ย้ำเตือนยังไม่มีสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชผ่านการขึ้นทะเบียน

กรุงเทพฯ  31 ก.ค. – อธิบดีกรมวิชาการเกษตรย้ำยังไม่มีสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชผ่านการขึ้นทะเบียน แต่ 2 ยี่ห้อที่เป็นสารสกัดจากพืช ซึ่งทะเบียนกำลังจะหมดอายุปีนี้ ตรวจพบผสมพาราควอต จึงกวาดล้างโรงงานผลิต ส่งดำเนินคดีแล้วปลายปี 62 ชี้พร้อมร่วมกับดีเอสไอจับกุมทุกราย ไม่ยกเว้น


นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวถึงการกวาดล้างแหล่งผลิตสารชีวภัณฑ์ปลอมซึ่งอ้างสรรพคุณว่า สามารถกำจัดวัชพืชได้นั้น กรมวิชาการเกษตรยืนยันว่ายังไม่มีสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชชื่อการค้าใดที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรแล้ว ส่วนที่เคยตรวจจับ 2 ชื่อการค้าคือ “กรีนเบิร์น” ทะเบียนเลขที่ 2543/2557 และ”คิวสตาร์” ทะเบียนเลขที่ 2498/2557 แจ้งผลิตโดยบริษัทไทย เนเจอรัล โปรดักส์ ซัพพลาย จำกัด ไม่ใช่สารชีวภัณฑ์แต่เป็นผลิตภัณฑ์สารสกัดจากพืช โดย ทะเบียน “กรีนเบิร์น” จะหมดอายุในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ส่วน “คิวสตาร์” ทะเบียนจะหมดอายุในวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 การผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครองจะต้องขอขึ้นทะเบียน แจ้งการดำเนินการ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ รวมถึงวิธีการที่กำหนด

ทั้งนี้ บริษัทนำผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดที่นำมาขอขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์สารสกัดจากพืช แล้วจึงนำไปผลิตเพื่อจำหน่าย ต่อมาในเดือนธันวาคม 2562 มีผู้แจ้งเบาะแสว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจปลอมปนสารเคมี จึงเข้าตรวจสอบโรงงานผลิตและเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ พบมีส่วนผสมของพาราควอต สารวัตรเกษตรจึงสั่งอายัดของกลางไว้ทั้งหมด แล้วให้ผู้ผลิตเรียกคืนสินค้าจากตัวแทนจำหน่ายกลับคืนมาทั้งหมด ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด ส่วนการเพิกถอนทะเบียนจะทำได้ต่อเมื่อคดีความสิ้นสุด เป็นไปตามพ.ร.บ. วัตถุอันตราย 2535 มาตรา 40 วัตถุอันตรายใดที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วต่อมาปรากฏว่าไม่มีประโยชน์ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ หรือหากนำมาใช้แล้วอาจเกิดอันตรายต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อมโดยไม่มีวิธีปกติตามควรที่จะป้องกันได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจเพิกถอนทะเบียนวัตถุอันตรายนั้นได้ เมื่อมีการเพิกถอนทะเบียนวัตถุอันตรายใดแล้วสิทธิ์ในการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายนั้นเป็นอันระงับไป


อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อว่า สารชีวภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรมีเพียงสารชีวภัณฑ์กำจัดโรคพืชและศัตรูพืชรวม 73 ทะเบียนเท่านั้น โดยขั้นตอนการขึ้นทะเบียนจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์สำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ขั้นตอนที่ 1 การประเมินข้อมูลพิษวิทยาคณะทำงานเพื่อพิจารณาชีวภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากพืชที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช จะประเมินข้อมูลพิษวิทยาที่สำคัญ ได้แก่ คุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และด้านเทคนิคของชีวภัณฑ์ พิษวิทยาและข้อมูลการรับสัมผัส สารพิษตกค้างใน/บนผลิตภัณฑ์อาหารและสิ่งแวดล้อม ผลของชีวภัณฑ์ต่อสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมาย กรรมวิธีการผลิตและแหล่งที่มาของเชื้อ

ขั้นตอนที่ 2 การขอนำเข้าหรือผลิตตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยผู้ประกอบการต้องยื่นคำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างวัตถุอันตรายซึ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์จะแบ่งเป็น 2 ส่วนเพื่อวิเคราะห์ตามข้อกำหนดของวัตถุอันตราย และเพื่อทดสอบประสิทธิภาพเมื่อผลวิเคราะห์ตรงตามมาตรฐานผู้ประกอบการต้องนำตัวอย่างไปทดลองประสิทธิภาพภายใต้การควบคุมของนักวิชาการกรมวิชาการเกษตร

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองประสิทธิภาพผู้ประกอบการต้องยื่นคำขออนุญาตทำการทดลองประสิทธิภาพวัตถุอันตรายขั้นการทดลองเบื้องต้นและแผนการทดสอบประสิทธิภาพเมื่อการทดลองสิ้นสุด ให้ส่งรายงานผลการทดลองประสิทธิภาพ พร้อมข้อความที่ขอระบุในฉลากที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว หากการดำเนินการดังกล่าวผ่านการพิจารณาผู้ประกอบการทำต้องหนังสือส่งผลการประเมินข้อมูลพิษวิทยาผลการทดลองประสิทธิภาพและผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยื่นที่กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  กรมวิชาการเกษตร เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตร หากคณะอนุกรรมการฯ เห็นควรให้ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายพนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายให้แก่ผู้ประกอบการต่อไป


ปัจจุบันมีสารชีวภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร 73 ทะเบียน ประกอบด้วย Bacillus thuringiensis 57 ทะเบียนซึ่งใช้ป้องกันกำจัดหนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนเจาะฝักลายจุด และหนอนหัวดำ Bacillus amyloliquefaciens 1 ทะเบียนใช้ป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในพริก Bacillus subtilis 8 ทะเบียนใช้ป้องกันกำจัดโรคกาบใบแห้งในข้าว และโรคแอนแทรคโนสในพริก Beauveria bassiana 2 ทะเบียนใช้ป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาว Metarhiziumanisopliae 2 ทะเบียน ใช้ป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในมะเขือเปราะ Nuclear Polyhedrosis Virus (NPV) 1 ทะเบียนใช้ป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม และTrichoderma harzianum 2 ทะเบียนใช้ป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในพริก

“ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการขึ้นทะเบียนฯ ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาขึ้นทะเบียนกลุ่มวัตถุอันตรายที่มีความปลอดภัยทุกด้าน ซึ่งผู้ขอขึ้นทะเบียนทุกรายจะต้องทำการทดลองประสิทธิภาพกับพืชและศัตรูพืชตามที่ระบุไว้ในฉลาก เพื่อพิสูจน์ว่าวัตถุอันตรายที่ขอขึ้นทะเบียนสามารถใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ผลจริง แต่ย้ำว่าสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชที่ผ่านการขึ้นทะเบียนยังไม่มีแม้แต่รายเดียว หากพบการจำหน่ายจะตรวจจับทุกราย ไม่มียกเว้น” นางสาวเสริมสุข กล่าว

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่มพาลูก-เมียกลับจากฉลองวันเกิด รถยางระเบิดเสียหลักชนเสาไฟ ดับ 3 สาหัส 2

พ่อแม่ลูก 5 คน กลับจากฉลองวันเกิด รถกระบะยางระเบิดเสียหลักหมุนชนอัดเสาไฟฟ้า พ่อและแม่พร้อมลูกคนโตเสียชีวิตคาที่ ส่วนลูกคนกลางและคนเล็กอาการสาหัส

สุดโหด! ไล่แทงหนุ่มดับปมขัดแย้งยาเสพติด

วงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายวิ่งข้ามถนนไล่แทงหนุ่มเสียชีวิต ชาวบ้านแตกตื่น ขณะที่ตำรวจรวบตัวทันควัน คาดปมขัดแย้งยาเสพติด

กยศ.เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน พ.ค.-มิ.ย.68

กยศ. เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน ช่วยเหลือชั่วคราว พ.ค.-มิ.ย.68 ให้นายจ้างลดยอดการหักเงินเดือน ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มผ่อนชำระใหม่เป็นรายเดือนในอัตราลดลง

ข่าวแนะนำ

ผู้เสียหาย 70 ราย ร้องสภาทนายฯ ถูกหอพักโหดเอาเปรียบ

ผู้เสียหาย 70 คน เข้าร้องสภาทนายความช่วยเหลือ หลังถูกเจ้าของหอพัก ย่านรังสิต เอาเปรียบ ข่มขู่กักขัง-ยึดทรัพย์ ด้านนายกสภาทนายความ ตั้งคณะทำงานช่วยเหลือทางคดี ทั้งแพ่ง-อาญา เชื่อมีผู้เสียหายเพิ่มอีก

คณะกรรมการแพทยสภา มีมติลงโทษ 3 แพทย์ เซ่นปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14

คณะกรรมการแพทยสภา มีมติลงโทษแพทย์ 3 ท่าน เซ่นปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ โดยว่ากล่าวตักเตือน 1 ท่าน พักใช้ใบประกอบวิชาชีพ 2 ท่าน เผยมติที่ประชุมมีความเห็น “เป็นเสียงส่วนใหญ่มาก มาก มาก”

นายกฯ มาเลเซีย ต่อสายคุย “แพทองธาร” ติดตามสถานการณ์ใต้

นายกฯ มาเลเซีย ต่อสายคุย “แพทองธาร” ติดตามสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ แสดงความพร้อมร่วมมือกับไทยเพื่อยุติความรุนแรง พร้อมใช้เวทีอาเซียนสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกมากขึ้น