สมาคมประกันชีวิตไทย คาดปี 68 ธุรกิจโต 2-3 % เตรียมรับมือหลังจีดีพีโตต่ำ

กรุงเทพฯ 19 ก.พ. – สมาคมประกันชีวิตไทย เผยเบี้ยประกันภัยรับรวมปี 67 กว่า 6.53 แสนล้านบาท โต 3.23% คาดการณ์ปี 68 เติบโต 2-3% ปัจจัยหนุนจากอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์เพิ่มสูง-สังคมสูงวัย ชี้ธุรกิจประกันโตตามจีดีพี เตรียมแผนรับมือเศรษฐกิจไทยโตต่ำ


นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตของปี 2567 ระหว่าง มกราคม – ธันวาคม มีเบี้ยประกันภัยรับรวม (Total Premium) อยู่ที่ 653,923 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23 เมื่อเทียบกับปี 2566 จำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ (New Business Premium) 184,331 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.28 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal Premium) 469,592 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.21 คิดเป็นอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ 83
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย
1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (First Year Premium) 120,026 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.81
2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) 64,305 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 2.71

ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของธุรกิจมาจากปัจจัยเอื้อทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกระแสใส่ใจสุขภาพของประชาชนที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพและโรคร้ายแรงเติบโตเพิ่มขึ้น และยังช่วยเสริมให้สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health+CI) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 124,786 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.66 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.08 และยังช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ซึ่งเป็นสัญญาหลักเติบโตขึ้นตามไปด้วย โดยแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 110,777 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.93 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.94ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 282,302 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.17


นอกจากนี้ยังมีเหตุจากความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจโดยเฉพาะการรักษาฐานลูกค้าเดิม โดยเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal Premium) มีสัดส่วนร้อยละ 72 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 คิดเป็นอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ 83 ส่วนเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ (New Business Premium) มีสัดส่วนร้อยละ 28 เติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการเติบโตของประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ และสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
 
สำหรับช่องทางการจำหน่ายเบี้ยประกันภัยรับรวม สูงสุด ได้แก่
1.การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต (Agency) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 346,791ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.32 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.03

  1. การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 245,498 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.67 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.54
  2. การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต (Broker) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 34,484ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.93เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.27
  3. การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ (Tele Marketing) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 12,910ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 5.49เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.97

ที่ผ่านมา สมาคมฯ มีนโยบายที่มุ่งให้แต่ละบริษัทประกันชีวิต มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการบริหารและจัดการความเสี่ยงอย่างรอบด้าน ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย และมีฐานะทางการเงินที่มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามความเสี่ยง (CAR Ratio) สูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่กำหนด (Supervisory CAR) เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจว่า บริษัทประกันชีวิตสามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัยได้ทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย และพร้อมที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา ดังจะเห็นได้จาก ในไตรมาสที่ 3/2567 จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราส่วนความพอเพียงของเงินกองทุนตามความเสี่ยงอยู่ที่ 373.30 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ใช้ในการกำกับ (Supervisory CAR)

สำหรับปี 2568 สมาคมประกันชีวิตไทยได้ประมาณการอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตอยู่ที่ในช่วงร้อยละ 2-3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation) ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 8 – 10% โดยบางปีสูงมากถึง 15% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ และการขยายช่วงอายุการรับประกันสุขภาพออกไปจนถึง 80 ปี จึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้การประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงเติบโตต่อไปได้ และจะมีผลขยายไปถึงการประกันชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) ที่เป็นสัญญาหลักด้วย อีกทั้งยังมีการเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ การเพิ่มขึ้นของแรงสนับสนุนและมาตรการจากภาครัฐ การผ่อนคลายกฎเกณฑ์การกำกับดูแลและส่งเสริมภาคธุรกิจผ่านโครงการนวัตกรรมต่างๆ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและระบบ AI เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ และการดำเนินงานปรับปรุงช่องทางการจำหน่ายที่มีอยู่ในปัจจุบันและผสานรูปแบบการขาย ไปจนถึงการส่งมอบบริการและธุรกรรมหลังการขายที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้เอาประกันภัยจนสามารถขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น อีกทั้งยังมีการร่วมมือกันอย่างแข็งขันในทุกด้านของธุรกิจผ่านสมาคมประกันชีวิตไทย เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน


ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตามปัจจัยท้าทายที่จะส่งผลต่อการเติบโตอย่างสภาวะเศรษฐกิจทั้งเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก และเศรษฐกิจภายในประเทศไทยที่มีการเติบโตแบบหดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสถานการณ์เงินเฟ้อและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ที่ส่งผลกระทบต่อการออม การลงทุน นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานการรายงานทางการเงิน TFRS 17 ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 1มกราคม 2568 รวมถึงต้องติดตามสถานการณ์สงครามการค้าโลกหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ กระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งด้านการค้าและบริการ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะยังไม่ยุติ ก่อให้เกิดความผันผวนและความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมากขึ้น

นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒนฯ) แถลงจีดีพีไทย ปี 2567 ขยายตัว 2.5% และ คงประมาณการ GDP ปี 2568 ขยายตัวได้ 2.3 – 3.3% ยอมรับว่า ธุรกิจประกันเป็นธุรกิจที่เติบโตไปพร้อมๆกับจีดีพี หากเศรษฐกิจไม่ดี คนก็ไม่มีเงินจะซื้อประกันหรืออาจไม่มีเงินจ่ายเบี้ยในปีถัดไป ต้องเลือกปากท้องก่อน ธุรกิจประกันยังผูกกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ยอมรับว่าในสถานการณ์ปัจจุบันต้องแบกรับความเสี่ยงดอกเบี้ยที่ลงทุนได้ไม่เพียงพอที่จะคืนผู้เอาประกัน (Negative Interest ) จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัทประกันหลายแห่งออกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบมีเงินปันผล หรือเรียกย่อ ๆ ว่า Par (Participating Life Insurance) หากอัตราดอกเบี้ยต่ำมากๆ ก็ยังมี ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) หรือประกันอื่นๆที่มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นและมีความเสี่ยงในระดับที่ลูกค้ายอมรับได้

นอกจากนี้ ประกันสะสมทรัพย์ที่มีสัดส่วนสูงสุด เพราะมีเบี้ยขนาดใหญ่กว่า ซึ่งจะเห็นว่าในระยะหลังมีการออกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) ควบกับประกันสุขภาพ/โรคร้ายแรง ซึ่งจะเห็นเบี้ยประกันที่มีการคุ้มครองมีสัดส่วนน้อยกว่าเบี้ยประกันการออม นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยเศรษฐกิจทั่วโลกที่มการเชื่อมต่อกัน ทั้งนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยมีแผนดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน.-516-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจ ลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร ด้านบริษัท 9PK นำเอกสารชี้แจง พร้อมขอให้บริษัทจีนช่วยอนุมัติเงินมาจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ปิดล้อมจับชายวัย 43 ยิงเพื่อนบ้าน-ตร.เจ็บ 4

ตำรวจปิดล้อมนานถึง 11 ชั่วโมง จับชายวัย 43 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนบ้านและตำรวจที่เข้าระงับเหตุ บาดเจ็บรวม 4 ราย หลังโมโหเพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิดหันส่องไปทางบ้านผู้ก่อเหตุ ยิงแก๊สน้ำตา-ญาติเกลี้ยกล่อม ยังไม่เป็นผล

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในไต้หวัน-ไม่มีรายงานความเสียหาย

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานวันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดด 5.8 ที่เทศมณฑลอี้หลาน (Yilan) ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลทางตจะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ข่าวแนะนำ

บขส.เสริมรถอีก 1,000 คัน รองรับผู้โดยสารขาออกวันนี้

การเดินทางขาออกในเทศกาลสงกรานต์ 2568 ถือว่ารถโดยสารของ บขส. ยังมีบทบาทสำคัญ เพราะเป็นวันหยุด มีผู้โดยสารเดินทางแน่นตลอดวัน วันนี้ บขส.เสริมรถอีก 1,000 คัน รองรับผู้โดยสาร

นายกฯ เปิดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2025”

นายกรัฐมนตรี เปิดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2025” ณ ท้องสนามหลวง ฉลองปีใหม่ไทย จัดเต็มปรากฏการณ์สาดความสุขครั้งยิ่งใหญ่ หนุนมรดกไทยสู่ World Event ระดับโลก

สงกรานต์หาดใหญ่ คาดเงินสะพัด 780 ล้านบาท

สงกรานต์หาดใหญ่ จ.สงขลา ปีนี้คึกคัก ททท. คาดมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาร่วมกิจกรรมกว่า 7 หมื่นคน เงินสะพัดทั่วจังหวัดกว่า 780 ล้านบาท

สงกรานต์เชียงใหม่วันแรกชุ่มฉ่ำทั่วทั้งเมือง

สงกรานต์ จ.เชียงใหม่ วันแรกคึกคัก ชาวเชียงใหม่-นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ แห่ร่วมกิจกรรม เล่นสาดน้ำชุ่มฉ่ำทั่วทั้งเมืองตลอดวันจนถึงช่วงค่ำ