กรุงเทพ 22 ม.ค. – บขส.เปิดตารางเดินรถเส้นทางในประเทศ-ระหว่างประเทศล่าสุด ให้บริการกว่า 67 เส้นทาง 233 เที่ยววิ่งต่อวัน ขณะที่ยอดผู้โดยสารพุ่งขึ้นเฉลี่ยวันละ 90,000 -120,000 คน สอดคล้องกับนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวและสนับสนุนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
นายอรรถวิท รักจำรูญ กรรมการฯ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีประชาชนและนักท่องเที่ยวใช้บริการรถโดยสาร บขส. และ รถร่วมฯ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อมูลการใช้บริการรถโดยสารในวันธรรมดา ทั้งเที่ยวไป – เที่ยวกลับ มีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ย 80,000 – 90,000 คนต่อวัน ใช้รถโดยสาร (รถ บขส., รถร่วม, รถตู้) จำนวน 4,000 – 5,000 เที่ยววิ่งต่อวัน และ วันหยุด เสาร์ – อาทิตย์ ทั้งเที่ยวไป – เที่ยวกลับ มีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ย 100,000 – 120,000 คนต่อวัน ใช้รถโดยสาร 5,500 – 6,000 เที่ยววิ่งต่อวัน
บขส.จึงมีการปรับตารางเดินรถให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนให้เข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้สะดวก ปลอดภัย และส่งเสริมให้ประชาชนเลือกใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ตามนโยบายนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม โดยปัจจุบัน บขส. เปิดให้บริการเดินรถ เส้นทางภายในประเทศจำนวน 67 เส้นทาง รวม 233 เที่ยววิ่ง (ไป – กลับ) ต่อวัน ดังนี้
เส้นทางภาคเหนือ เปิดให้บริการ 21 เส้นทาง 70 เที่ยววิ่ง (ไป – กลับ) ต่อวัน ได้แก่ (1) สายที่ 3 กรุงเทพฯ – เชียงราย – เชียงแสน (2) สายที่ 6 กรุงเทพฯ – สุโขทัย – อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (3) สายที่ 9 กรุงเทพฯ – คลองลาน (4) สายที่ 13 กรุงเทพฯ – บ้านท่าตอน (5) สายที่ 14 กรุงเทพฯ – หล่มสัก – หล่มเก่า (6) สายที่ 18 กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ (7) สายที่ 47 กรุงเทพฯ – ทุ่งช้าง (8) สายที่ 92 กรุงเทพฯ – เขื่อนภูมิพล (9) สายที่ 94 กรุงเทพฯ – กำแพงเพชร (10) สายที่ 100 กรุงเทพฯ – อุตรดิตถ์ (11) สายที่ 910 กรุงเทพฯ – น่าน (12) สายที่ 912 กรุงเทพฯ – สากเหล็ก – พิษณุโลก (13) สายที่ 912 กรุงเทพฯ – อุตรดิตถ์ (14) สายที่ 924 กรุงเทพฯ – ลำพูน (15) สายที่ 925 กรุงเทพฯ – สวรรคโลก – สารจิตร (16) สายที่ 956 กรุงเทพฯ – แม่สอด (17) สายที่ 957 กรุงเทพฯ – แม่สาย (18) สายที่ 962 กรุงเทพฯ – ป่าแดด – เชียงของ (19) สายที่ 962 กรุงเทพฯ – เชียงคำ (20) สายที่ 964 กรุงเทพฯ – จอมทอง และ (21) สายที่ 965 กรุงเทพฯ – อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เปิดให้บริการ 21 เส้นทาง 70 เที่ยววิ่ง (ไป – กลับ) ต่อวัน ได้แก่ (1) สายที่ 4 กรุงเทพฯ – ทุ่งศรีอุดม – บุณฑริก (2) สายที่ 5 กรุงเทพฯ – หนองบัวลำภู – นาวัง (3) สายที่ 23 กรุงเทพฯ – หนองคาย (4) สายที่ 26 กรุงเทพฯ – นครพนม (5) สายที่ 27 กรุงเทพฯ – หนองฮี – ปลาปาก (6) สายที่ 27 กรุงเทพฯ – สกลนคร – นาแก (7) สายที่ 29 กรุงเทพฯ – เชียงคาน (8) สายที่ 30 กรุงเทพฯ – สมเด็จ – ห้วยผึ้ง (9) สายที่ 31 กรุงเทพฯ – สุรินทร์ (10) สายที่ 32 กรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ (11) สายที่ 33 กรุงเทพฯ – กระนวน – บ้านแพง (12) สายที่ 86 กรุงเทพฯ – กุดชุม – ธาตุพนม – บ้านกลาง (13) สายที่ 98 กรุงเทพฯ – อุบลราชธานี (14) สายที่ 926 กรุงเทพฯ – ศรีสะเกษ (15) สายที่ 927 กรุงเทพฯ – มุกดาหาร (16) สายที่ 929 กรุงเทพฯ – อำนาจเจริญ – โพธิ์ไทร (17) สายที่ 944 กรุงเทพฯ – รัตนบุรี (18) สายที่ 955 กรุงเทพฯ – โขงเจียม (19) สายที่ 904 กรุงเทพฯ – สระบุรี (20) สายที่ 9908 กรุงเทพฯ – ตราด (มอเตอร์เวย์) และ (21) สายที่ 917 กรุงเทพฯ (เอกมัย) – แหลมงอบ
เส้นทางภาคใต้ เปิดให้บริการ 14 เส้นทาง 49 เที่ยววิ่ง (ไป – กลับ) ต่อวัน ได้แก่ (1) สายที่ 89 กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – หลังสวน (2) สายที่ 99 กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ตะกั่วป่า – โคกกลอย (3) สายที่ 949 กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ภูเก็ต และ กรุงเทพฯ (ถนนบรมราชชนนี) หรือสายใต้ใหม่ – ภูเก็ต (4) สายที่ 950 กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – กระบี่ (5) สายที่ 973 กรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) – สงขลา (6) สายที่ 981 กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – นครศรีธรรมราช – หัวไทร (7) สายที่ 984 กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ตรัง – สตูล และ กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ตรัง (8) สายที่ 987 กรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) – ปัตตานี – ยะลา (9) สายที่ 988 กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – สตูล (10) สายที่ 991 กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – เกาะสมุย, กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – เกาะพะงัน และ กรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) – เกาะสมุย (11) สายที่ 992 กรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) – หาดใหญ่ – สงขลา (12) สายที่ 9912 กรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) – คลองท่อม – กระบี่ (13) สายที่ 9917 กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ปัตตานี และ กรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) – สุไหงโกลก และ (14) สายที่ 9918 กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ด่านเจดีย์สามองค์
นอกจากนี้ บขส. ได้ให้บริการเดินรถเส้นทางระหว่างประเทศ จำนวนทั้งหมด 11 เส้นทาง 44 เที่ยววิ่ง (ไป – กลับ) ต่อวัน แบ่งเป็น ไทย – สปป.ลาว จำนวน 9 เส้นทาง ได้แก่ สายที่ 1 หนองคาย – นครหลวงเวียงจันทน์, สายที่ 2 อุดรธานี – นครหลวงเวียงจันทน์, สายที่ 3 อุบลราชธานี – ปากเซ, สายที่ 4 มุกดาหาร – สะหวันนะเขต, สายที่ 6 กรุงเทพฯ – นครหลวงเวียงจันทน์, สายที่ 7 นครพนม – ท่าแขก, สายที่ 9 อุดรธานี – หนองคาย – วังเวียง, สายที่ 10 กรุงเทพฯ – ปากเซ และ สายที่ 14 เลย – หลวงพระบาง และ ไทย – กัมพูชา จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ สายที่ 12 กรุงเทพฯ – เสียมราฐ และ สายที่ 13 กรุงเทพฯ – พนมเปญ
สอบถามข้อมูลการเดินทางและจองตั๋ว บขส. ล่วงหน้าได้ทุกช่องทาง อาทิ ทางออนไลน์ Facebook Page : บขส. (www.facebook.com/BorKorSor99), Line : บขส.99 (Id : @TCL99), เว็บไซต์ บขส. https://tcl99web.transport.co.th, Application E – ticket และ ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร บขส. ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร. 0 – 2936 – 3660 ในวันและเวลาราชการ.-513-สำนักข่าวไทย