เกษตรฯ เร่งตัดวงจรโรคใบด่างมันสำปะหลัง

กรุงเทพฯ  10 ส.ค. – ก.เกษตรฯ สั่งยกระดับโรคใบด่างมันสำปะหลัง หลังระบาดเพิ่มหลายจังหวัด เร่งทำลาย-ควบคุมเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์  


นายเฉลิมชัย  ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สั่งการให้ตัดวงจรการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง โดยปรับขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและยืนยันโรคให้กระชับและรวดเร็วขึ้น แต่ต้องเกิดผลกระทบต่อเกษตรกรน้อยที่สุด ล่าสุดสำรวจพบพื้นที่ระบาดขยายวงกว้างจาก 45,000 ไร่  11 จังหวัดในปี 2562 เป็น 350,000 ไร่ ใน 25 จังหวัด จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมด 8 ล้านไร่ เพราะไม่มีการควบคุมการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค หากล่าช้าจะเกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมมันสำปะหลังของประเทศ

นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า มอบนโยบายให้กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับกรมวิชาการเกษตรเร่งทำลายต้นที่เป็นโรค เพื่อกำจัดต้นเหตุของการระบาด รวมทั้งควบคุมไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์จากพื้นที่ระบาดไปยังพื้นที่อื่น ๆ ตลอดจนเสนอมาตรการชดเชยและเยียวยาเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับกรอบความช่วยเหลือเบื้องต้นเสนอชดเชยเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค 3,000 บาท/ไร่ และค่าทำลาย 2,160 บาท/ไร่ รวมเป็น 5,160 บาท/ไร่  นอกจากนี้ ยังเตรียมมาตรการฟื้นฟูหลังจากการทำลาย โดยทั้ง 2 กรมจะประสานความร่วมมือเร่งพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ หาพื้นที่ที่เหมาะสมผลิตท่อนพันธุ์คุณภาพและปราศจากโรคสำหรับปลูกในพื้นที่เป้าหมาย 30,000 ไร่ เพื่อผลิตท่อนพันธุ์ให้เกษตรกรปลูกทดแทนพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่ทำลายไป ทั้งนี้ ได้นำเสนอมาตรการทั้งหมดให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) พิจารณาแล้ว จากนั้น นมบส.จะเสนอ ครม.เห็นชอบต่อไป


นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า สั่งการสำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยวางขั้นตอนสำรวจ ชี้เป้าพื้นที่ระบาด และกำจัดต้นที่เป็นโรคให้ตรงตามหลักวิชาการและครอบคลุมทุกพื้นที่ระบาด รวมถึงการส่งเสริมใช้ท่อนพันธุ์ที่ทนทานและปลอดโรคมาปลูกแทน สำหรับแนวทางที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอ นมบส.พิจารณา คือ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ รวมถึงการเสนอมาตรการอื่นเพื่อการตัดวงจรของโรค ได้แก่ สนับสนุนท่อนพันธุ์มันสำปะหลังทนทานและปลอดโรคใบด่างมันสำปะหลัง เช่น ระยอง 72 เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60 แก่เกษตรกรที่ร่วมโครงการ ส่งเสริมการปลูกพืชทดแทน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน หรือพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่และมีตลาดรองรับในระหว่างปีที่รอพันธุ์จากแปลงพันธุ์ปลอดโรค ส่งเสริมการใช้ท่อนพันธุ์ที่ทนทานโรคใบด่าง และพันธุ์ที่มีการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร โดยส่งเสริมให้ผลิตและใช้ในชุมชน ตลอดจนใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อกำจัดและควบคุมการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค

ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังตลอดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดอย่างต่อเนื่อง โดย ครม.อนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังวงเงินประมาณ 248 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำลายต้นที่เป็นโรคและชดเชยรายได้ให้เกษตรกร แต่การดำเนินการโครงการยังมีข้อจำกัด ทำให้ยังมีการระบาดต่อเนื่อง ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้กำชับให้ทุกจังหวัดเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบสาเหตุหลักของการระบาดและแนวทางควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแล้ว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยอีสาน อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย-ใต้ตอนบน ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ เผยภาคใต้ตอนบน มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่วนประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อยในภาคอีสาน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว