กพช.มีมติให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว เฟส2

กรุงเทพฯ 25 ธ.ค.- กพช.มีมติให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวเฟส2 ขยายมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม
รับซื้อไม่เกิน 2 ปี รูปแบบสัญญา Non-Firm หวังเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน ช่วยเหลือเกษตรกร และลดต้นทุนค่าไฟฟ้า


การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รับมอบหมายจาก นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เปิดเผยว่า ได้มีการพิจารณาขยายมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า และการขยายอายุการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 โดยที่ประชุมได้มีมติดังต่อไปนี้

  1. เห็นชอบการขยายมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และ/หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จากสัญญาเดิม และนอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม รับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง สามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อไม่เกิน 2 ปี (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569) ในรูปแบบสัญญา Non-Firm ทั้งนี้ กำหนดเงื่อนไขให้สิทธิ์แก่การไฟฟ้าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ หากพบข้อจำกัดด้านศักยภาพของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Capacity) โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้า ดังนี้ (1) กรณีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 2.20 บาทต่อหน่วย (2) กรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (2.1) ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ (แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน แบบทุ่นลอยน้ำ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 1.00 บาทต่อหน่วย (2.2) ประเภทพลังงานลม อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 0.50 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มจากสัญญาเดิมจะมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าไม่เกินกว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าในสัญญาเดิม และที่ประชุมมอบหมายให้ กกพ. พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยนายพีระพันธุ์ฯ กล่าวด้วยว่าประโยชน์จากการขยายกรอบเวลาการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่มนี้ นอกจากจะช่วยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้ และช่วยลดการนำเข้า Spot LNG ลดภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าอีกด้วย
  2. เห็นชอบการขยายเวลามาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี จำนวน 20 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าตามโครงสร้างสัญญาปัจจุบัน และที่ประชุม มอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินการจัดทำข้อตกลงเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ทั้งนี้ การรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติมระยะสั้นนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศ และยังจะช่วยลดปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีสถานการณ์ราคาผันผวนได้ อีกด้วย
  3. เห็นชอบการขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568) ทั้งนี้โรงไฟฟ้าน้ำพองถือเป็นโรงไฟฟ้าหลักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีต้นทุนในการผลิตไฟฟ้ามีราคาถูก การขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้ายังเป็นการช่วยลดการนำเข้า Spot LNG ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ ทั้งนี้ที่ประชุมมอบหมายให้ กฟผ. และ กกพ. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
  4. เห็นชอบแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

นอกจากนี้ ตามที่ได้มีกระแสข่าว เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed – in-Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 นั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยกับประชาชนเรื่องความถูกต้องของกระบวนการ และวิธีการดำเนินงานรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและราชการ ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด สำหรับปี 2565 – 2573 ปริมาณรวม 3,668.5 เมกะวัตต์ ที่ กพช. ได้ให้ความเห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 โดยเป็นการชะลอการลงนามสัญญากับ 3 การไฟฟ้าไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง


ทั้งนี้ มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา ในประเด็นข้อกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของ กพช. โดยมอบให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กพช. พิจารณาแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ในเรื่องดังกล่าวได้ ทั้งนี้ มอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งให้ กกพ. และ 3 การไฟฟ้า ทราบมติ กพช. ต่อไป -517-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

นายกฯ แถลงยินดีความสำเร็จประชุมผู้นำบีมสเทค รับรองเอกสาร 6 ฉบับ

นายกฯ แถลงยินดีความสำเร็จการประชุมผู้นำบีมสเทค รับรองเอกสารผลลัพธ์สำคัญ 6 ฉบับ ดันวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030 สร้างโอกาสเศรษฐกิจ ยันคนไทยได้ประโยชน์ พร้อมบรรเทาผลกระทบ-ฟื้นฟู ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ขณะที่ กต. ย้ำเชิญผู้นำเมียนมา ตามกฎบัตร ปัดคุยการเมืองภายใน ไร้ถกปมสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้า

ประชุมBIMSTEC

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงเวทีผู้นำ BIMSTEC เปิด “วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030″

นายกฯ แพทองธาร กล่าวถ้อยแถลง วงประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 เปิด “วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030″ กระชับความร่วมมือสร้างภูมิภาคที่เจริญรุ่งเรืองและเปิดกว้าง พัฒนาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ

DSI เปิดความเชื่อมโยง “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10” พบใช้ 3 คนไทยเป็นนอมินี

DSI เปิดความเชื่อมโยงบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด รับงาน 29 โครงการรัฐ มูลค่ารวมกว่า 22,000 ล้านบาท พบใช้ 3 คนไทยเป็นนอมินีอำพรางถือหุ้น

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ผู้ว่าฯ กทม. สั่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ครบ 7 วันเหตุแผ่นดินไหว อาคารถล่ม ล่าสุดผู้ว่าฯ กทม. สั่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหาย ใช้เครื่องจักรหนักรื้อถอนทุกโซน เบื้องต้นพบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมอีก 2 ร่าง ยังไม่สามารถนำออกมาได้