“สุริยะ” เตรียมเสนอมาตรการภาษีจูงใจคนไทยซื้อรถไฟฟ้า

กรุงเทพฯ 8 ต.ค. – “สุริยะ” สั่ง สศอ.ศึกษาแนวทางใช้มาตรการภาษี ทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้านำเข้าต่ำลง เพื่อจูงใจคนไทยซื้อรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมจัดมาตรการหนุนการผลิตในประเทศ


นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เดือนตุลาคมนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมเสนอปรับปรุงสิทธิประโยชน์ภาษีและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อาทิ การยกเว้น/ลดภาษีรถยนต์ประจำปี และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่น ๆ ตลอดจนการสนับสนุนค่าไฟฟ้าฟรีในสถานีอัดประจุและที่จอดรถสำหรับรถยนต์นั่งไฟฟ้า BEV ในอาคารหน่วยงานภาครัฐ

ทั้งนี้ เพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาฝุ่น PM2.5 อีกทั้งเป็นการสร้างความมั่นใจในด้านตลาด (Demand) ให้กับนักลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไปแล้ว โดยเชื่อว่ามาตรการนี้จะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดตลาดในประเทศและมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยภายใน 5 ปีนับจากนี้ไปหรือเร็วกว่าได้


สำหรับสาเหตุที่ต้องนำเสนอให้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติม เนื่องจากราคารถยนต์ไฟฟ้าขายในประเทศไทยปัจจุบันแพง โดยข้อมูลจากระบบ ECO Sticker เดือนกันยายน 2563 พบว่า รถยนต์นั่งไฟฟ้าที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศราคาต่ำสุดคันละ 1.19 ล้านบาท ขณะที่ผู้ซื้อในประเทศต้องการราคาต่ำลงกว่านี้ ดังนั้น จึงขอให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ไปศึกษาว่าจะมีมาตรการภาษีช่วยได้อย่างไรบ้าง เช่น อาจจะมีมาตรการลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตจากต่างประเทศ เพื่อช่วยให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าถูกลง และมีมาตรการภาษีจูงใจให้ผู้ที่มีรถยนต์เก่าซึ่งปล่อยมลภาวะมากสนใจซื้อรถคันใหม่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยมลภาวะ โดยแลกกับการนำค่าใช้จ่ายไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ด้วย เบื้องต้น หากมีการทยอยเปลี่ยนรถเก่าเป็นรถไฟฟ้าปีละ 2,000-3,000 คันก็น่าพอใจ เมื่อตลาดรถไฟฟ้าเกิดขึ้นก็จะเป็นแรงหนุนให้มีการผลิตรถยนต์ในประเทศ  

นายสุริยะ กล่าวว่า แม้ว่าขณะนี้วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของทุกประเทศทั่วโลกทั้งความต้องการซื้อรถยนต์ลดลงและการผลิตที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมเชื่อมั่นว่ายานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นรถยนต์แห่งอนาคตจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วต่อไป และอาจจะเกิดขึ้นเร็วกว่าคาดหมาย และเมื่อนักลงทุนต่างชาติตัดสินใจเลือกประเทศสำหรับการลงทุนสร้างฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ประเทศไทยจะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่โดดเด่น เนื่องจากมีจุดแข็งหลายด้าน ได้แก่ ประเทศไทยมีการรับมือโควิด-19 อย่างดีเยี่ยมและมีศักยภาพของตลาดรถยนต์ภายในประเทศที่มีกำลังซื้อสูง ทำให้ตลาดมีโอกาสขยายตัวได้อีก เห็นได้จากยอดจองรถยนต์ในงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่มีการจัดงานมอเตอร์โชว์ภายหลังจากเกิดวิกฤติโควิด-19 และไทยมีความพร้อมทั้งด้านทรัพยากรแวดล้อม (Eco System) ตั้งแต่การมีผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศที่มีศักยภาพ ความพร้อมในอุตสาหกรรมต้นน้ำ อาทิ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมพลาสติกและปิโตรเคมี อุตสาหกรรมยาง และอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ความพร้อมด้านศูนย์ทดสอบวิจัยพัฒนา การพัฒนาทรัพยากรบุคคล แรงงานที่มีฝีมือ (Skilled Labour) เป็นที่ยอมรับ 

นายสุริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามาตรการส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน xEV ซึ่งปัจจุบันบีโอไออนุมัติส่งเสริมการลงทุนการผลิตรถไฟฟ้าในส่วนของรถยนต์นั่งไปแล้วรวม 13 โครงการ โดยมีกำลังการผลิตรวม 125,000 คันต่อปี ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนในประเทศประมาณ 15,600 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย  


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

สนามบินสุวรรณภูมิ

ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” 1 ใน 6 สนามบินสวยสุดในโลก

“สุริยะ” รมว.คมนาคม ปลื้ม ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก ประจำปี 2567 ด้าน “อาคาร SAT-1” สุดปัง! หลังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสนามบินที่มีสถาปัตยกรรมสวยที่สุดของโลก โชว์ความโดดเด่นด้านความงาม-ความคิดสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทย จ่อประกาศผล 2 ธ.ค.นี้

อัญเชิญเรือพระที่นั่งกลับพิพิธภัณฑ์

หลังสร้างความตราตรึงให้กับชาวไทยและคนทั้งโลก กับความงดงามของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค กองทัพเรือ และกรมศิลปากร เริ่มอัญเชิญเรือพระที่นั่ง และเรือพระราชพิธี กลับเข้าสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องใช้ความละเอียด รอบคอบ เพราะเรือทุกลำถือเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน