กรุงเทพฯ 30 เม.ย. – เอสซีจี เผยไตรมาส 1 กำไร 1,099 ล้านบาท ดีขึ้นทุกธุรกิจ ส่วนไตรมาส 2 แนวโน้มกำไรพุ่ง งัด 4 กลยุทธ์ สู้ศึกสงครามการค้าโลกรุนแรงยืดเยื้อ
นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่าไตรมาส 1 ปี 2568 เอสซีจี มีกำไรสำหรับงวด 1,099 ล้านบาท เนื่องจากทุกธุรกิจปรับตัวดีขึ้น ตามมาตรการเสริมความเข้มแข็งทางการเงินที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เร่งยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ด้วยการลดต้นทุนการผลิตและการบริหารจัดการ รวมทั้งการขยายตลาดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับซิเมนต์และการก่อสร้างมีความต้องการเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลก่อสร้างและงบประมาณภาครัฐที่เบิกจ่ายต่อเนื่อง ขณะที่เอสซีจี เคมีคอลส์ ปรับตัวดีขึ้นจากการบริหารต้นทุน และปรับพอร์ตสินค้า รวมถึง เอสซีจีพี ที่ยังคงแข็งแกร่งจากการมุ่งเน้นการเติบโตเพื่อรองรับอุปสงค์ของผู้บริโภคภายในประเทศของกลุ่มอาเซียน เสริมพอร์ตสินค้าสำหรับผู้บริโภคควบคู่กับการบริหารต้นทุน
“ผลประกอบการไตรมาส 1 ทุกธุรกิจดีขึ้นกว่าไตรมาส 4 ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวของธุรกิจเพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขัน ส่วนไตรมาส 2 มั่นใจว่ากำไรจะสูงกว่าไตรมาส 1 ส่วนไตรมาสที่ 3 และ 4 ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมิน หรือคาดเดาได้ เนื่องจากประเด็นเรื่องกำแพงภาษีและสงครามการค้า และการเจรจาขอถ่ายกับสหรัฐก็ยังไม่เกิดขึ้นทั้งนี้ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด” นายธรามศักดิ์ กล่าว
ขณะเดียวกันเอสซีจี ได้ดำเนินมาตรการเสริมความเข้มแข็งทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการกระแสเงินสด ต้นทุน และเงินหมุนเวียนอย่างระมัดระวัง ส่งผลให้ไตรมาส 1 ปี 2568 เอสซีจี มีกระแสเงินสด 12,889 ล้านบาท สะท้อนการปรับตัวฉับไวของธุรกิจเพื่อคงศักยภาพการแข่งขัน ท่ามกลางความท้าทาย
อย่างไรก็ดี สถานการณ์สงครามการค้าโลก จากการขึ้นภาษีสหรัฐ ส่งผลกระทบทางตรงต่อเอสซีจีเพียงเล็กน้อยเนื่องจากปี 2567 มีการส่งออกสินค้าไปสหรัฐเพียง 1% จากยอดขายรวมของเอสซีจี ส่วนผลกระทบทางอ้อม หากพ้นระยะที่สหรัฐ ชะลอการเก็บภาษีนำเข้า 90 วัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกชะลอตัวรุนแรง จะส่งผลให้สินค้าจากต่างประเทศทะลักเข้าไทยมากขึ้น
ขณะเดียวกันท่ามกลางสงครามการค้าที่สร้างแรงกดดันทั่วโลก แต่ก็ยังมีโอกาสซ่อนอยู่เช่นแนวโน้มราคาน้ำมันโลกที่ลดลง ผู้ผลิตปิโตรเคมีในจีนประสบปัญหาการจัดการวัตถุดิบจากสหรัฐ ตลอดจนบางตลาดยังมีกำลังซื้อสูงสำหรับสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added Product) รวมถึง Green Products นั้สินค้าคุณภาพราคาจับต้องได้ เอสซีจี ถึงยกระดับการปรับตัวให้เข้มข้นเพื่อรับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัวโดยสี่กลยุทธ์สำคัญประกอบด้วย
1.ลดต้นทุน แข่งขันกับผู้ผลิตระดับโลกเพื่อรับมือสินค้าราคาถูกจากประเทศอื่นที่อาจเข้ามาแข่งขัน ด้วยการลดต้นทุนการผลิต ลดต้นทุนการบริหารจัดการ กลับรถเงินทุนหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเพิ่มการใช้พลังงานสะอาด
2.ขยายพอร์ตสินค้าให้รองรับความต้องการตลาดทุกระดับ เช่น พัฒนาสินค้ามูลค่าเพิ่มสูงและสินค้ากรีน
เพิ่มสินค้าคุณภาพราคาจับต้องได้
- บุกตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง
- สร้างความได้เปรียบโดยส่งออกจากฐานการผลิตที่หลากหลายในภูมิภาคอาเซียน
อย่างไรก็ตาม แม้สงครามการค้าจะมีความไม่แน่นอน และอุปสงค์เคมีภัณฑ์ชะลอตัวแต่เอสซีจีคาดว่าจะได้รับอนิสงค์บวกจะราคาน้ำมันโลกที่มีแนวโน้มลดลงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเคมีภัณฑ์ลดลง จึงต้องจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด. -517-สำนักข่าวไทย