จุฬาฯ จัดเสวนา “ระดมคิด พลิกวิกฤตคางดำ”

กรุงเทพฯ 9 ส.ค. – จุฬาฯ จัดเสวนา “ระดมคิด พลิกวิกฤตคางดำ” ชี้วิกฤติปลาหมอคางดำกระทบเศรษฐกิจ-ระบบนิเวศ พบมีการนำเข้ามากกว่า 1 ครั้ง จากหลายพื้นที่ ยากที่จะกำจัด แต่ยังมีความหวัง เสนอวิธีช็อตด้วยไฟฟ้า-ปรับแต่งจีโนมเปลี่ยนเพศปลา


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ (ARRI Chula) จัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 24 “ระดมคิด พลิกวิกฤตคางดำ” โดยเชิญนักวิชาการที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบันและหน่วยงาน เพื่อร่วมกันหาทางออกและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย พร้อมตอบข้อสงสัยต่าง ๆ ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากสังคม ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และ ศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ กล่าวเปิดงาน

ศ.ดร.วิเลิศ เปิดเผยว่า ปัญหาปลาหมอคางดำเป็นปัญหาวิกฤตที่ส่งผลทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการให้คำตอบแก่สังคมเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในประเทศ การเสวนาในครั้งนี้เป็นการบูรณาการความคิดจากทุกภาคส่วนและผนึกความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ ผู้ที่มีความรู้ทางด้านทรัพยากรทางน้ำ วิศวกร ฯลฯ มาแก้ไขวิกฤตในครั้งนี้ เป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ข้อมูลจากมุมมองทางวิชาการทางด้านปลาหมอคางดำในหลากหลายมิติจากการเสวนาครั้งนี้จะนำเสนอต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเรื่องปลาหมอคางดำอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ (ARRI Chula) และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย ที่เราคิดว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ แต่จริง ๆ เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศพูดกันมานานเป็น 20 ปี แล้ว ถึงภัยคุมคามและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งแบบรุนแรงและไม่รุนแรงต่อระบบนิเวศตามธรรมชาติ ประเทศไทยมีการนำชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาในประเทศนานแล้ว ส่วนใหญ่ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นจะถูกนำเข้ามาเพื่อการเกษตรและการเพาะเลี้ยง แต่ช่วงหลังมีการนำเข้ามาเพื่อเป็นปลาสวยงาม แต่เนื่องจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ประเทศไทยนำเข้ามา ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและปากท้อง จึงทำให้เรามองข้ามผลกระทบที่มีต่อระบบนิเวศ อย่างเช่น กุ้งขาว เป็นต้น 

“สัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เมื่อนำเข้ามาในพื้นที่ที่ไม่เคยมีพวกเค้ามาก่อน อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบที่อาจจะรุนแรงมากหรือน้อย และอาจจะใช้เวลาให้เห็นผลกระทบช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับจำนวนของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในพื้นที่ด้วย คงที่จะถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรที่จะให้ความสำคัญและกำหนดกฎเกณฑ์ และมาตรการเกี่ยวกับเรื่องการนำเข้ามาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นทั้งแบบถูกต้องและไม่ถูกต้อง มีการป้องกันมากกว่าการแก้ไข เพราะถ้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นสามารถตั้งรกรากอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้แล้ว โอกาสที่จะกำจัดให้หมดไปคงเป็นไปได้ยาก” ศ.ดร.สุชนา กล่าว

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากแผนปฏิบัติการ 7 มาตรการ เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567-2570 ของคณะคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมาตรการที่ 5 ที่ระบุว่า สร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัด จัดทำคู่มือประชาชนและเจ้าหน้าที่เพื่อรับมือการแพร่ระบาด แต่จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ข่าวสารที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปลาหมอคางดำเป็นจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อการจัดการกับการแพร่ระบาด


“เช่น บอกว่า ไม่เหมาะเป็นอาหารมนุษย์ ไข่ปลาตากแดดไว้ 2 เดือน ยังฟักเป็นตัวได้ นกกินไข่ปลาเข้าไป ถ่ายออกมาแพร่พันธุ์ได้ ปลานิลกลายพันธุ์ผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำ กลายเป็นปลานิลคางดำ ฯลฯ หรือแม้แต่กรณีของการสื่อสารออกไปคลาดเคลื่อน ว่าปลาหมอคางดำในประเทศไทยมีดีเอ็นเอเหมือนกันหมด ฟันธงว่ามาจากบริษัทเอกชนรายหนึ่ง ซึ่งความจริงแล้ว ไม่สามารถระบุได้เช่นนั้น เพราะขาดตัวอย่างลูกปลาที่เคยนำเข้ามาในอดีต มาวิเคราะห์เทียบเคียง แต่ก็ยังมีความหวัง ด้วยการนำเอาลำดับดีเอ็นเอของปลาหมอคางดำในประเทศไทย มาวิเคราะห์เทียบกับปลาหมอคางดำในประเทศอื่น ๆ ของทวีปแอฟริกา ก็จะเข้าใกล้คำตอบมากขึ้นถึงที่มาของการแพร่ระบาด ว่าเป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศใด” รศ.ดร.เจษฎา กล่าว

ผศ.ดร.วันศุกร์ เสนานาญ ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า จากการศึกษาดีเอ็นเอของปลาหมอคางดำ ที่รายงานโดยกรมประมง เมื่อปี 2561-2563 พบว่ามีการรุกรานระลอกแรกที่พบพื้นที่สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี สมุทรปราการ ประจวบฯ ชุมพร และ ระยอง บ่งชี้ว่าปลาจากทั่วประเทศ อาจมาจากการนำเข้าพื้นที่มากกว่า 1 ครั้ง นอกจากนี้ การกระจายต่างพื้นที่ที่อยู่ห่างกัน น่าจะไปโดยการนำพาเข้าไปของมนุษย์ มากกว่าที่จะไปโดยธรรมชาติ  

“บทเรียนสำคัญที่ได้จากการรุกรานของปลาหมอคางดำและความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นจำเป็นของการประเมินความเสี่ยงและวางมาตรการรับมืออย่างเหมาะสม โดยอาจต้องพิจารณาผลกระทบอย่างรอบด้าน รวมถึงการนำเข้าด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์” ผศ.ดร.วันศุกร์ กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับการควบคุมและกำจัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดุสิต สุขสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มองว่าวิธีการจัดการด้วยการใช้ไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพในการยุติการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำที่กำลังวิกฤตในขณะนี้ เดิมทีประเทศไทยเคยมีคำพูดที่ว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าว แต่มาตอนนี้ในน้ำของเรามีแต่ปลาหมอคางดำ แม้กระทั่งบ่อเกษตรกรก็ไม่รอด ในกรณีศึกษาจากต่างประเทศที่เผชิญกับการรุกรานของปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ จะมีวิธีการจัดการด้วยการใช้ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย เช่น การจัดการด้วยเรือช็อตไฟฟ้า เครื่องช็อตไฟฟ้าแบบสะพายหลัง และตะแกรงช็อตไฟฟ้า เพราะเป็นวิธีการที่ปลอดภัย ไม่ทิ้งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และสร้างความยั่งยืนในระยะยาว เพราะหากไม่มีปลาหมอคางดำแล้ว ก็จะสามารถสร้างระบบนิเวศน์สัตว์น้ำขึ้นมาได้ใหม่ โดยการปล่อยและเพาะพันธ์สัตว์น้ำคืนตามธรรมชาติ เพื่อทำให้ในน้ำของเรากลับมามีปลาอย่างเช่นเคย

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ภัทร สุทธางคกูล อาจารย์ประจำภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เสนออีกทางเลือกหนึ่งในการควบคุมประชากรปลาหมอคางดำทางชีวภาพสามารถทำได้โดยการปรับแต่งจีโนม (genome editing) ซึ่งเป็นเทคนิคที่แก้ไขรหัสพันธุกรรมในตำแหน่งที่ต้องการอย่างจำเพาะ และไม่ถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) หากไม่มีสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตอื่นหลงเหลืออยู่ เทคนิคนี้สามารถใช้เปลี่ยนเพศปลาได้ ซึ่งได้รับการทดสอบแล้วในปลานิล นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคดังกล่าวในการสร้างระบบ gene drive ที่ควบคุมประชากรยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การใช้ระบบ gene drive นี้จะเป็นการปล่อย GMO สู่สิ่งแวดล้อม จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการปรับแต่งจีโนมเพื่อเปลี่ยนเพศ ร่วมกับการนำระบบ gene drive มาใช้ในการจัดการการระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมทั้งในด้านเทคโนโลยี และแนวทางในการป้องกันหรือลดทอนผลกระทบต่อระบบนิเวศ อีกอย่างน้อย 2-3 ปี

นายคงภพ อำพลศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ (นักวิชาการประมงเชี่ยวชาญ) กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง กล่าวว่า ปัจจุบันการควบคุมปลาหมอคางดำด้วยชีววิธี (Biological control) ที่กรมประมงเลือกใช้มี 2 วิธีได้แก่ 1) การปล่อยปลาผู้ล่าได้แก่ปลากะพงขาว ปลาอีกง ปลาช่อน ปลากดแก้ว เป็นต้น 2) การปล่อยปลาหมอคางดำโครโมโซม 4 ชุด (4n) เพื่อให้ไปผสมกับปลาที่อยู่ในแหล่งน้ำแล้วได้ลูกที่เป็นหมัน ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้ วิธีควบคุมปลาหมอคางดำทั้ง 2 วิธีนี้มีเป้าหมายทำให้ประสิทธิภาพการขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำลดลง ทั้งนี้กรมประมงคำนึงถึงปริมาณปลา(ปลาผู้ล่า และปลา 4 n) และช่วงเวลาที่จะดำเนินการปล่อยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด

สำหรับงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 24 “ระดมคิด พลิกวิกฤตคางดำ” ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดย้อนหลังได้ทาง Facebook Live : Chulalongkorn University  https://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity .-516-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชิญกลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี ถึง ส.ค.นี้

ทำเนียบ 14 พ.ค.-รัฐบาลเชิญกลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี ถึงสิ้นเดือนสิงหาคมปีนี้ ทุกสถานพยาบาลทั่วประเทศ นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาลโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการจัดเตรียมวัคซีนเพื่อป้องกันสายพันธุ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ตามการประกาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยจัดเตรียมวัคซีนรองรับ 4,570,000 ล้านโดส กระจายหน่วยบริการให้บริการฉีดกลุ่มเป้าหมาย ระบุเป็นวัคซีนป้องกัน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ A(H1N1), สายพันธุ์ A (H3N2) และ สายพันธุ์ B วิคตอเรีย ที่มีประสิทธิผลและมีความปลอดภัย สปสช. กำหนดเป้าหมายเพื่อฉีดให้กับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1.หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ที่แนะนำ 12 -20 สัปดาห์ (สามารถให้ได้ตลอดการตั้งครรภ์) 2. เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี 3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 […]

เยี่ยม ด.ต. ถูก สจ.กอล์ฟ ลูก สส.ปชป. ทำร้ายในหน่วยเลือกตั้ง

สงขลา 14 พ.ค.-“ชัยชนะ” เยี่ยม ด.ต. ถูก สจ.กอล์ฟ ลูก สส.ปชป. ทำร้ายในหน่วยเลือกตั้ง ย้ำพร้อมช่วยเหลือทุกกรณี หากไม่ได้รับความเป็นธรรม นายชัยชนะ เดชเดโช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และประธานกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางเข้าเยี่ยมด.ต.นิสาธิต คงเทพ ผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้ง ณ เรือนรับรองตำรวจชายแดนที่ 43 จังหวัดสงขลา โดยในโอกาสนี้ นายชัยชนะได้มอบกระเช้าและเงินจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับครอบครัว นายชัยชนะ ได้พูดคุยกับ ด.ต.นิสาธิต ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยืนยันว่าในฐานะประธานกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร หากมีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นหรือมีความต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใด กรรมาธิการตำรวจพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ นอกจากนี้ นายชัยชนะ ยังได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งขอโทษประชาชนที่เกิดความไม่สบายใจที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมยืนยันว่าพรรคให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบและการแก้ไขสถานการณ์อย่างเหมาะสม.-312.-สำนักข่าวไทย

ปูพรมค้น 6 จุด ตามจับแก๊งฆ่าเผานั่งยาง

ตรัง 14 พ.ค. – ตำรวจปูพรมปิดล้อม 6 จุด ตามจับแก๊งฆ่าเผานั่งยาง 4 ศพ ในสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง ล่าสุดตามยึดรถกระบะของกลางที่คนร้ายใช้ไปซื้อยางรถยนต์มาก่อเหตุ เมื่อวานนี้ (13 พ.ค.) ตำรวจสอบสวนกลางนำกำลังร่วมกันตรวจยึดรถกระบะโตโยต้า สีเทาดำ (สงวนหมายเลขทะเบียน) และสิ่งของอื่น ๆ อีกหลายรายการ ที่บ้านแห่งหนึ่ง ใน อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ซึ่งผู้ต้องหาทั้ง 4 คน คือ นายศุภกรณ์ รักวิวัฒน์ หรือ “บิน ควนกุน” อายุ 37 ปี หัวหน้าแก๊งและเป็นผู้มีอิทธิพล, นายจรณชัย สมาธิ หรือ แต้ม อายุ 32 ปี, นายปิยะศักดิ์ สุวรรณมณี หรือ แจ๊ค อายุ 33 ปี และนายรพีพันธ์ บุญเกื้อ […]

แพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ ส่งทนายยื่นขอความเป็นธรรมปมมติแพทยสภา

สธ. 13 พ.ค. – แพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ ส่งทนายความส่วนตัวยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อสภานายกพิเศษ กรณีมติที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ นายเนติธร หลินหะตระกูล ทนายความส่วนตัวที่ได้รับมอบอำนาจจาก พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่ (สบ 8) โรงพยาบาลตำรวจ เข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรม ต่อนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะนายกสภาพิเศษ กรณีที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภามีมติการพิจารณาคดีจริยธรรมของแพทย์ที่อยู่ในความสนใจของประชาชนในกรณีที่มีการกล่าวโทษแพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์และโรงพยาบาลตำรวจ ผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ปม “ทักษิณ ชินวัตร” รักษาตัวชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งมีมติลงโทษแพทย์ 3 คน โดยเป็นการว่ากล่าวตักเตือน 1 คน ในกรณีประกอบวิชาชีพและเวชกรรมที่ไม่ได้มาตรฐาน เกี่ยวกับการออกใบส่งตัว และพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม 2 คน ในกรณีให้ข้อมูล หรือเอกสารทางการแพทย์อันไม่ตรงกับความเป็นจริง ทั้งนี้ มีนายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับเรื่อง นายกองตรี […]

ข่าวแนะนำ

รวบ 19 คนไทยรับจ้างกดเงินให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์

15 พ.ค.- เปิดปฏิบัติการ “The Scam เงินแท้ คนเก๊” รวบ 19 คนไทยขายชาติ รับจ้างกดเงินให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยึดทรัพย์รวม 6.6 ล้านบาท พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.ร่วมแถลงข่าว กรณีมีผู้เสียหายจากการถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง โดยทำกันเป็นขบวนการ ซึ่งสายที่ 1 อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ มีพัสดุมาส่ง จากนั้นได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ส่ง (สายที่ 2) เมื่อผู้เสียหายโทรกลับไป อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กองคลัง โดยให้ทำตามขั้นตอนที่คนร้ายสั่ง อ้างเพื่อเพิ่มเงินบำนาญ โดยได้หลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินครั้งแรกจำนวน 720,000 บาท และต่อมาได้มีสายที่ 3 โทรเข้ามาหาผู้เสียหาย อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งว่าการทำธุรกรรมที่ได้ทำไปก่อนหน้านั้นผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอก เป็นเหตุให้ต้องระงับบัญชี และให้ทำตามขั้นตอนจากธนาคารแทน ผู้เสียหายหลงเชื่อ ทำให้ต้องโอนเงินไปอีกเป็นจำนวน 6 ครั้ง แต่มาทราบภายหลังว่าสุดท้ายเป็นการโอนเงินออกจากบัญชีทุกบัญชีของตนเองไปยังบัญชีของคนร้าย รวมความเสียหายทั้งหมด 3,942,767 บาท พฤติการณ์ดังกล่าว ผู้ต้องหาในคดีนี้ ได้ร่วมกันกระทำความผิดเป็นกระบวนการ ในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอท. จึงได้ทำการสืบสวนพิสูจน์ทราบข้อมูล […]

นายกฯ เยือนเวียดนามวันแรก เดินหน้าความร่วมมือสองประเทศในทุกมิติ

เวียดนาม 15 พ.ค. – นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอย่างเป็นทางการ พร้อมเดินหน้าความร่วมมือสองประเทศในทุกมิติ โดยเฉพาะการผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการบินและเทคโนโลยี.-สำนักข่าวไทย

ลงนามถอดถอน “เจ้าคุณแย้ม” จากทุกตำแหน่ง

15 พ.ค.- เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ลงนามถอดถอน “เจ้าคุณแย้ม” จากหน้าที่ทุกตำแหน่ง เหตุถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวข้องกับคดีอาญา สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ลงนามในหนังสือ คำสั่งถอดถอนพระสังมาธิการ พระธรรมวชิรานุวัตร พักจากตำแหน่งหน้าที่ทุกตำแหน่ง ทั้งเจ้าคณะภาค 14 และ เจ้าอาวาสวัดไร่ชิงพระอารามหลวง หลังจากทราบเรื่องว่าถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวข้องกับคดีอาญา จึงได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 56 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2553) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังมาธิการ ออกตามความในพระราชบัญญัติคุณะสูงณ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเดิมโดยพระราชบัญญัติคณะสงน์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ให้เหตุผลว่า ถ้าจะให้คงอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ในระหว่างการสอบสวนจะเป็นการเสียหายแก่การคณะสงฆ์ .-สำนักข่าวไทย

ยังปิดล้อม! เหตุชายคลั่งยิงปืนขึ้นฟ้า จ่อปรับยุทธวิธี

15 พ.ค.- ยังปิดล้อม! เหตุชายคลุ้มคลั่งยิงปืนขึ้นฟ้า ด้านผู้ช่วย ผบ.ตร. รุดลงพื้นที่ เน้นยํ้าเรื่องความปลอดภัยของประชาชนโดยรอบ เตรียมปรับยุทธวิธีระงับเหตุ เมื่อเวลา 17.30 น. พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เดินทางลงพื้นที่เหตุชายคลุ้มคลั่งก่อเหตุยิงปืนขึ้นฟ้าและยิงใส่เจ้าหน้าที่ ภายในบ้านพักหลังวัดลครทำ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดย พล.ต.ท.สำราญ เปิดเผยว่า จะเข้าไปพูดคุยกับทาง พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และชุดปฏิบัติการพิเศษร่วมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นยังเน้นยํ้าเรื่องความปลอดภัยของประชาชนโดยรอบพื้นที่ ซึ่งจะยังไม่มีการยกระดับมาตรการหรือยุทธวิธีใดๆ ยึดการเจรจาเป็นหลักแม้สถานการณ์จะล่วงเลยมานานกว่า 9 ชั่วโมง แต่ยืนยันว่าทุกอย่างยังอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัย ส่วนกรณีชาวบ้านหลายครัวเรือนที่อยู่ในพื้นที่บริเวณบ้านของผู้ก่อเหตุนั้น เบื้องต้นจะหารือกับทาง พล.ต.ท.สยาม เรื่องมาตรการเยียวยา ตำรวจเตรียมปรับยุทธวิธีระงับผู้ก่อเหตุ พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เดินทางลงพื้นที่อีกครั้ง พร้อมให้ข้อมูลว่า ตอนนี้กำลังให้แม่ของผู้ก่อเหตุเข้าไปเจรจาอยู่ เพื่อให้ผู้ก่อเหตุวางอาวุธและมอบตัว ตอนนี้ผู้ก่อเหตุได้ขึ้นไปอยู่ที่ชั้น 2 ของบ้าน แต่ท่าทีโดยรวมของผู้ก่อเหตุเย็นลง อาการคลุ้มคลั่งก็ลดลงด้วย หากการเจรจาไม่เป็นผลหลังจากนี้อาจจะมีการปรับยุทธวิธีต่อไป -420 .-สำนักข่าวไทย