กกพ.เสนอลดค่าไฟ 17 สตางค์ ยกเลิกจ่ายค่า Adder-FiT จะเหลือค่าไฟไม่ถึง 4 บาท

ลดค่าไฟ

กรุงเทพฯ 16 มค. – กกพ. จ่อเสนอนายกฯ ลดค่าไฟได้ทันที 17 สตางค์ จากการยกเลิกจ่ายค่า Adder-FiT ส่งผลให้ค่าไฟเหลือ 3.98 บาท/หน่วย ชี้เป็นแนวทางที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และเป็นข้อเสนอค้างเก่าตั้งแต่ปี 65 เตรียมหาแนวทางลดค่าไฟต่อเนื่องให้เหลือ 3.70 บาท/หน่วย


ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม กกพ. ครั้งที่ 2/2568 (ครั้งที่ 943) เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 กกพ. มีมติให้สำนักงาน กกพ. นำเสนอทางเลือกให้ภาคนโยบายทบทวนและปรับปรุง เงื่อนไขการสนับสนุนทั้งในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) และ Feed in Tariff (FiT) ผ่านการอุดหนุนราคารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) เพื่อให้การอุดหนุน Adder และ Feed in Tariff (FiT) สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และทำให้ค่าไฟสามารถปรับลดลงได้ทันทีประมาณหน่วยละ 17 สตางค์ จากค่าไฟฟ้าในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่หน่วยละ 4.15 บาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนอีกทางหนึ่ง

จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกรณีค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) งวดเดือนมกราคม – เมษายน 2568 ได้ระบุค่าใช้จ่ายภาครัฐ (Policy Expense) จากการรับซื้อไฟฟ้าในกลุ่ม Adder และ FiT รวมอยู่ในค่าไฟฟ้าหน่วยละ 17 สตางค์ หากคณะรัฐมนตรี หรือ กพช. กำหนดนโยบายปรับค่าไฟฟ้ารับซื้อในส่วนนี้ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ก็จะลดค่าไฟฟ้าได้ทันที่ 17 สตางค์ หากค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.15 บาท ก็จะลดลงเหลือหน่วยละ 3.89 บาท จากประมาณการตลอดทั้งปี 2568 คาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้า 195,000 ล้านหน่วย หากลดได้หน่วยละ 17 สตางค์ จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนได้ 33,150 ล้านบาท


“ก่อนหน้านี้ในช่วงวิกฤตการณ์ราคาพลังงาน 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้ามีราคาที่สูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง และ กกพ. เองก็ได้รับมอบหมายจากภาคนโยบายให้ทำการศึกษาทบทวนมาตรการบรรเทาผลกระทบค่าไฟฟ้า เพื่อลดค่าครองชีพให้พี่น้องประชาชน ซึ่ง กกพ. ได้นำเสนอมาตรการในหลายๆ ทางเลือก เพื่อบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า และทางเลือกหนึ่งในขณะนั้นคือ การทบทวนและปรับปรุงเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า SPP และ VSPP พลังงานหมุนเวียน ตอนนี้ กกพ. เห็นว่าปัจจุบันสถานการณ์เหมาะสม จึงได้หยิบยกขึ้นมาหารือ และให้สำนักงาน กกพ. นำเสนอภาคนโยบายเพื่อทบทวนและเป็นทางเลือกในการลดค่าไฟให้พี่น้องประชาชนได้อีกทางหนึ่ง” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว

ที่ผ่านมา การรับซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อครบกำหนดอายุสัญญารับซื้อไฟก็ได้รับการต่อสัญญาในเงื่อนไขเดิมและได้รับการอุดหนุนราคารับซื้อมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มีความพร้อม สามารถรับมือกับการแข่งขันในธุรกิจไฟฟ้าได้ดี ท่ามกลางการแข่งขันและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่ทำให้เกิดการลดลงต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสนอให้ทบทวนเงื่อนไขการรับซื้อดังกล่าว

ช่วงต้นปี 2565 เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวพุ่งสูงขึ้นเกือบ 6 เท่าตัว กกพ.แก้ปัญหาเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าหลายประการ และมีประการหนึ่งที่ยังไม่ได้ดำเนินการนั่นคือ กกพ. มีมติเมื่อเดือนตุลาคม 2565 เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตามมาตรา 11(12) โดยขอให้ฝ่ายนโยบายจัดการกับต้นทุนค่าไฟฟ้าในส่วนค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ (Policy Expense) อันประกอบด้วย โครงการ Adder และ Feed in Tariff (FiT) ซึ่งมีต้นทุนการรับซื้อไฟฟ้าสูงกว่าราคาต้นทุนจริงในภาวะปัจจุบัน และโครงการผลิตไฟฟ้าแบบ Adder เหล่านี้ไม่มีวันสิ้นสุดสัญญา เป็นเหตุให้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น และเป็นหน้าที่ กกพ. ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 มาตรา 65(1) ซึ่งบัญญัติไว้ว่า


“ภายใต้นโยบายและแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ความเห็นชอบ ให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการของผู้รับใบอนุญาตแต่ละประเภท โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
1. ควรสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงและคำนึงถึงผลตอบแทนที่เหมาะสมของการลงทุนของการประกอบกิจการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ”

หากมีการปรับปรุงราคารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่ม Adder และ Feed in Tariff ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เช่น ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ รับซื้อในอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งหน่วยละ 3.1617 บาท บวกกับค่าส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) หน่วยละ 8 บาท (10 ปี) รวมแล้วเป็นค่าไฟฟ้าหน่วยละ 11.1617 บาท ซึ่งแพงกว่าอัตรารับซื้อที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) คำนวณไว้ในโครงการการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 และในส่วนเพิ่มเติม พ.ศ. 2567 หน่วยละ 2.1679 บาท หลายเท่าตัวหรือมีส่วนต่างหน่วยละ 8.9938 บาท หากนำส่วนต่างนี้ออกไปจากสูตรคำนวณค่าไฟฟ้า ก็จะทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงทันที และไม่กระทบต่อผู้ประกอบการด้วย 2 เหตุผลคือ

  1. ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าผ่านจุดคุ้มทุนแบบ Adder และได้รับค่าตอบแทนจากโครงการพอสมควร จึงควรปรับค่าไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
  2. การรับซื้อไฟฟ้าในอดีตหน่วยละ 11.1617 บาท เนื่องจากอุปกรณ์การผลิตไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุนสูง แต่ในปัจจุบันราคาอุปกรณ์ดังกล่าวลดลงมาก ราคาไฟฟ้าที่รัฐรับซื้อควรลดลงตามมาด้วยเช่นกัน หรือแม้โครงการผ่าน 10 ปี และเงินอุดหนุน 8 บาทหมดไปแล้ว แต่ราคารับซื้อก็ยังอยู่ที่ 3.1617 บาท ซึ่งแพงกว่าราคาที่ สนพ. คำนวณในปี 2565 หน่วยละ 2.1679 บาท ซึ่งมีส่วนต่างเป็นเงินหน่วยละ 0.9938 บาท ถือเป็นกำไรที่ผู้ประกอบการไม่ควรได้รับ ประการสำคัญสัญญารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่มนี้ระบุว่าให้ต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ หมายความว่า ไม่มีวันสิ้นสุดสัญญา หากไม่มีการปรับปรุงอัตราการรับซื้อไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ผู้ประกอบกิจการก็จะได้กำไรเกินควร อันเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนโดยไม่มีวันสิ้นสุด

นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา กรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวว่า กรณีมีการแพร่ข่าวให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด ใช้เทคนิคการสื่อสารด้วยการนำผลกระทบมาสร้างความน่าสนใจ (Interesting) โดยบิดเบือนว่าการจัดหาไฟฟ้าราคาหน่วยละ 2.1679 บาท จะทำให้ค่าไฟฟ้าตามบ้านเรือนแพง เมื่อประชาชนได้ยินว่า “ค่าไฟฟ้าแพง” จึงเกิดความสนใจและติดตามเรื่องนี้ และแสดงปฏิกิริยาต่อต้าน จนการดำเนินโครงการประสบปัญหา ส่วนผู้บิดเบือนข้อเท็จจริงจะมีวัตถุประสงค์อื่นใด ผมไม่ทราบ เพียงแต่เกรงว่า การบิดเบือนข้อเท็จจริงดังกล่าวจะทำให้ประชาชนซึ่งมีความยากลำบากทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว เกิดความวิตกกังวล ทั้งๆ ที่เรื่องดังกล่าวปราศจากความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง และอาจทำให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รับทราบข้อความบิดเบือนแล้วเกิดความไม่มั่นใจต่อการจัดเตรียมไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดไว้รองรับการลงทุน และเปลี่ยนแผนการลงทุนไปประเทศอื่น อันจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ผมจึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้
1.การได้มาซึ่งไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ส่วน
1.1 การรับซื้อไฟฟ้า มาจากฝ่ายนโยบายที่กำหนดปริมาณรับซื้อ ราคารับซื้อ ประเภทเชื้อเพลิงและวิธีการจัดหา ฉะนั้นต้นทุนรับซื้อไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับส่วนนี้
1.2 การขายไฟฟ้าให้ประชาชน อยู่ภายใต้การกำกับของ กกพ. ซึ่งมีหน้าที่นำต้นทุนด้านต่างๆ
มาคำนวณและตัดทอนต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไป ที่ผ่านมา กกพ. ตัดทอนค่าก๊าซโดยเรียกคืนมูลค่า Shortfall เกือบ 2 หมื่นล้านบาท เอามาลดค่าไฟฟ้า ลดค่าบริการในบิลค่าไฟฟ้า เดือนละ 39 บาท เหลือ 24 บาท ลดค่าบริการผ่านท่อก๊าซ

จากข้อเท็จจริงนี้ขอสรุปว่า ราคารับซื้อไฟฟ้า 2.1679 บาท เป็นการดำเนินงานของฝ่ายนโยบาย

2.การรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 2.1679 บาท ไม่ได้ทำให้ค่าไฟบ้านแพงหรือไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน เพราะไฟฟ้าในส่วนนี้ผลิตมาเพื่อขายให้กับนักลงทุนที่ต้องการใช้พลังงานสะอาดและมีอัตราที่สูงกว่าไฟบ้าน ฉะนั้นแม้ยกเลิกการรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 2.1679 บาทไปแล้ว ไม่ได้ทำให้ค่าไฟบ้านถูกลง เพราะค่าไฟฟ้าจากกลุ่ม Adder และ FiT ซึ่งมีราคาหน่วยละ 3.1617 ถึง 11.1617 บาท ฝังอยู่กับค่าไฟบ้าน ส่วนอัตราค่าไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่ กกพ.จัดหาไปแล้วนั้น ไปคิดกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสองส่วนนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องของราคาค่าไฟ

3.จากตัวเลขต้นทุนการรับซื้อไฟฟ้าตามประเภทเชื้อเพลิง (Generation Mixed) เช่น ลิกไนต์ 1.52 บาท น้ำ 1.45 บาท ก๊าซ 3.18 บาท เป็นต้น เมื่อนำราคาทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย พบว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.02 บาท ดังนั้น การนำไฟฟ้าที่มีราคารับซื้อต่ำกว่า 3.02 บาทเข้าระบบ ก็จะทำราคาค่าไฟเฉลี่ยลดลง ในทางตรงกันข้าม หากนำไฟฟ้าที่มีต้นทุนการรับซื้อสูงกว่า 3.02 บาทมาเพิ่มในระบบ ก็จะทำให้ราคาค่าไฟเฉลี่ยสูงขึ้น ตัวเลขนี้จะทำให้ประชาชนเห็นว่า ควรจัดการกับ Adder กับ Feed in Tariff ซึ่งมีต้นทุนตั้งแต่ 3.1617 ถึง 11.1617 บาทโดยเร็ว และจัดหาไฟฟ้าที่มีราคาต่ำกว่า 3.02 บาท เพื่อให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยลดลงเรื่อยๆ . -517-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พระขโมยรถยนต์โยมวันเข้าพรรษา

กาฬสินธุ์ 12 ก.ค.-วงการผ้าเหลืองไม่แผ่ว พระหนุ่มขโมยรถยนต์ญาติโยมที่มาทำบุญวันเข้าพรรษา ถูกตำรวจสกัดจับได้ทันควัน ตำรวจ สภ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ สกัดจับรถเก๋งสีดำคันบริเวณสี่แยกไฟแดง อ.สมเด็จ หลังรับแจ้งว่าพระสงฆ์หนุ่มแอบขโมยรถจากญาติโยมที่มาทำบุญในวันเข้าพรรษา แล้วขับหนีมาทาง อำเภอสมเด็จ ตำรวจจึงออกสกัดจับจนเจอ ส่วนพระสงฆ์ที่ก่อเหตุมีอาการพูดจาวกไปวนมา ตำรวจจึงนำตัวมาสงบสติอารมณ์ที่โรงพัก และแจ้งให้เจ้าของรถมารับรถคืน เตรียมดำเนินคดีกับพระรูปนี้ต่อไป หลังสึกจากการเป็นพระ.-สำนักข่าวไทย

น้ำป่าทะลักท่วมแพร่ บ้านเรือนเสียหายหนัก

แพร่ 12 ก.ค.-ฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ จ.แพร่ น้ำป่าทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรช่วงกลางดึก เสียหาย 2 อำเภอ เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมพื้นที่ชุมชนในตำบลแดนชุมพล จังหวัดแพร่ และอำเภอร้องกวางบางส่วน เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างหนักในช่วงค่ำคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้บ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มและแนวทางน้ำธรรมชาติที่รับน้ำจากภูเขาและป่าใกล้เคียง ปริมาณน้ำที่หลากเข้ามาเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดช่วงคืนที่ผ่านมา ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านไม่ทันตั้งตัว ทรัพย์สินของประชาชนบางส่วนได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะบ้านโทกค่า อำเภอสอง จังหวัดแพร่ หลายหลังคาเรือนได้รับผลกระทบเนื่องจาก ไม่เคยเกิดเหตุแบบนี้มาก่อน ปีนี้น้ำมากกว่าทุกปี ทำให้เก็บข้าวของไม่ทัน ได้รับความเสียหาย ครั้งสุดท้ายที่เคยท่วม ตั้งแต่ปี 2538 .-สำนักข่าวไทย

สองสาวใหญ่ย่องเข้ากุฏิพระอาพาธ ฉกมือถือ

กทม. 12 ก.ค. – สองสาวใหญ่ ย่องเข้ากุฏิพระอาพาธ ฉกโทรศัพท์มือถือลอยนวล พบเคยเข้ามาขอเงินหลวงตาแล้วครั้งหนึ่ง กล้องวงจรปิดบันทึกภาพขณะ ผู้หญิง 2 คนเข้าไปในกุฏิที่พระสงฆ์นอนอาพาธอยู่ คนหนึ่งนั่งพื้นส่วนอีกคนยืนอยู่แล้วเอื้อมมือไปหยิบโทรศัพท์มือถือบนเตียงนอนไป เหตุการณ์นี้ นายมนูญ อายุ 29 ปี หลานชายของพระลูกวัดแห่งหนึ่ง ในซอยประชาอุทิศ 27 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ร้องเรียนกับผู้สื่อข่าว ให้ช่วยตามหาสองสาวใหญ่ ย่องเข้ากุฏิ “หลวงตาสุข” อายุ 80 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรคประจำตัว ประกอบกับอายุมากเดินได้ไม่ปกติ โดยหลวงตาสุข เป็นพระลูกวัด พักอยู่กุฏิด้านหลังโบสถ์ เมื่อวานนี้ (11 ก.ค.) ประมาณ 13.45 น. ขณะกำลังนอนพักผ่อนอยู่ มีหญิงร่างท้วม 2 คนเข้าไปในกุฏิ จากนั้นคนใส่เอี๊ยมสีเขียวผมสั้นลงมือค้นหาสิ่งของบนหัวเตียง ส่วนอีกคนที่มาด้วย คอยดูต้นทาง จนกระทั่งหญิงคนที่รื้อหาสิ่งของมองเห็นโทรศัพท์มือถือ ราคาประมาณ 4,000 บาท ของพระที่วางไว้หัวเตียง […]

มองเป็นการกระทำส่วนบุคคล ปมมีชื่อพระโผล่คลิปสีกา ก.

กรุงเทพฯ 11 ก.ค. – เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรฯ เผยกรณีปรากฏชื่อ “พระปริยัติธาดา” ในคลิปพัวพันสีกา ก. มองเป็นการกระทำส่วนบุคคล ส่วนตัวอยากเห็นคลิปเพื่อยืนยันว่าท่านเกี่ยวข้องอย่างไร จากกรณีปรากฏรายชื่อพระในคลิปมีความสัมพันธ์กับ “สีกา ก.” จนถึงขั้นปาราชิก หนึ่งในนั้นคือ พระปริยัติธาดา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร และมีรายงานข่าวว่าท่านหายตัวจากวัดหลังจากตกเป็นข่าว ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปยังวัดกัลยาณมิตรฯ พบว่าพระของวัดทุกรูปลงโบสถ์เพื่อประกอบศาสนกิจเนื่องในวันเข้าพรรษา ภายในพระอุโบสถ ภายหลังประกอบศาสนกิจลงโบสถ์ของพระวัดกัลยาณมิตรฯ เสร็จสิ้น พระพรหมกวี เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรฯ ได้ถ่ายรูปกับพระใหม่และพระสงฆ์ในวัด และให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปถ่ายภาพ พร้อมกับพูดคุยเบื้องต้น กรณีปรากฏชื่อของพระปริยัติธาดา เป็นหนึ่งในบุคคลในคลิปที่เกี่ยวข้องกับสีกา ก. ว่าส่วนตัวไม่ทราบ คนเราไม่ได้รู้เรื่องส่วนตัวของคนอื่น มองเป็นเรื่องธรรมชาติในสังคมที่มีทั้งคนดีและไม่ดี เรื่องนี้เป็นการกระทำส่วนบุคคล ส่วนตัวอยากเห็นคลิปเพื่อยืนยันว่าท่านเกี่ยวข้องอย่างไร และอยากถาม พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว เพื่อขอดูคลิปที่กล่าวอ้าง ถ้าภาพมันชัดเจนก็ต้องออกตามกฎ ซึ่งใครทำอะไรก็ได้อย่างนั้น เมื่อถามว่า พระปริยัติธาดา ออกไปจากวัดตั้งแต่เมื่อไร พระพรหมกวี บอกว่า ท่านออกไปจากวัด 6-7 วันแล้ว ก็ออกไปเฉยๆ ไม่ได้สึกออกไป และไม่รู้ว่าตอนนี้สึกหรือยัง แต่หากจะสึกต้องแจ้งมาที่วัด […]

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เตือนฝนตกหนักบางแห่ง-กทม.ฟ้าคะนอง 60%

กรุงเทพฯ 14 ก.ค. – กรมอุตุฯ เตือนฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน หนองคาย และบึงกาฬ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฝนตกหนักบางแห่ง กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน หนองคาย และบึงกาฬ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้ เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร […]

พระปรางค์วัดอรุณ

ข่าวดี “พระปรางค์วัดอรุณฯ” ได้รับบรรจุขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดกโลก

กรุงเทพฯ 13 ก.ค.- “แพทองธาร” เผยข่าวดี “พระปรางค์วัดอรุณฯ” ได้รับบรรจุขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดกโลกของยูเนสโกแล้ว นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ได้ร่วมเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ระบุว่า “ข่าวดีของคนไทย “พระปรางค์วัดอรุณ ราชวรารามราชวรมหาวิหาร” ได้รับการบรรจุขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดกโลก (Tentative List) ของยูเนสโกแล้วค่ะ ดิฉันได้รับรายงานจากคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ณ กรุงปารีส แจ้งว่า ที่ประชุมได้รับทราบว่าพระปรางค์วัดอรุณฯ เป็นหนึ่งในรายชื่อบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการยกระดับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์ในอนาคต กระทรวงวัฒนธรรมมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการจัดทำเอกสารเสนอชื่อ (Nomination Dossier) ควบคู่กับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดการพื้นที่ตามหลักสากล เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ขั้นตอนต่อไป ความคืบหน้านี้เป็นมากกว่าการอนุรักษ์สถานที่ แต่คือการยืนยันอัตลักษณ์ไทยที่งดงามและทรงคุณค่าในสายตาชาวโลก นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ที่ได้ร่วมเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่นี้” .-316 สำนักข่าวไทย

ตรวจสอบรายรับรายจ่ายวัดใหญ่จอมปราสาท

สมุทรสาคร 13 ก.ค. – เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบรายรับรายจ่ายของวัดใหญ่จอมปราสาท นำมาเทียบกับเส้นเงินของของเจ้าอาวาสที่หนีไป หลังตรวจพบโอนเงินให้สีกา ก. กว่า 1 ล้านบาท ที่วัดใหญ่จอมปราสาท ต.ท่าจีน อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร พล.ต.ต.ประสงค์ เฉลิมพันธ์ ผบก.ปปป. พร้อมด้วย พ.ต.ท.สิริพงษ์ ศรีตุลา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. นำคณะเข้าพบ พระครูสาครสุตกิจ เจ้าคณะตำบลท่าฉลอม เจ้าอาวาสวัดน้อยนางหงษ์ คณะพระสงฆ์ (พระลูกวัด) วัดใหญ่จอมปราสาท ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการวัด เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ระบบการเงินในวัดใหญ่จอมปราสาท เพื่อนำไปเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบเส้นทางการเงินของพระมหาทิวากร เจ้าอาวาสวัดใหญ่จอมปราสาท ที่ตรวจพบว่าได้โอนเงินกว่า 1 ล้านบาทไปให้สีกา ก. แต่ยังไม่มีเรื่องชู้สาวเข้ามาเกี่ยวข้อง ประเด็นที่ต้องการทราบเพิ่มเติมคือ เงินที่โอนให้สีกาเป็นเงินส่วนไหน แล้วเงินวัดมีรายรับจากที่ใดบ้าง มีรายจ่ายอย่างไร รวมถึง เงินวัดนั้นเข้าบัญชีใคร มีไวยาวัจกรณ์เบิกจ่ายหรือไม่ หรือใครเป็นผู้ทำหน้าที่รับและเบิกจ่ายเงินทั้งหมด ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงว่า ทางวัดยังไม่มีไวยาวัจกรวัดคนใหม่ หลังจากคนเก่าลาออกไปเล่นการเมืองท้องถิ่น ส่วนเงินวัดนั้นเจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเงินวัดก็จะมีรายรับมาจากให้ที่จอดเรือบริเวณหน้าวัด ประมาณเดือนละ […]

รถพ่วงเบรกแตกลงเขา ชนแหลก 10 คัน เจ็บ 3

นครราชสีมา 13 ก.ค. – รถพ่วงเบรกแตกลงเขามอกลางดง ชนแหลกรวมสิบคัน บาดเจ็บ 3 คน ทำถนนมิตรภาพรถติดยาวหลายกิโลเมตร คนขับรถพ่วงบาดเจ็บ แต่ยังให้การได้ รถพ่วงบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ชนแหลกนับ 10 คัน บนถนนมิตรภาพ ขาเข้ากรุงเทพมหานคร ช่วงลงเขามอกลางดง กิโลเมตรที่ 37-38 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตำรวจ สภ.กลางดง พร้อมเจ้าหน้าที่กู้ภัยหลายหน่วยระดม เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ และช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ที่เกิดเหตุพบรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์คันต้นเหตุ ยี่ห้อฮีโน่ สีขาว ทะเบียน กรุงเทพมหานคร ด้านหน้าหัวลากพังยับ นายวิทยา อายุ 34 ปี คนขับ ได้รับบาดเจ็บที่ขาซ้าย ยังนั่งอยู่บริเวณที่นั่งข้างคนขับ โดยเล่าว่า บรรทุกของมาเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ช่วงลงเขาเกิดเบรกไม่อยู่ เนื่องจากลมหมด จึงทำให้พุ่งชนท้ายรถพ่วงบรรทุกไม้อีกคันที่อยู่ด้านหน้า จนกระเด็นไปคนละทิศละทาง ไม้กระจายเกลื่อนถนน ด้วยความแรงยังวิ่งไปเฉี่ยวชนกับรถที่วิ่งอยู่ด้านหน้าเสียหายอีก 8 คัน เป็นรถกระบะ 5 คัน, รถเก๋ง […]