30 ส.ค. – มาทำความรู้จักกับประกันภัยสุขภาพแบบใหม่ (New Health Standard) ที่สำนักงาน คปภ. ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย เพื่อให้ตอบโจทย์ ครอบคลุมภาคธุรกิจประกันภัยและเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ทั้งธุรกิจประกันภัย ปรับปรุงและบังคับใช้ตั้งเเต่ 1 กรกฏาคม 2565 เปิดมาตรฐานที่ใครก็เข้าถึงได้
1.ปรับปรุงให้ชัดเจน สอดคล้องข้อกฎหมาย เพิ่มคำนิยามด้วยเพิ่มคำนิยาม Day Surgery ให้ยืดหยุ่น
2.กำหนดความคุ้มครอง 13 หมวดให้ครอบคลุม เเยกความคุ้มครองให้ชัดเจน เปรียบเทียบง่าย ลดการเบิกจ่ายที่ทำซ้อน
ผู้ป่วยใน
หมวดที่ 1 : ค่าห้องและค่าอาหาร
หมวดที่ 2 : ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
หมวดที่ 3 : ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์) ตรวจรักษา
หมวดที่ 4 : ค่ารักษา พยาบาลโดยการผ่าตัด (ศัลยกรรม) และหัตถการ
หมวดที่ 5 : ค่าผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Day Surgery)
ผู้ป่วยนอก
หมวดที่ 6 : ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง ก่อนและหลังการพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
หมวดที่ 7 : ค่ารักษาพยาบาลการบาดเจ็บกรณี ผู้ป่วยนอกภายใน 24 ชม. (เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ)
หมวดที่ 8 : ค่าเวชศาสตรฟื้นฟูหลังการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
หมวดที่ 9 : ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคไตวายเรื้อรัง
หมวดที่ 10: ค่าบริการทางแพทย์เพื่อบำบัดรักษาโรคมะเร็ง – โดยรังสีรักษา
หมวดที่ 11: ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อบำบัดรักษาโรคมะเร็งโดยเคมีบำบัด
หมวดที่ 12: ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน
หมวดที่ 13: ค่ารักษาพยาบาลโดยการผ่าตัดเล็ก
3.ต่ออายุกรรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพได้ทุกกรณี ยกเว้นกรณีฉ้อฉล
✅ ต่ออายุกรรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพได้ทุกกรณี
❌ ไม่แถลงความจริงตามใบเอาประกันภัย
❌ เรียกร้องผลประโยชน์เกินจริง
4.กำหนดสภาพที่เป็นให้ชัดเจนมาก่อน ให้ชัดเจนว่าบริษัทจะให้ความคุ้มครอง
✅ ไม่ป่วยในช่วงก่อนทำประกัน 5 ปี
✅ ไม่ป่วยในช่วงหลังทำประกัน 3 ปี
5.การปรับเบี้ยประกันภัยให้มีความเหมาะสม โดยพิจารณาจากอายุและอาชีพ
- บริษัทจะเเจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
- เบี้ยที่ปรับต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
สำนักงาน คปภ. คำนึงถึงผลประโยนช์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยและดูแลธุรกิจประกันภัยให้มีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป. – สำนักข่าวไทย