ธปท.ชี้ระบบการเงินไทยยังมีเสถียรภาพ

กรุงเทพฯ 23 เม.ย. – ธปท.เผยปี 2567 ระบบการเงินไทยยังมีเสถียรภาพ ภาวะการเงินตึงตัวมากขึ้น จับตานโยบาย ทรัมป์ 2.0 -ปัญหาเชิงโครงสร้างบางภาคธุรกิจ -แผ่นดินไหว-หนี้ครัวเรือนที่ยังสูง ส่งผลความเชื่อมันนักลงทุน-สภาพคล่องธุรกิจ-ปล่อยสินเชื่อยาก


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานเสถียรภาพระบบการเงินไทยปี 2567 โดยระบุว่าที่ผ่านมา ระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ สามารถสนับสนุนกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจจริงสถาบันการเงิน (สง.) ทั้งธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (specialized financial institution: SFis) ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank retail lenders: NBRLs) และสหกรณ์ออมทรัพย์ (สอ.) โดยรวมยังมีฐานะการเงินเข้มแข็งแม้คุณภาพหนี้ด้อยลง นอกจากนี้ ระดับหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product: GDP) ปรับลดลงต่อเนื่อง สะท้อนถึงการลดหนี้ (deleverage) ที่จะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพระบบการเงินในระยะข้างหน้า

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจและภาคการเงินที่อาจได้รับผลกระทบจาก ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ อาทิ นโยบายการค้าและนโยบายภาษีของประเทศต่าง ๆ ปัญหาเชิงโครงสร้างของบางภาคธุรกิจ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินในระยะข้างหน้า ได้แก่


  1. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เปราะบางและอ่อนไหวต่อทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก รวมถึงบางภาคธุรกิจที่ยังฟื้นตัวช้า มีปัญหาเชิงโครงสร้างและเผชิญกับการแข่งขันจากจีน ขณะที่ความเชื่อมั่นที่เปราะบางของนักลงทุนอาจนำไปสู่การขายสินทรัพย์ที่ทำให้ราคาปรับลดลง กระทบต่อฐานะของนักลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายย่อย รวมถึงทำให้ต้นทุนการกู้ยืมผ่านตลาดทุนและความเสี่ยงในการออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนดอายุ (rollover risk) ปรับเพิ่มขึ้น โดยหากมีเหตุการณ์ที่นำไปสู่การปรับตัวลงอย่างมากของราคาสินทรัพย์ใน ต่างประเทศ (global asset price correction) จะยิ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและอาจนำไปสู่การเทขาย สินทรัพย์จากความตื่นตระหนก (panic asset selling) อันจะส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินอย่างมากได้
  2. ภาวะการเงินที่อาจตึงตัวมากขึ้นและส่งผลต่อสภาพคล่องของธุรกิจและครัวเรือน รวมถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยในปี 2567 ภาวะการเงินมีความตึงตัวขึ้น สะท้อนจากสินเชื่อ ที่ขยายตัวในระดับต่ำ และการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนที่หดตัว โดยมีสาเหตุทั้งจากความต้องการสินเชื่อที่ลดลง การชำระคืนหนี้ และความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้ยืมบางกลุ่มที่สูงขึ้น ทำให้ สถาบันการเงินระมัดระวังในการให้สินเชื่อแก่ผู้กู้กลุ่มนี้ โดยการประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ)จะเป็นแรงกดดันเพิ่มเติมต่อการลงทุน การค้าและการแข่งขันกับสินค้าจีนที่เข้ามาในไทยมากขึ้น (import Rooding) โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในสัดส่วนที่สูงและหาตลาดทดแทนได้ยาก รวมถึง ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (small and medium enterprises: SMEs) ที่มีปัญหาด้านการเข้าถึง สินเชื่อและความสามารถในการแข่งขันอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการจ้างงานของธุรกิจเหล่านี้และรายได้ครัวเรือน ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนลดลง ขณะที่ สถาบันการเงิน และ นักลงทุนมีความระมัดระวังในการให้กู้แก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น อีกทั้งสภาพคล่องที่ลดลงของธุรกิจและครัวเรือนจะเป็นปัจจัยกดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมในระยะข้างหน้าได้
    (3) บริษัทขนาดใหญ่บางรายมีการก่อหนี้ในระดับสูง (highly leveraged large corporations:
    HLLCs) และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ แม้บริษัทขนาดใหญ่โดยรวมจะมีฐานะการเงินดีซึ่งระดับหนี้ที่สูงโดยเปรียบเทียบของ HLLCS เกิดจาก สถาบันการเงินและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อความสามารถในการชำระหนี้ของ HLLCS ที่ส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานดี จึงยังไม่ส่งผลต่อเสถียรภาพในระยะสั้น อย่างไรก็ตามระดับหนี้ที่สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นการสะสมความเปราะบาง ทำให้ความสามารถในการรองรับความเสี่ยง (negative shocks) ของบริษัทลดลง โดยเฉพาะ HLLCS ที่มีระดับหนี้สูง มีรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ที่ค่อนข้างอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งหากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากนโยบายการค้าของประเทศต่าง ๆ อาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินและการชำระหนี้ของ HLLCS บางรายแก่เจ้าหนี้ที่มีทั้ง สถาบันการเงิน และผู้ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีทั้งนักลงทุนสถาบันและ บุคคลธรรมดา และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ฝากเงิน รวมถึงอาจ ส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินได้หากความเชื่อมั่นลดลงเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกรณีที่บริษัทมีความเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจและการเงินสูง

(4) ฐานะการเงินของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (developer) บางรายที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด หลังจากที่ภาคอสังหาริมทรัพย์มีการชะลอตัวต่อเนื่องและฟื้นตัวช้า โดยในปี 2567 ภาคอสังหาริมทรัพย์ประสบกับอุปสงค์ที่ลดลงตามกำลังซื้อของประชาชนที่อ่อนแอ และหนีครัวเรือน ที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะผู้กู้ที่มีฐานะการเงินเปราะบาง สะท้อนจากอุปทานคงค้างที่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท อีกทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและอุปสงค์ของอาคารชุดในระยะสั้น ทำให้ developer บางรายที่เน้นพัฒนาอาคารชุดเป็นหลักอาจเผชิญ กับความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (reputation risk) และการระบายอุปทานคงค้างของอาคารชุดที่อาจทำได้ยากขึ้นหากอาคารได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งในที่สุดจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้โดย developer บางรายที่มีฐานะการเงินอ่อนแออยู่แล้วในช่วงก่อนหน้า อาจมีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และกระทบต่อความเชื่อมั่นในตลาดการเงินที่เปราะบางอยู่แล้ว ทำให้ความเสี่ยงในระบบการเงินปรับเพิ่มขึ้นได้

ที่ผ่านมา ธปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลัง ได้มีการออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพระบบการเงินและบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจการเงินที่จะมีต่อลูกหนี้ ทั้งมาตรการชั่วคราวเพื่อ ดูแลความเสี่ยงระยะสั้น ได้แก่ (1) มาตรการที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องเพื่อบรรเทาภาวะการเงินตึงตัวของ ลูกหนี้ ทั้งการคงอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของสินเชื่อบัตรเครดิตให้อยู่ที่ร้อยละ 8 มาตรการจ่ายตรงคงทรัพย์ ภายใต้โครงการคุณสู้ เราช่วย ซึ่งช่วยลดค่างวดและยกเว้นดอกเบี้ย หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ขอความร่วมมือ สถาบันการเงิน ในการพิจารณาช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อบรรเทาผลกระทบของเหตุการณ์แผ่นดินไหว ผ่านการพิจารณาปรับลดอัตราการผ่อนชำระขันตำของสินเชื่อบัตรเครดิตปรับเงื่อนไขวงเงินฉุกเฉินชั่วคราวสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลให้เกินกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด และพิจารณาช่วยเหลือสภาพคล่องและปรับเงื่อนไขสำหรับวงเงินทุกประเภทและ (2) มาตรการเพื่อประคับประคองภาคอสังหาริมทรัพย์ โดย ธปท. ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (เกณฑ์ loan to value: LTV)เป็นการชั่วคราว เพื่อบรรเทาปัญหาอุปทานคงค้างที่อยู่ในระดับสูงได้บ้าง สอดคล้องกับที่กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการการลดค่าธรรมเนียมการโอน และจดจำนองเหลือร้อยละ 0.01 โดยมีผลถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 และ (3) มาตรการเพื่อดูแลความผันผวนในตลาดหลักทรัพย์ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) ได้แก่ การปรับราคาเสนอซื้อขายสูงสุดและต่ำสุด (ceiling & floor) การปรับกรอบการเคลื่อนไหวของราคาซื้อ-ขายหลักทรัพย์ระหว่างวัน (dynamic price band)การห้ามการยืมหลักทรัพย์มาเพื่อขาย (short sell) และ การปรับขอบเขตสูงสุดของการเคลื่อนไหวของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสัญญาสิทธิล่วงหน้าที่อนุญาตให้ทำการซื้อขายได้ (daily price limit)

อีกทั้ง มีมาตรการระยะยาว เพื่อช่วยให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ (1) มาตรการเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อ ทั้งการเตรียมความพร้อมโครงการ Your Data ซึ่งเป็นกลไกในการรับส่งข้อมูลภายในและภายนอกภาคการเงิน เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ ด้วยราคาที่เหมาะสม รวมถึงการเตรียมการจัดตั้งสถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (National Credit Guarantee Agency: NaCGA) เพื่อยกระดับกลไกการค้ำประกันให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลายด้วยต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความเสี่ยง ทั้งนี้ มาตรการข้างต้นยังช่วยสนับสนุนให้ สง. ประเมินความเสี่ยงของลูกหนี้ได้ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น (2) มาตรการเสริมสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยสำนักงาน ก็.ล.ต. ได้มีการยกระดับหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้ภาคเอกชนให้มีความเข้มงวดมากขึ้น รวมถึงปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์แนวโน้มความสามารถในการชำระหนี้และฐานะการเงินของผู้ออกตราสารหนี้ได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้ อาทิ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (bondholder representative: BHR)บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating agency: CRA) และที่ปรึกษาทางการเงิน (financial advisor:FA)
และ (3) มาตรการการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ทั้งการแก้หนี้เดิมที่มีปัญหาและการวางกรอบแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพื่อให้ภาคครัวเรือนมีความสามารถในการรองรับความไม่แน่นอนด้านรายได้ในอนาคตมากขึ้นโดยมีการปรับเงื่อนไขมาตรการช่วยลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (persistent debt) ให้สามารถช่วยลูกหนี้ได้มากขึ้น และออกมาตรการ จ่าย ปิด จบ ภายใต้โครงการคุณสู้ เราช่วย เพื่อให้ลูกหนี้ปิดบัญชีหากชำระหนี้บางส่วน สำหรับหนี้เสียที่ยอดคงค้างไม่เกิน 5,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีการบังคับใช้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (responsible lending) เพื่อเสริมสร้างบทบาทของผู้ให้บริการในการรับผิดชอบลูกค้าตลอดวงจรหนี้อย่างเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมวินัยทางการเงินผ่านการกระตุกพฤติกรรมตลอดวงจรหนี้.-516-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

‘ฮุน เซน’ ไลฟ์สดกล่าวถึงปัญหาไทย-กัมพูชา

พนมเปญ 27 มิ.ย. – วันนี้นายฮุนเซน ไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กแต่เช้า พูดถึงเรื่องปัญหาความขัดแย้งไทยกับกัมพูชา สรุปประเด็นได้ดังนี้ 7. ประเด็นอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร นายฮุน เซนกล่าวว่า เมื่อตอนที่เดินทางมาเยี่ยมนายทักษิณที่ประเทศไทย เห็นกับตาว่า เวลานายทักษิณจะถ่ายรูปด้วยกัน ต้องหยิบปลอกคอทางการแพทย์มาสวมก่อน พอถ่ายรูปเสร็จก็ถอดออก แล้วไปกินข้าวด้วยกันเป็นปกติ 8.นายฮุน เซนระบุว่า กัมพูชาจะไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติดูหมิ่นกองทัพหรือผู้นำกองทัพ และนายฮุน เซน ถือว่าการกระทำของนางสาวแพทองธาร ต่อแม่ทัพภาคที่ 2 ของไทย ถือเป็นการหมิ่นเบื้องสูง.-810.-สำนักข่าวไทย

เช็กโผ ครม.ล่าสุด นายกฯ นั่งควบ รมว.วัฒนธรรม

ทำเนียบฯ 27 มิ.ย. – คืบหน้า ครม.ใหม่ นายกฯ นั่งควบ รมว.วัฒนธรรม โยก “สุดาวรรณ” นั่ง รมว.อว. ขณะที่ หลานชาย สุริยะ “พงศ์กวิน” นั่ง รมว.แรงงาน ความคืบหน้าในการปรับคณะรัฐมนตรี ( ครม.) ชุดใหม่ ล่าสุดมีรายงานว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เตรียมนำรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ แล้ว โดยโผ ครม.ล่าสุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะนั่งควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดย น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จะไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ส่วนนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะไปดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ควบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายจักรพงษ์ แสงมณี จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ […]

เร่งหาทอง 38 บาท หลังคนร้ายจบชีวิต หนีความผิด

ชลบุรี 27 มิ.ย. – คนร้ายบุกชิงทอง 38 บาท กลางห้างดังชลบุรี โดดคอนโด หนีความผิด หลังก่อเหตุ 2 ชม. ค้นบ้านเจอเอกสารทวงหนี้จำนวนมาก ตำรวจเร่งหาที่ซ่อนทอง ช่วงสายวานนี้ ประมาณ 09.30 น. เกิดเหตุคนร้าย เป็นชาย สวมเสื้อแขนยาวสวมหมวกใส่แมสก์ปิดบังใบหน้า เข้ามาใช้ปืนจี้พนักงานก่อเหตุชิงทอง ห้างทองภายในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง สาขาบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี ได้ทองรูปพรรณไปทั้งหมดรวม 38 บาท ซึ่งขณะหลบหนี ดาบตำรวจสมปอง ฟองดา ผบ.หมู่ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนภูธรภาค 2 เห็นเหตุการณ์พอดี พยายามกระโดดขวางและเข้าชาร์จตัวผู้ก่อเหตุ จังหวะนั้นผู้ก่อเหตุ ได้ยิงเพื่อเปิดทางหนึ่งนัด กระสุนโดนหมวกกันน็อกดาบตำรวจสมปอง จนเป็นรู และสามารถแย่งปืนมาได้ แต่ไม่สามารถจับตัวได้ คนร้ายวิ่งหนีออกจากห้างไปอย่างรวดเร็วตำรวจในพื้นที่เร่งตรวจสอบกล้องวงจรปิด เพื่อติดตามเส้นทางหลบหนี แต่ผ่านไปเพียง 2 ชั่วโมง ประมาณ 11.30 น. ตำรวจ สภ.ดอนหัวฬ่อ ได้รับแจ้งคนตกจากคอนโดมีเนียม จึงเดินทางไปตรวจสอบพร้อมกู้ภัย […]

พบระเบิดอีกที่หาดสุรินทร์

ภูเก็ต 27 มิ.ย.-พบระเบิดอีก 1 ชุดที่หาดสุรินทร์ จ.ภูเก็ต ชุด EOD เข้าทำลายแล้ว เร่งค้นหาว่ามีจุดวางระเบิดอีกหรือไม่ หลังคนร้ายรับสารภาพวางระเบิดไว้ที่หาดสุรินทร์ 2 จุด ภายหลังจากตำรวจจับผู้ต้องหาลอบวางระเบิดสถานที่ท่องเที่ยวทั้งที่จังหวัดภูเก็ตและกระบี่ ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า ยังได้วางระเบิดไว้ที่หาดสุรินทร์ 2 จุด คือที่บริเวณหาดสุรินทร์ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ใกล้กับสถานที่กำลังก่อสร้าง ขณะนี้เจ้าหน้าที่ชุด EOD ตำรวจภูธรภาค 8 ชุดสืบสวนภาค 8 ชุดสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เชิงทะเล เจ้าหน้าที่ อบต.เชิงทะเล และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณหาดสุรินทร์ พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือสแกนหาวัตถุต้องสงสัย และเครื่องตรวจจับโลหะ และตรวจพบวัตถุต้องสงสัย 1 ชุด ถูกฝังไว้ใต้ต้นไม้ ใกล้ห้องน้ำ บริเวณที่กำลังมีการปรับปรุงภูมิทัศน์หาดสุรินทร์ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง และเจ้าหน้าที่ EOD ใช้ยุทธวิธีในการทำลาย อย่างไรก็ตามขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังค้นหาว่าจะมีจุดวางระเบิดอีกหรือไม่ เพราะจากคำสารภาพของผู้ต้องหา ระบุว่า มีการนำวัตถุต้องสงสัยมาวางไว้ […]

ข่าวแนะนำ

“พล.อ.ณัฐพล​” ยัน​ไม่มีสุญญากาศ​ แม้ไร้​ รมว.กลาโหม

กลาโหม 2 ก.ค.- “พล.อ.ณัฐพล​” ยัน​ไม่มีสุญญากาศ ​แม้ไร้​ รมว.กลาโหม​ เผย​ชายแดนกัมพูชา​มีแนวโน้มดีขึ้น​ หลัง “เตีย​ เซ็ยฮา​” ยอมคุย​เปิดเวที​ GBC​ แต่อยู่ระหว่างต่อรอง​ ย้ำ​คำนึงถึงศักดิ์​ศรีของ​ 2 ประเทศ​ ขอบคุณนายกฯ เชื่อมั่น​ พร้อมระบุ​ กต.​เตรียมรับมือปม “ฮุน มา​เนต” นำ​ 3 ปราสาท​ -​ 1 พื้นที่สู่ศาลโลก พลเอกณัฐพล​ นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม​ กล่าวถึง ภาพรวมสถานการณ์ชายแดนไทย- กัมพูชา ว่า ขณะนี้สถานการณ์ยังทรงอยู่ แต่เราได้ใช้กลไกในทุกระดับของกองทัพ ในการประสานงานกับกัมพูชา และพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการพูดคุยแบบทวิภาคี​ สิ่งที่กระทรวงกลาโหมคาดหวัง คือกลไก​ GBC​ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ในขณะเดียวกันระดับรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศ ก็มีการพูดคุย​ ซึ่งมีสัญญาณที่ดีขึ้นเล็กน้อย คือทางกัมพูชาเริ่มคุยด้วยจากก่อนหน้านี้ที่ไม่คุยเลย แต่ยอมรับว่ายังมีการต่อรองกันอยู่ ซึ่งฝ่ายไทยยึดถือศักดิ์ศรีของ 2 ประเทศ […]

“สุริยะ” ปัดตอบตื่นเต้นหรือไม่ รักษาราชการแทนนายกฯ วันแรก

ทำเนียบ 2 ก.ค.- “สุริยะ” ยิ้มรับสื่อฯ ทำหน้าที่รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรี ปีที่ 93 ปัดตอบตื่นเต้นหรือไม่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เดินลงจากตึกไทยคู่ฟ้าโดยมีสีหน้ายิ้มแย้ม ปฏิเสธตอบคำถามสื่อมวลชนว่าตื่นเต้นหรือไม่ ในการทำหน้าที่รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีเป็นวันแรก จากนั้นนายสุริยะ เป็นประธานในพิธีเนื่องในโอกาสวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรี ปีที่ 93 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ถือเป็นภารกิจแรกหลังทำหน้าที่รักษาราชการนายกรัฐมนตรี -สำนักข่าวไทย

“ทักษิณ” ฟังสืบพยานโจทก์ นัดที่ 2 คดีหมิ่นเบื้องสูง

2 ก.ค.- “ทักษิณ” ถึงศาลอาญา เข้าฟังสืบพยานโจทก์ นัดที่ 2 คดีหมิ่นเบื้องสูง ทนายเผยคุยกับลูกความแค่เรื่องคดี ปัดคุยเรื่องการเมือง ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดสืบพยานโจทก์นัดที่ 2 คดีดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลยในความผิด ฐานดูหมิ่นสถาบันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ม.112 ความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีเมื่อปี 2558 นายทักษิณ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อทีวีต่างประเทศประเทศเกาหลีใต้พาดพิง ดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง โดยจำเลยให้การปฏิเสธ และได้รับการประกันตัว วันนี้ นายทักษิณ จะเดินทางเข้ามาฟังการสืบพยานโจทก์เป็นวันที่สอง โดยเดินทางมาถึงศาล เวลาประมาณ 09.26 น. ด้านนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของนายทักษิณ กล่าวว่า วันนี้เป็นการสืบพยานโจทก์นัดที่ 2 โดยเป็นการสืบพยานโจทก์ทั้งหมด 4 ปาก แต่ตนไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นใครบ้าง และในส่วนของพยานจำเลยจะเริ่มในสัปดาห์ถัดไป เมื่อถามว่าหลังจากการสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวานเสร็จสิ้นได้มีการพูดคุยกับนายทักษิณหรือไม่ นายวิญญัติ กล่าวว่า ได้มีการคุยกันในฐานะทนายความกับลูกความ […]

อุตุฯ เตือนเหนือ-อีสานตอนบน ฝนตกหนักมากบางพื้นที่ กทม.ฟ้าคะนอง 70%

กรุงเทพฯ 2 ก.ค. – กรมอุตุฯ เตือนฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง 70% และมีฝนตกหนักบางแห่ง กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในรายภาค ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้ เนื่องจากร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และตอนบนของภาคเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง […]