนน้อยกว่าผู้ไม่เห็นด้วย และได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่ม ดังนี้
– ควรพิจารณาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของทุกดัชนีอย่างครบถ้วน การปรับด้วย Free Float อาจเป็นผลให้มีหุ้นบางกลุ่มได้น้ำหนักมาก แต่ทำให้ดัชนีไม่น่าสนใจ
– ควรประกาศล่วงหน้าก่อนมีผลเป็นระยะเวลานานพอสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบและเตรียมตัว
– ควรเผยแพร่ค่า Free Float, Corporate Action และวิธีการคำนวณดัชนีให้ผู้ลงทุนทราบ
– ควรพิจารณาใช้แนวทางเพิ่มเติมควบคู่ไปด้วย เช่น การเพิ่ม Free Float ขั้นต่ำ การแก้ไขค่านิยามของ Free Float และการให้บริษัทที่มี Free Flot ต่ำกว่าเกณฑ์ต้องปฎิบัติเพิ่มเติม หรือขึ้นเครื่องหมายเตือนนักลงทุน -สำนักข่าวไทย