ไฟแนนซ์เข้มสินเชื่อรถเล็กยอดขายดิ่ง

กรุงเทพฯ19 ส.ค. – ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ระบุ รถยนต์ขนาดเล็กเครื่องยนต์ต่ำกว่า 1,500 ซีซี. ยอดขายดิ่งลง 48% แม้ความต้องการเพิ่มขึ้นเพราะเลี่ยงเดินทางด้วยรถยนต์สาธารณะ แต่ไฟแนนซ์ยังเข้มพิจารณาสินเชื่อ



ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สถาบันยานยนต์ เผย สถานการณ์ตลาดรถยนต์ เดือนมิ.ย.63 ว่า ตลาดรถยนต์ในประเทศ มีขนาด ลดลง 33% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อพิจารณารายผลิตภัณฑ์พบว่าปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงทุกผลิตภัณฑ์ โดย เฉพาะรถยนต์นั่งขนาดต่ำกว่า 1,500 ซีซี มีปริมาณการจำหน่ายลดลงมากที่สุด 48% ถึงแม้ว่าความต้องการของรถยนต์ในกลุ่มนี้จะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นตัวเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวแทนการเดินทางด้วยรถยนต์สาธารณะเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 แต่ผู้บริโภคในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มผู้ที่มีรายได้ไม่มากนัก กอปรกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้สถาบันการณ์เงินมีความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์มากขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดต่ำกว่า 1,500 ซีซี
ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2563 คือ ช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตรถยนต์สะสม 606,132 คัน จำหน่ายสะสม 328,640 คัน และส่งออกรถยนต์สะสม 350,550 คัน ลดลง 43% 37% และ 37% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ ส่วนรถจักรยานยนต์ มีปริมาณการผลิตสะสม 682,515 คัน จำหน่ายสะสม 731,979 คัน และส่งออกสะสม 160,956 คัน ลดลง 30% 18% และ 15% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ
การผลิตรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน 2563 ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตรถยนต์จำนวน 71,704 คัน ลดลง 59% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของการผลิตรถยนต์ของไทย เมื่อพิจารณารายผลิตภัณฑ์พบว่าปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ รถยนต์นั่งขนาดต่ำกว่า 1,500 ซีซี ลดลงต่ำที่สุดจากตลาดในประเทศเป็นสำคัญ
ในส่วนของปริมาณรถยนต์จดทะเบียนใหม่ (ป้ายแดง) ของรถ xEV ลดลง 26% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นผลจากรถ HEV และ PHEV ที่มีจำนวน 1,647 คัน ลดลง 29% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่ รถ BEV ยังคงมีปริมาณการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ 89 คัน เพิ่มขึ้น 107% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ตลาดส่งออกรถยนต์ ลดลง 49% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกรถยนต์ลดลงไปยังทุกตลาด โดยตลาดส่งออก 3 อันดับแรกของไทย ได้แก่ โอเชียเนีย สัดส่วน 33% เอเชีย 27% และตะวันออกกลาง 21% มีปริมาณการส่งออกลดลง 33% 56% และ 14% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าตามลำดับ ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงทุกประเภทในทุกตลาด ยกเว้นการส่งออกรถ PPV ไปยัง โอเชียเนียและตะวันออกกลาง ที่เพิ่มขึ้น 17% และ 9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ส่วนการผลิตรถจักรยานยนต์ เดือนมิ.ย.63 ไทยผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 75,819 คัน ลดลง 52% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากการชะลอตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก และผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงในทุกประเภท หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์พบว่าการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงในทุกประเภทยกเว้นรถจักรยานยนต์ขนาด 150 – 399 ซีซี ที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่รถ Commuter มีปริมาณการผลิตลดลงมากที่สุด 57% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า รองลงมาคือ รถจักรยานยนต์ขนาดมากกว่า 400 ซีซี และขนาดต่ำกว่า 150 ซีซี มีปริมาณการผลิตลดลง 51% และ 38% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ ในขณะรถจักรยานยนต์ขนาด 150 – 399 ซีซี มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น 14% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ

ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวที่ดีขึ้น โดยในเดือนมิถุนายนปรับตัวดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงสองเดือนก่อนหน้า แต่ยังลดลง 17% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงทุกประเภท ยกเว้นรถจักรยานยนต์ขนาด 251 – 399 ซีซี ที่เพิ่มขึ้น 9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า รวมทั้งปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ (ป้ายแดง) ประเภท HEV ที่ลดลง 47% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากมีจำนวนรุ่นจำกัดและไม่มีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ ในขณะที่ปริมาณจดทะเบียนใหม่ (ป้ายแดง) ของรถจักรยานยนต์ BEV เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจำนวน 207 คันเพิ่มขึ้นจาก 40 คัน ในปีก่อนหน้า จากการที่เริ่มมีผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารายใหม่เปิดตัวรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ในขณะที่ตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลง17% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกรถจักรยานยนต์ขนาด 50 – 150 ซีซี ไปยังเวียดนาม และเมียนมาร์ลดลง . – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ เจ็บ 21

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ ถนนสายเอเชีย ขาขึ้น จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้บาดเจ็บ 21 คน คาดคนขับหลับใน เบื้องต้นยังไม่พบตัว

เน้นเครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B, C คาดมีผู้ติดค้างจำนวนมาก

ฝนตกหนักช่วงเช้า เพิ่มอุปสรรคค้นหาผู้ประสบภัย และการรื้อซากอาคาร สตง.ถล่ม เจ้าหน้าที่ทุกส่วนต้องหยุดปฏิบัติภารกิจชั่วคราว วันนี้ยังเน้นใช้เครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B และโซน C ที่มีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ติดอยู่ในซาก ด้านทีม K9 ประกาศยุติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย