คาดฝุ่น PM2.5 ใน กทม.กระทบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท

กรุงเทพฯ 24 ม.ค. – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ กระทบสุขภาพของคนกรุงเทพฯ หากยาวนาน 1 เดือน จะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ปกคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวัน สะท้อนจาก ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เฉลี่ยสูงกว่าระดับ 100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ต่อเนื่องติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ (18-26 ม.ค.68) ทำให้คนบางกลุ่มต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจในมิติของค่าเสียโอกาสโดยเฉพาะประเด็นด้านสุขภาพของคนกรุงเทพฯ เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ขณะที่หากรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น เช่น การหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง การทำงานที่บ้าน การหยุดเรียน การท่องเที่ยว เป็นต้น รวมถึงผลกระทบที่เกิดในพื้นที่อื่นๆ ค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจะสูงกว่านี้ เนื่องจากปัญหาฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน PM 2.5 ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ทั้งในมิติของการรักษาอาการเจ็บป่วย รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในมิติของการดูแลป้องกันสุขภาพ เช่น หน้ากากอนามัย เครื่องฟอกอากาศ ซึ่งแม้ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะถูกส่งผ่านไปยังภาคธุรกิจ แต่ก็ถือเป็นค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้น เพราะผู้บริโภคไม่สามารถนำเงินนี้ไปใช้จ่ายเพื่อการอื่น


ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจเบื้องต้น โดยใช้สมมติฐานว่า คนกรุงเทพฯ ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้/ระบบทางเดินหายใจไม่ต่ำกว่า 2.4 ล้านคน และประมาณ 50% ของจำนวนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ อาจมีอาการเจ็บป่วยจนจำเป็นต้องเดินทางไปพบแพทย์ในช่วงนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน และมีค่ารักษา ค่าเดินทาง เฉลี่ยต่อคน 1,800-2,000 บาท รวมถึงประชาชนทั่วไปที่อาจมีค่าใช้จ่ายในการดูแลป้องกันสุขภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเสียโอกาสจากประเด็นด้านสุขภาพทั้งการรักษาและการป้องกันอยู่ที่ราว 3,000 ล้านบาท ขณะที่หากรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น เช่น การหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง การทำงานที่บ้าน การหยุดเรียน การท่องเที่ยว เป็นต้น รวมถึงผลกระทบที่เกิดในพื้นที่อื่นๆ ค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจะสูงกว่านี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจข้างต้นเป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงเม็ดเงินผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเท่านั้น สิ่งที่ยังประเมินออกมาเป็นมูลค่าผลกระทบอย่างชัดเจนได้ยากยังคงมีอยู่ ที่สำคัญคือ ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว หรือความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรัง ตลอดจนผลต่อภาพรวมของประเทศที่ทางการมุ่งหวังจะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว การแพทย์ และอื่นๆ ในเวทีโลก. -511.- สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” เผยยังไม่สรุปสาเหตุตึก สตง.ถล่ม ต้องรอตรวจสอบเชิงลึก

“อนุทิน” ระบุยังไม่สรุปสาเหตุตึก สตง. ถล่ม บอกต้องรอตรวจสอบเชิงลึก ชี้สภาพหน้างานตอนนี้ยังเก็บหลักฐานไม่ได้ อยู่ระหว่างกู้ภัย คาดใช้เวลาอีกเป็นเดือน

คุมตัวผัวเมียชิงทอง 8 บาท ย่านบางพลี ทำแผนฯ

ตำรวจคุมตัวสามีภรรยา ชี้จุดทำแผนประกอบคำรับสารภาพ หลังร่วมกันก่อเหตุชิงทอง 8 บาท ร้านทองย่านบางพลี จ.สมุทรปราการ อ้างต้องการเงินไปเป็นเจ้าภาพงานบุญผ้าป่า หลังสัญญากับทางวัดไว้

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

“ก้อง ห้วยไร่” ร้องเพลงให้กำลังใจญาติผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม

ใช้ดนตรีฮีลใจ “ก้อง ห้วยไร่” ร้องเพลงคลายเครียดให้กับญาติผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม ที่ศูนย์พักคอยฯ ทำเอาหลายคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหว เผยเข้าใจความรู้สึกแรงงานดี เพราะตนเคยทำมาก่อน