ครม.เห็นชอบแก้หนี้ครัวเรือน

ทำเนียบฯ 11 ธ.ค. – ครม.เห็นชอบมาตรการหนี้ครัวเรือน บ้าน รถ บัตรเครดิต หนี้ก่อน 1 ม.ค.67 ดึง “ออมสิน” ให้กู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ Non-banks วงเงิน 50,000 ล้านบาท


นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs และมาตรการช่วยเหลือ ลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วย 1.มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ประกอบด้วย
(1) มาตรการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดภาระดอกเบี้ยโดยการเน้นตัดต้นเงินลูกหนี้และประเภทสินเชื่อ 3 ประเภท (สัญญาสินเชื่อที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2567) ประเภทสินเชื่อ วงเงินรวมต่อสถาบันการเงินเช่น 1. สินเชื่อบ้าน/สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ไม่เกิน 5 ล้านบาท (2)สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อเช่ำซื้อรถจักรยานยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 800,000 บาทไม่เกิน 500,000 บาท (3)สินเชื่อธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไม่เกิน 5 ล้านบาท

ส่วนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น ลดภาระการผ่อนชำะค่างวด ระยะเวลา 3 ปี โดยในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ชำระค่างวดร้อยละ 50 70 และ 90 ตามลำดับตามค่างวดที่ชำระจะนำไปตัด เงินต้นทั้งหมดเพื่อให้ลูกหนี้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นและดอกเบี้ยจะพักการชำระไว้ในช่วงระยะเวลามาตรการ


1.2 มาตรการลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ที่ถูกจัดชั้นเป็น NPLs ที่มียอดหนี้ ไม่สูง

  • เช่นลูกหนี้ และประเภทสินเชื่อ เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดำที่เป็น NPLs และมีภำระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท (ครอบคลุมสินเชื่อทุกประเภทที่กู้ในนามบุคคลธรรมดา)

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น การปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรนโดยลดภาระให้ลูกหนี้จ่ายชำระร้อยละ 10 ภาครัฐรับภาระร้อยละ 45 และสถาบันการเงินรับภาระร้อยละ 45 ของภาระหนี้คงค้าง ทั้งนี้ แหล่งเงินของทั้ง 2 มาตรการ มาจาก (1) เงินนำส่งเข้า FIDF ของ ธ.พาณิชย์ (ที่ได้รับการละเว้นจากการปรับลดอัตรานำส่งเงินฯ) จำนวน 39,000 ลบ. (2) เงินงบฯตาม ม.28 เพื่อชดเชยให้ SFIs 6 แห่ง จำนวนวน 38,920 ลบ. 2) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ของ Non – banks โดยขยายการให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมไปยังลูกหนี้ของ Non – banks เนื่องจากกลุ่มนี้มีความเปราะบางและมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยสูง

  • คุณสมบัติลูกหนี้ และประเภทสินเชื่อ 5 ประเภท (สัญญาสินเชื่อทำขึ้นก่อน 1ม.ค. 67) ในประเภทสินเชื่อวงเงินรวมไม่เกิน
  1. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ 800,000 บาท
  2. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ 50,000 บาท
  3. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กการกำกับ 100,000 บาท หรือ 200,000 บาท
  4. สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล 20,000 บาท
  5. สินเชื่อรายย่อยเพื่อกำรประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano Finance)
  • รูปแบบการช่วยเหลือ เช่น ลดภาระการผ่อนชำระค่างวดเป็นร้อยละ 70 ของค่างวดก่อนเข้าร่วมมาตรการระยะเวลา 3 ปี ลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 จากอัตราดอกเบี้ยก่อนเข้าร่วมมาตรการตลอดระยะเวลา 3 ปี
  • โดยแหล่งเงิน ธ.ออมสิน ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ Non – banks อัตราร้อยละ 0.01 ต่อปีวงเงิน 50,000 ลบ. ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยรัฐบาลชดเชยต้นทุนเงินในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี งบฯ รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,000 ลบ.

2.มาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพิ่มเติมของ SFIs มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่น ๆ เช่น เกษตรกร ผู้ประกอบการหาบเร่แผงลอยซึ่งจะไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มลูกหนี้ ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs และครอบคลุมลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการรักษาวินัยทางการเงินของลูกหนี้


  • รูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น ลูกหนี้ปกติ ครอบคลุมลูกหนี้ รายย่อย ผู้ประกอบการรายย่อย/เกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยและ ปานกบาง ผ่านการลดดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ผ่านการพักชำระเงินต้นและไม่คิดดอกเบี้ยกับลูกหนี้ในระหว่างพักชำระหนี้ ลูกหนี้ที่ขอสินเชื่อใหม่ ผ่านการรให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
  • แหล่งเงิน ให้ SFIs ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ออมสิน ธ.ก.ส. ธ.อาคารสงเคราะห์ ธ.อิสลามใช้จ่ายจากเงินที่ได้จากการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนำระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIF) จากร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.125 ต่อปี สำหรับรอบกการนำส่งเงินในปี 68 โดยจำกประมำณกำรเงินนำส่งเข้ำ SFIF ของ SFIs ทั้ง 4 แห่ง ในปี 68

พบว่าหากได้รับการปรับลดอัตราเงินนำส่งฯ เหลือร้อยละ 0.125 ต่อปี จะมีการนำส่งเงินเข้า SFIF ลดลงประมาณ 8,092 ลบ.

4) แนวทางการแก้ไขหนี ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนที่ธนำคำรแห่งประเทศไทยเสนอ ประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก
(1) ยกระดับข้อมูลหนี้สินครัวเรือนที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลของ บจก. ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการมีหนี้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมกับรายได้ และไม่เกินกำลังในการชำระคืน รวมถึงออกแบบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างตรงจุดและทันการณ์ และยกระดับข้อมูลหนี้สินครัวเรือน โดยมีแนวทาง เช่น ปรับปรุงและเพิ่มเติมการจัดทำฐำนข้อมูลภาวะหนี้นอกระบบของครัวเรือน เพื่อให้มีข้อมูลสถานะภาระหนี้สินที่แท้จริง
(2) การสร้างความสามารถในการแข่งขันและการยกระดับรายได้ โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน โดยมีแนวทาง เช่น ส่งเสริมให้แรงงานยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน ดูแลให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจรายใหญ่ได้รับความเป็นธรรม. -515-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือนภัย ลั่นยังไม่ได้ SMS แผ่นดินไหว

นายกฯ ลั่น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับ SMS เตือนแผ่นดินไหว สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือน “กรมอุตุฯ ไป ปภ. เข้าเครือข่ายมือถือ” ไม่ต้องผ่าน กสทช. ระหว่าง รอ Cell Broadcast เต็มระบบ ก.ค.นี้

ปภ.ยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ใช่ผลจากอาฟเตอร์ช็อก

ปภ.แถลงชี้แจงกรณีสถานการณ์อพยพออกจากอาคาร ยืนยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ได้เป็นผลกระทบจากอาฟเตอร์ช็อก ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก

นายกฯ ติดตามภารกิจช่วยเหลือคนติดซาก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุอาคาร สตง.ถล่ม ติดตามภารกิจช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างอยู่ใต้ซากอาคาร พร้อมให้กำลังใจทุกหน่วยงานทำงานอย่างเต็มที่

ตึกถล่มแผ่นดินไหว

72 ชั่วโมง ยังมีหวังพบผู้รอดชีวิตตึก สตง. ถล่ม

ใกล้ครบ 72 ชั่วโมงเหตุตึก สตง. ถล่ม แต่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายาม และยังมีความหวังในการค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซาก