สวทช.-อภ.-ปตท. ต่อยอดพัฒนาวัตถุดิบทางยา

กรุงเทพฯ1 เม.ย.- สวทช.-อภ.-ปตท.ต่อยอดการพัฒนาและวิจัยกระบวนการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม API ศึกษาศักยภาพเชิงพาณิชย์ภายใน 3 ปี มุ่งลดพึ่งพาการนำเข้า​ เสริมความมั่นคงด้านสุขภาพให้คนไทย เริ่มต้นด้วย API สำหรับโรค COVID-19

วันนี้ (1 เม.ย.)ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) และนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา “กระบวนการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Active Pharmaceutical Ingredients; API) และ ศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ และ/หรือการสร้างความมั่นคงทางยาให้แก่ประเทศไทย” ส่งเสริมยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน New S-Curve ด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ตั้งเป้าระยะแรกเน้นการวิจัยและพัฒนา API สำหรับโรค COVID-19 รวมถึง API ของ ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) และ ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)


API เป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตยา โดยปัจจุบันประเทศไทยยังต้องมีการนำเข้า API จากต่างประเทศมากกว่า 95% ความร่วมมือในครั้งนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ (Laboratory scale) การถ่ายทอดเทคโนโลยีจนถึงระดับอุตสาหกรรม (Industrial scale) ตลอดจนการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Feasibility Study) ที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะส่งเสริมให้ประเทศไทยมีสาธารณสุขที่มั่นคงต่อไป

ดร.ณรงค์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา นักวิจัย สวทช. ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม วิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ สำหรับต้านโรค COVID-19 ขึ้นเองภายในประเทศ นับว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ตอบโจทย์วงการแพทย์และสาธารณสุขของไทย ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์จากต่างประเทศ ช่วยยกระดับขีดความสามารถทางด้านการผลิตยาของประเทศ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งเป็นฐานในการสร้างอุตสาหกรรม API ของประเทศ


ความร่วมมือในครั้งนี้ สวทช. พร้อมที่จะสนับสนุนนักวิจัยที่มีองค์ความรู้ และความสามารถในการวิจัย พัฒนา และปรับปรุงกระบวนการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมในระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดให้กับองค์การเภสัชกรรมต่อยอดไปสู่ระดับโรงงานต้นแบบ และพร้อมสนับสนุนข้อมูลให้แก่ ปตท. เพื่อใช้ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

นายแพทย์วิฑูรย์ กล่าวว่าจากการระบาดของโรค COVID-19 ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบยาสำหรับรักษาโรค COVID-19 และวัตถุดิบยาจำเป็นอื่นๆ เนื่องจากประเทศหลัก ๆ ที่ผลิตวัตถุดิบยา อย่างเช่น จีน และ อินเดีย ต่างก็มีปัญหาทั้งในเรื่องการขนส่งวัตถุดิบข้ามประเทศและอีกทั้งยังต้องสำรองวัตถุดิบยารักษาโรค COVID-19 และวัตถุดิบยาจำเป็นไว้ใช้ในประเทศตัวเอง
ซึ่งการที่ประเทศไทยมีการผลิตวัตถุดิบทางยาขึ้นสำหรับใช้เองจะเป็นการสร้างความมั่นคง และการพึ่งพาตนเองด้านยาของประเทศได้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้าง Ecosystem ในการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบที่เป็นตัวยาใหม่ (NCE, New Chemical Entities) ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยยังไม่เคยทำได้

นายอรรถพล กล่าวว่าในความร่วมมือนี้ ปตท. จะดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของ API ที่วิจัยและพัฒนาขึ้นมาในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนรูปแบบโมเดลธุรกิจที่เหมาะสม เพื่อต่อยอดการวิจัยและพัฒนา API ของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ปตท. ตั้งเป้าขับเคลื่อนธุรกิจ Life Science ให้เห็นผลเชิงรูปธรรม จึงได้จัดตั้งบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด เมื่อเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีวิสัยทัศน์ คือ บริษัทชั้นนำด้านชีววิทยาศาสตร์ในภูมิภาคที่มีวิทยาศาสตร์อันเป็นเลิศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน”


ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา API จนถึงขั้นผลิตออกสู่ตลาดได้นั้น จำเป็นต้องประกอบด้วย ศักยภาพในการวิจัยและพัฒนา ความเชี่ยวชาญในการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐาน และความสามารถในการพัฒนาธุรกิจเชิงพาณิชย์ และด้วยศักยภาพความเชี่ยวชาญของทั้ง 3 องค์กร จะช่วยส่งเสริมให้โครงการสามารถสัมฤทธิ์ผลได้ ทั้งนี้ การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา API ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทหารทำร้าย

ทบ.ตั้ง กก.สอบปมกรมยุทธศึกษาทหารบก ทำร้ายผู้ใต้บังคับบัญชา

“ธนเดช” เผย กมธ.ทหาร รับเรื่องร้องเรียนเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา ขณะ ทบ. ตั้งกรรมการสอบแล้ว หวังเป็นตัวอย่างการลงโทษผู้บังคับบัญชาระดับสูงหากพบผิดจริง

“บิ๊กแจ๊ส” ลั่นพร้อมดูแลสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ให้เป็นปอดประชาชน

“บิ๊กแจ๊ส” ลั่นหากได้รับถ่ายโอน อบจ.ปทุมฯ พร้อมจัดงบดูแลสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ให้เป็นปอดประชาชน หลังขาดพื้นที่ออกกำลังกาย แต่จะกระทบความมั่นคงหรือไม่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องคุยกันต่อ

ข่าวแนะนำ

กฎหมายเปิดช่อง ริบรถพวกหัวร้อนบนถนนได้

จากคลิปรถเทสล่า ขับปาดหน้าบนทางด่วน ศาลสั่งจำคุก 1 เดือนคนขับ โทษจำรอลงอาญา 1 ปี แต่ที่สังคมต้องตระหนัก คือ ศาลยังสั่งริบรถเทสล่า มูลค่าเกือบ 2 ล้านคันนี้ด้วย วันนี้คนขับออกมาเปิดใจ พร้อมขอโทษคู่กรณี ขณะที่อัยการระบุ กฎหมายเปิดช่องให้ริบรถได้ เตือนผู้ขับขี่ใช้สติมากกว่าอารมณ์

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

นายกฯ ถก ก.ตร. จับตาแต่งตั้งนายพลสีกากี 25 ตำแหน่ง

นายกฯ นั่งประธานประชุม ก.ตร. จับตาแต่งตั้งนายพล ระดับ “รอง ผบ.ตร.-ผู้ช่วย ผบ.ตร.-ผู้บัญชาการ” รวม 25 ตำแหน่ง กำชับพิจารณาให้รอบคอบ-ตรงกรอบกฎหมาย