รมว.คลัง ห่วงหนี้ครัวเรือน – การออมของคนไทยเสี่ยงต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณ

กรุงเทพฯ 22 เม.ย. – รมว.คลัง ห่วงหนี้ครัวเรือน และ ภาวะการออมของคนไทยเสี่ยงต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณและเศรษฐกิจไทย


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ฟื้นฟูการเงินภาคครัวเรือนไทย ภารกิจร่วมใจสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงิน” ภายในงานพิธีเปิดโครงการ “Happy Money สุขเงิน สร้างได้ พลังความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูและสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงินสำหรับคนไทย”  ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า สถานการณ์ด้านการเงินของคนไทยมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญอย่างใกล้ชิด 4 ประเด็น


1.หนี้ครัวเรือนไทย ในไตรมาสที่ 3/2562 มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 78.9 ของจีดีพีซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ แต่เมื่อได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนขยับไปอยู่ที่ร้อยละ 86.6 ในไตรมาสที่ 3/2563 สะท้อนถึงความเปราะบางของสถานะทางการเงินของคนไทย เมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤต

2.ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะสูงวัยอย่างสมบูรณ์ คาดภายในปี 2566 จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ขณะที่สัดส่วนผู้สูงอายุของไทย ณ สิ้นปี 2563 พบว่ามีจำนวน 11.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.6 ของประชากรทั้งประเทศ การดูแลสังคมผู้สูงอายุอย่างเหมาะสมจึงต้องเตรียมพร้อมให้คนไทยมีการออมเงินตั้งแต่วัยทำงานเพื่อมีใช้จ่ายในวัยเกษียณ ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจในปี 2560 ผู้สูงอายุร้อยละ 34.7 ยังต้องพึ่งพารายได้หลักจากบุตรหลาน และร้อยละ 31 ยังต้องทำงานเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตนเอง มีเพียงร้อยละ 2.3 เท่านั้นที่พึ่งพาตนเองได้จากรายได้รายได้ของเงินออม สะท้อนว่าคนไทยอาจมีภาวะความเสี่ยงเกษียณทุกข์ได้ในอนาคต

3.ผลการสำรวจการออมภาคครัวเรือนไทย ในไตรมาส 3/2561 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครัวเรือนที่ไม่มีเงินออมมีถึง  5.8 ล้านครัวเรือนไทย หรือคิดเป็นร้อยละ 27.1 ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศ และครัวเรือนที่มีการออม มี 15.7 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 72.9 ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศ โดยพฤติกรรมการออมของคนไทยส่วนใหญ่ “ใช้ก่อนออม” ถึงร้อยละ 38.9 รองลงมาคือ “ออมไม่แน่นอน” ร้อยละ 38.5 และ “ออมก่อนใช้” เพียงร้อยละ 28.6


4.ทักษะการออมของคนไทยอยู่ในระดับต่ำ จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเป็นการสำรวจตามแนวทางของความร่วมมือขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี พบว่า คะแนนความรู้ด้านเงินของคนไทยต่ำมากกว่าอื่น และตำกว่าประเทศอื่นที่ทำการสำรวจ ซึ่งเป็นการสะท้อนปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในเชิงโครงสร้างและปัจเจกบุคคล ซึ่งการแก้ไขปัญหาต้องทำอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ได้วางแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศด้วยการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการสร้างความเข้มทางการเงินฐานราก เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

ขณะที่ กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ได้ระบุถึงสังคมแห่งการสร้างโอกาสและความเสมอภาคไว้เป็น 1 ในภารกิจของการพัฒนาที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวสู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเป้าลดความเหลื่อมล้ำและกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ ลดความยากจนข้ามรุ่น เพื่อให้ประชาชนสามารถขยับฐานะ และได้รับการคุ้มครองทางสังคมอย่างเหมาะสม

สำหรับแนวทางในการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนในอนาคต จะต้องให้ความสำคัญใน 5 เรื่องคือ

1.การสร้างโครงสร้างและกลไกเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 หรือ Ecosytem ตลาดเงินตลาดทุน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินฟินเทค การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างปลอดภัย และการกำกับดูแลให้ระบบการเงินและตลาดทุนมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ

2.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีทักษะที่จำเป็นต่างๆ ให้เป็นพื้นฐานต่อยอดความรู้และโอกาส เพื่อให้สามารถดูแลรับผิดชอบตนเองได้ เช่น การเพิ่มพูนความรู้ทางการเงิน การออม เพื่อให้เกิดความเข้าใจและมีทักษะที่เพียงพอในการจัดการการจัดเงินส่วนบุคคล

3.การเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเร่งให้เกิดการปรับตัวของประชาชนในเกือบทุกด้าน เช่น ปรับตัวในด้านการใช้ชีวิต การทำงาน และเศรษฐกิจ และต้องตระหนักรู้ถึงการเตรียมความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงในชีวิต จากเหตุการณ์ไม่คาดคิด โดยพื้นฐานการเตรียมการเรื่องการลดความเสี่ยง คือ การวางแผนที่ดีและข้อมูลความรู้ที่เพียงพอ เพื่อบริหารจัดการเงินให้มีความพร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้

 4.การเร่งฟื้นฟูและสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน ต้องให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในเชิงบวกต่อเรื่องการเงินและการออม เพื่อให้เกิดผลจริง สามารถตอบโจทย์ในการเสริมสร้างศักยภาพของคนไทยให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ

5.ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายระดับทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านการให้ความรู้ด้านการเงิน ซึ่ง ตลท. ร่วมกับพันธมิตร ได้พัฒนาเนื้อหาและทักษะด้านการเงินการลงทุนอย่างอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นประโยชน์ได้ในวงกว้าง จะช่วยยกระดับความรู้ การจัดการการเงินคนไทยได้อย่างเหมาะสม . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร