ก.อุตฯ ผนึก World Bank เปิดเกมรุก “Industrial Decarbonization”

กรุงเทพฯ 31 มี.ค. – “เอกนัฏ” เปิดเวที CEO Forum ชูแนวทาง Industrial Decarbonization ภายใต้โครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการไทยลดคาร์บอน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมประกาศเจตนารมณ์ร่วมลดก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน มุ่งเป้า Net Zero 2065 ผ่านนวัตกรรมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน


นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand’s Low Carbon City Program” ตอกย้ำความมุ่งมั่นขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero 2065 ด้วยนวัตกรรมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

นายเอกนัฏ กล่าวเปิดงานโดยเน้นย้ำว่า การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้มีความยั่งยืน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและโครงสร้างการผลิต การทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างโอกาสในการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สะอาด สะดวก โปร่งใส” โดยมีกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ 5 ประเด็น และภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ อาทิ การจัดการปัญหากากอุตสาหกรรม การลดมลพิษทางอากาศ การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว การพัฒนาศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาล การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการยกระดับงานบริการ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืน โดยภารกิจสำคัญเร่งด่วนคือ การสนับสนุนให้อุตสาหกรรมไทยสามารถปรับตัวไปสู่เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Transition to New Economy) โดยการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Greening Supply Chain)ให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ (Low Carbon Industry) และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม


ด้านนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงฯ ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยตั้งเป้า Net Zero Emissions ภายในปี 2065 โดยการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว บังคับใช้เกณฑ์ใหม่ปี 2568 ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดของเสีย และสนับสนุนเทคโนโลยีสะอาด นอกจากนี้ จะมีการประกาศใช้มาตรฐานลดก๊าซเรือนกระจก 7 มาตรฐาน พัฒนาแนวทางให้สอดคล้องสากล และสร้างกลไกให้สถานประกอบการเข้าถึงเทคโนโลยีลดคาร์บอนได้ง่ายขึ้นrพร้อมทั้งส่งเสริมพลังงานสะอาด ร่วมมือกระทรวงพลังงานแก้ไขอุปสรรค สนับสนุนพลังงานหมุนเวียน ลดพึ่งพาพลังงานฟอสซิล และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน กำหนดมาตรฐานใหม่กว่า 55 มาตรฐาน ส่งเสริมอุตสาหกรรม New S-Curve และขับเคลื่อนนโยบาย MIND (Move to Net Zero, Innovation,Digitalization) โดยมีเป้าหมายครอบคลุมเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม กระทรวงฯ เชื่อมั่นในศักยภาพและความร่วมมือของผู้ประกอบการไทยสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

ด้านนายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ กนอ. รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กนอ. กล่าวเสริมว่า กนอ. มุ่งมั่นสนับสนุนผู้ประกอบการสู่ “อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ” รับมือความท้าทายด้านดิจิทัล เทคโนโลยี และความยั่งยืน โดยกำหนดให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง แนวทางสนับสนุนธุรกิจยั่งยืน ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวผ่านนิคมอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำภายใต้แนวทาง พร้อมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน สนับสนุนพลังงานสะอาด จัดการของเสียผ่าน “มาบตาพุด แซนด์บ็อกซ์” และพัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน โดย กนอ. สร้างกลไก Carbon Finance ร่วมกับ World Bank พัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต และตั้ง CME เป็นศูนย์กลางความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน โดย กนอ.พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมไทยลดก๊าซเรือนกระจก สร้างเศรษฐกิจยั่งยืน และยกระดับไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนสีเขียวในภูมิภาค

ด้านนางสาวเมลินดา กูด ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทยและเมียนมา กล่าวว่า การลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมไม่ใช่วาระของอนาคตอีกต่อไป แต่มันกำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ และผู้ที่เป็นผู้นำจะเป็นผู้กำหนดยุคถัดไปของความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ธนาคารโลกรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นพันธมิตรในการจัด CEO Forum และสนับสนุนประเทศไทยในการสร้างอนาคตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโต ดึงดูดการลงทุน สร้างงาน และเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศไทยมีองค์ประกอบที่เหมาะสมทุกประการในการเป็นผู้นำในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และเจตนารมณ์ที่ชัดเจน โครงการเมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City Program) ที่รัฐบาลไทยและธนาคารโลกจะร่วมมือกัน จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้อุตสาหกรรมมีเครื่องมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะเดียวกันก็รักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก นอกจากนี้ ด้วยการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ปี 2026 ที่กำลังจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยจะมีโอกาสอันดีเยี่ยมในการแสดงบทบาทความเป็นผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศและความมุ่งมั่นของภาคเอกชนต่อเวทีระดับโลก


สำหรับการจัดงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand’s Low Carbon City Program ในวันนี้ (31 มีนาคม 2568) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ และรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในงาน มีการเสวนาพิเศษในหัวข้อ “กลยุทธ์ ปัจจัยความสำเร็จ และโอกาสของอุตสาหกรรมไทย สู่การเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ” โดยวิทยากรกิตติมศักดิ์จากหลากหลายภาคส่วน ได้แก่ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (นายปวิช เกศววงศ์), กรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ดร. สุเมธ ตั้งประเสริฐ), ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)(ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ), Head of Environmental Social Governance and Business Stakeholder Engagement, SCG (นายชูโชค ศิวะคุณากร) และ เจ้าหน้าที่อาวุโสธนาคารโลกผู้รับผิดชอบประเทศไทย (นายขวัญพัฒน์ สุทธิธรรมกิจ) และการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Best Practices ด้าน Decarbonization ในภาคอุตสาหกรรม” โดยนายมาร์ก ฟอร์นี่ (Mr.Marc Forni) ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Lead Disaster Risk Management Specialist, The World Bank)ซึ่งได้นำเสนอแนวทางและตัวอย่างที่ดีในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรม. -512-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

เริ่มใช้เครื่องจักรหนักเปิดซากอาคาร สตง.ถล่ม

102 ชั่วโมงแล้ว สำหรับปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุอาคาร สตง.ถล่ม หน่วยกู้ภัยจากนานาชาติให้ความหวังว่ายังมีโอกาสเจอผู้รอดชีวิต ทำให้การค้นหาวันนี้ต้องแข่งกับเวลาอย่างเต็มที่

ทองไทยนิวไฮต่อเนื่อง ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 550 บาท

ทองคำไทยผันผวนหนัก ปรับเปลี่ยน 18 ครั้ง ก่อนปิดตลาดปรับเพิ่ม 550 บาท ระหว่างวันขึ้นไปแตะนิวไฮ ทองคำแท่งขายออก 50,700 บาท ทองรูปพรรณขายออก 51,500 บาท ขึ้นไปต่อเนื่อง